‘ยูทูบ’แจงกำลังศึกษาข้อกฏหมายลงทะเบียน OTT

10 ก.ค. 2560 | 02:45 น.
เผยกำลังศึกษาข้อกฎหมาย ชี้ยังไม่ทราบรายละเอียดข้อกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจาก กสทช. แจง OTT จำเป็นต้องให้ AIC เป็นตัวแทนองค์กรเพื่อขอความชัดเจน ลั่น! ที่ผ่านมาเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง เพราะดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 15 ปี

นางสาวสายใย สระกวี หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ กูเกิล ประเทศไทย ตัวแทนผู้ให้บริการยูทูบ ในประเทศไทย เปิดเผยในประเด็นเรื่องการเข้าไปรายงานตัวกับทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายในวันที่ 22 กรกฎาคม 2560 นี้ชณะนี้ทางยูทูบกำลังศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ แต่ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงแนวทางที่ชัดเจน เพราะทาง ยูทูบ เองจำเป็นที่จะต้องได้รับรายละเอียดต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการจาก กสทช. และหากยูทูบถูกตัดสินว่าไม่อยู่ภายใต้กฎหมายของไทย ย่อมส่งผลกระทบกับยูทูบ รวมไปถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ไลน์ ที่อยู่ภายใต้ AIC (Asia Internet Coalition : องค์กรความร่วมมือที่มีสมาชิก อาทิ เฟซบุ๊ก,กูเกิล,แอปเปิล และ ทวิตเตอร์ เป็นต้น) เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนแพลตฟอร์มต่างๆ และ ได้มีการส่งจดหมายไปยัง กสทช. เพื่อขอรับทราบรายละเอียดของข้อกฎหมายว่าจะมีการควบคุมในด้านใดบ้าง

[caption id="attachment_176220" align="aligncenter" width="503"]  ‘ยูทูบ’ ยึกยักลงทะเบียน OTT ‘ยูทูบ’ ยึกยักลงทะเบียน OTT[/caption]

อย่างไรก็ตามหากทราบรายละเอียดแแล้วทาง AIC ก็จะมีข้อตกลงที่ชัดเจนมากขึ้น แต่ตอนนี้ไม่สามารถตอบได้ว่าทาง กสทช. ต้องการอะไร คำว่าไปลงทะเบียนนั้น จะส่งผลกระทบอะไรตามมาในภายหลังหรือไม่ เพราะไม่มีประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งทางยูทูบเองยินดีจะให้ความร่วมมือหากข้อกฎหมายมีความชัดเจนกว่านี้
สำหรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น หากยูทูบถูกกำหนดว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่อยู่บน OTT และไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทยแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบกับหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้สร้างคอนเทนต์ ที่มีรายได้จากแชนเนลบนยูทูบ และทางด้านของผู้ลงโฆษณา ก็มีความกังวลในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ปัจจุบันการโฆษณาต่างๆ บนยูทูบนั้นยังดำเนินไปตามปกติ

นางสาวสายใย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บริษัทได้มีการเจรากับภาครัฐ คือ กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กระทรวงดีอี แต่กฎหมายใหม่ที่จะออกมาว่าต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ กสทช. แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ยูทูบเองอยากขอให้มีการเจรจากับทาง AIC เพราะจะได้เป็นเสียงเดียวกันบนกฎหมายเดียวกัน หากมีความชัดเจนก็พร้อมจะดำเนินการตามกฎหมายไทย สำหรับประเด็นเรื่องภาษี ทางยูทูบเองยืนยันว่ามีการชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมายของรัฐบาลไทยทุกอย่าง ภายใต้ชื่อบริษัทกูเกิล ประเทศไทย หากไม่ชำระภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายคงเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินกิจการมานานถึง 15 ปี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,277 วันที่ 9 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560