บุกเมียนมารับแรงงานประมง 2 สมาคมยาหอมจ่ายค่าจ้างสูงกว่าขั้นต่ำ

10 ก.ค. 2560 | 02:14 น.
กรมประมง ส่งข่าวดีหลังคณะอียูกลับ 15 ก.ค.นี้เตรียมชง ครม.ซื้อเรือไม่มีอาชญาบัตร 500 ลำ ขณะแรงงานขาดกว่า 7 หมื่นอัตรา 2 สมาคมประมงพาณิชย์/พื้นบ้าน ควง ก.แรงงานบินตรงเมียนมาจูงใจค่าจ้างสูงกว่าแรงงานขั้นตํ่า ฝ่ายรัฐเมียนมาโอเค ยกเว้นทำงานบ้าน/งานบริการ

ในช่วงระหว่างวันที่ 3-15 กรกฎาคม 2560 ตัวแทนคณะกรรมาธิการด้านการประมง รัฐสภายุโรป หรืออียู ได้มาติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย และไร้การควบคุม (ไอยูยู) ของไทย ก่อนประเมินว่าจะคงสถานะใบเหลืองของไทยต่อไปหรือไม่ หรือสถานะจะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร ขณะที่สถานการณ์แรงงานประมงยังคงขาดแคลนหนักเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก

นายพิชัย แซ่ซิ้ม กรรมการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" วันนี้อียูจะให้ไทยคงสถานะใบเหลืองหรือใบเขียว ทางสมาคมไม่ได้สนใจ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะบทลงโทษแรง ไม่มีใครกล้าทำผิดแน่นอน ล่าสุดทางกรมประมงได้เรียกสมาคมประชุม (เมื่อ2 ก.ค.60) เรื่อง ให้เรือประมงติดตามระบบตำแหน่งเรือ หรือระบบวีเอ็มเอส ให้ติดตั้งวิทยุ HF(ssb) เพื่อไว้แจ้งกรณีสัญญาณวีเอ็มเอส ไม่ส่งสัญญาณ เพื่อไม่ต้องให้เรือวิ่งกลับเข้าฝั่ง สาเหตุที่มีปัญหามีหลายสาเหตุ อาทิ ระบบไฟในเรือไม่เสถียร หรือ เป็นปัญหาตัวเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท หรือส่วนของกรมประมงล่ม เป็นต้น

[caption id="attachment_176094" align="aligncenter" width="364"] บุกเมียนมารับแรงงานประมง 2สมาคมยาหอมจ่ายค่าจ้างสูงกว่าขั้นต่ำ บุกเมียนมารับแรงงานประมง 2สมาคมยาหอมจ่ายค่าจ้างสูงกว่าขั้นต่ำ[/caption]

โดยปกติจะมีการส่งสัญญาณแบบอัตโนมัติทุกๆ 4 ชั่วโมง รวม 6 ครั้งต่อวัน หรือทุกๆ 6 ชั่วโมง รวม 4 ครั้งต่อวัน เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเรือที่ออกไปทำการประมง ปัจจุบันเรือกว่า 7,293 ลำที่ติดสัญญาณจะติดตั้งเรือที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ซึ่งในจำนวนดังกล่าว มีทั้งเรือประมง เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ เรือบรรทุกนั้นเพื่อการประมง และเรือบรรทุกน้ำจืด

“ในวันประชุมนายธนพร ศรียากูล คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับปากว่า หลังจากทางเจ้าหน้าที่อียูกลับ (15 ก.ค.60) กรมประมงจะยื่นเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบเพื่อให้รัฐบาลซื้อเรือที่ไม่มีอาชญาบัตรจำนวน 500 ลำ มูลค่าเท่าใดยังไม่ทราบ”

[caption id="attachment_169281" align="aligncenter" width="503"] นายมงคล สุขเจริญคณา นายมงคล สุขเจริญคณา[/caption]

สอดคล้องกับนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้ยินข่าวมาเช่นเดียวกันก็หวังว่าจะเร่งซื้อเรือคืนโดยเร็ว ส่วนเรื่องสถานการณ์แรงงานประมงขาดแคลนนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ทาง 2 สมาคมประมงพาณิชย์และพื้นบ้านที่มีแรงงานขาดแคลนรวมกว่า 7 หมื่นอัตรา ได้มีสรุปผลการหารือการประชุมระดับวิชาการเมียนมา – ไทย(วันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค.60) ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาโดยฝ่ายไทยแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวพ.ศ2560 ที่มีโทษหนักทั้งปรับและจำคุก นอกจากนี้ให้รัฐบาลเมียนมา เข้มงวดกับบริษัทจัดหางานที่เก็บค่าธรรมเนียมสูงเกินกำหนด ฝ่ายไทยยืนยันว่าทางการไทยมีบทลงโทษหนัก โดย มี 2 มาตรการ คือ 1) ทางการปกครองโดยพักใช้ในอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต และ 2) หักหลักประกันที่วางไว้ 5 ล้านบาท และจะแจ้งรายชื่อบัญชีบริษัทที่ขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์ให้ทูตแรงงานเมียนมาโดยผ่านช่องทางการทูต นอกจากนี้ยังมีจูงใจค่าจ้างวันละ 400 บาทสูงกว่าแรงงาน ขั้นต่ำ

AppBAN211_THAILAND-FISHERMEN_0326_03 ส่วนฝ่ายเมียนมาไม่ขัดข้องที่จะให้นายจ้างบุคคลธรรมดาขอนำเข้าแรงงานในทุกกิจการ ยกเว้นงานทำงานบ้านและงานบริการ ซึ่งต้องขอตรวจสอบรายละเอียดสำหรับงานดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้สองฝ่ายตกลงในหลักการตัดเตรียมแรงงานผ่านรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) โดยเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานฝ่ายละ 5 คน ภาครัฐ 4 คนเอกชน 1 คน เพื่อหารือรายละเอียดร่วมกัน ส่วนกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกนอกราชอาณาจักร ฝ่ายไทยแจ้งว่าเลื่อนเก็บเงินกองทุนถึงมิถุนายน 2561 อย่างไรก็ดีฝ่ายเมียนมาขอให้ดูแลแรงงานที่ตรวจแล้วพบว่าไม่มีความผิดสามารถกลับมาทำงานและได้รับสิทธิได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,277 วันที่ 9 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560