“เงินทอนกับความเลื่อมใสในพุทธศาสนา”

09 ก.ค. 2560 | 01:37 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“ชาวพุทธส่วนใหญ่ 57.7% เห็นว่ากรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด ไม่มีผลต่อการทำบุญ 64.7% เชื่อกรณีเงินทอนวัดไม่มีผลต่อความเลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนา  อย่างไรก็ตาม 66.1% เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุดต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนาว่า จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่คอร์รัปชั่น 51.6% อยากให้ใช้มาตรการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางพุทธศาสนา โดยให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง”

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “เงินทอนกับความเลื่อมใสในพุทธศาสนา” โดยเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 1,193 คน พบว่า  เมื่อถามความเห็นของชาวพุทธต่อ มีผลต่อการทำบุญหรือไม่อย่างไร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 57.7 เห็นว่าไม่มีผลต่อการทำบุญ คิดว่าจะบริจาคเหมือนเดิม เพราะทำบุญให้วัด ขณะที่ร้อยละ 42.3 เห็นว่ามีผลต่อการทำบุญ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 25.0 ทำให้ต้องคิดก่อนตัดสินใจบริจาค รองลงมาร้อยละ 11.3 ทำให้ไม่อยากบริจาคให้แก่กิจกรรมใดๆทางพุทธศาสนา และร้อยละ 6.0 ทำให้ต้องตรวจสอบวัดนั้นๆ

ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่ากรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการทำให้ความศรัทธาหรือเลื่อมใสในพุทธศาสนาลดลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.7 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด  ขณะที่ร้อยละ 35.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ด้านความเห็นต่อมาตรการที่ควรใช้เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางพุทธศาสนา พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.6 อยากให้มีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในพุทธศาสนาอย่างจริงจัง รองลงมา ร้อยละ 32.1 อยากให้ออกกฎหมายดูแลควบคุมทรัพย์สินวัดอย่างรัดกุม และร้อยละ 10.3 อยากให้ใช้ ม.44 ในการปฏิรูปพุทธศาสนา

สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนาว่า จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 66.1 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 33.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. ข้อคำถาม “กรณีเงินทอนวัด หรือ การทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลต่อการทำบุญของท่านหรือไม่อย่างไร”

มีผลต่อการทำบุญ  ร้อยละ  42.3

โดย   ทำให้ต้องคิดก่อนตัดสินใจบริจาค ร้อยละ 25.0

ทำให้ไม่อยากบริจาคให้แก่กิจกรรมใดๆทางพุทธศาสนา  ร้อยละ 11.3

ทำให้ต้องตรวจสอบวัดนั้นๆ  ร้อยละ  6.0

ไม่มีผลต่อการทำบุญ คิดว่าจะบริจาคเหมือนเดิม เพราะทำบุญให้วัด   ร้อยละ  57.7

 

2. ข้อคำถาม “กรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการทำให้ความศรัทธาหรือเลื่อมใสในพุทธศาสนาลดลง”

มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 30.9)  ร้อยละ  64.7

มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.4 และมากที่สุดร้อยละ 6.9)   ร้อยละ  35.3

 

3. ข้อคำถาม “คิดว่ามาตรการที่ควรใช้  เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางพุทธศาสนา”

อยากให้มีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในพุทธศาสนาอย่างจริงจัง   ร้อยละ  51.6

อยากให้ออกกฎหมายดูแลควบคุมทรัพย์สินวัดอย่างรัดกุม ร้อยละ  32.1

อยากให้ใช้ ม.44 ในการปฏิรูปพุทธศาสนา  ร้อยละ  10.3

อยากให้เปลี่ยนหรือโยกย้ายผู้กำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ร้อยละ    6.0

 

4. ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนา จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น

เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 46.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 19.3)  ร้อยละ  66.1

เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 29.6 และมากที่สุดร้อยละ 4.3)  ร้อยละ  33.9 Info_834_2