กนง.คงดอกเบี้ย 1.5% หนุนศก.ไทยโตต่อเนื่อง

05 ก.ค. 2560 | 10:08 น.
กนง.คงอัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี มองเศรษฐกิจไทย-การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง เฝ้าติดตามสถานการณ์แรงงานต่างด้าว-การลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นใกล้ชิด ลั่นใช้นโยบายผ่อนปรน-เครื่องมือเชิงนโยบายดูแลเศรษฐกิจต่อไป

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่1.50% ต่อปี ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่องจาก การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่กระจายตัว เท่าที่ควร ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงและอาจต่ำกว่ากรอบเป้าหมายในบางช่วงจากปัจจัยด้านอุปทาน เป็นหลัก แต่มีทิศทางปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้

[caption id="attachment_175107" align="aligncenter" width="503"] นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ นายจาตุรงค์ จันทรังษ์[/caption]

ขณะที่เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวมากขึ้น ในหลายกลุ่มสินค้าและตลาดส่งออก และจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็ว ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมี แนวโน้มขยายตัวตามรายได้ภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่รายได้ของแรงงานในภาคการผลิตยังไม่ได้รับผลดี อย่างชัดเจนจากการส่งออกที่ปรับดีขึ้น ส่งผลให้ก่าลังซื้อโดยรวมไม่เข้มแข็งนัก การใช้จ่ายของภาครัฐยังเป็น แรงขับเคลื่อนส่าคัญของเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ

อย่างไรก็ดี แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะความต่อเนื่องของการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ รวมถึง นโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีน และความเสี่ยงจากภูมิรัฐศาสตร์โลก

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ขอให้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์แรงงานต่างด้าวอย่างใกล้ชิด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นส่าคัญ โดยเฉพาะจากราคาอาหารสดที่ปรับลดลงตามผลผลิตผักและผลไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะอากาศที่เอื้ออ่านวยและผลของฐานสูงจากภาวะภัยแล้งใน ปีก่อน รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลง แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีอย่างช้าๆ ตามปัจจัยด้านอุปทานและการฟื้นตัวของ อุปสงค์ในประเทศ การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชนยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่ากลาง ของกรอบเป้าหมาย ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่อง ในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนได้เพิ่มขึ้นทั้งจากสินเชื่อสถาบันการเงินและตลาดทุน

สำหรับค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นต่อไป คณะกรรมการฯ เห็นว่าระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพสามารถรับมือกับความผันผวนของภาวะ เศรษฐกิจการเงินทั้งในและต่างประเทศได้ดีแต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุด อาทิ ความสามารถ ในการชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนปัญหาความสามารถ ในการแข่งขัน

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ซึ่งอาจน่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงของตลาดที่ต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัย ด้านต่างประเทศ ในขณะที่การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศอาจยังไม่กระจายตัวเท่าที่ควร คณะกรรมการฯ จึง เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนให้ เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ