เอจีไอเผยแนวโน้มการลงทุนครึ่งหลัง ปี 2560

04 ก.ค. 2560 | 23:21 น.
อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส พันธมิตรเพื่อการลงทุนระดับโลก ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่า 501,000 ล้านยูโร มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมากกว่า 600 คน ประจำอยู่ตามสำนักงานกว่า 25 แห่งทั่วโลก เผยปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมที่จะส่งผลต่อแนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของพ.ศ. 2560

นายนีล ดเวน นักกลยุทธ์การลงทุนระดับโลก บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์สเปิดเผยระหว่างการเดินทางมาร่วมงานสัมมนาการลงทุนประจำปี 2560 ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าหลังจากผ่านครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560มาแล้ว นับเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการติดตามผลการดำเนินการของหุ้นในตลาดโลก ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อมีสัญญาณที่ดี แต่ด้วยการควบคุมหรือการกดดันทางการเงิน (financial repression) ยังคงดำเนินอยู่ และมุมมองระยะยาว จึงทำให้มองว่าการเติบโตของตลาดโลกจะยังคงซบเซาต่อไป อย่างไรก็ตามข่าวดีคือไม่มีปัจจัยบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

[caption id="attachment_174441" align="aligncenter" width="503"] นายนีล ดเวน นักกลยุทธ์การลงทุนระดับโลก บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส นายนีล ดเวน นักกลยุทธ์การลงทุนระดับโลก บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส[/caption]

 

ตลาดในภูมิภาคเอเชียยังคงเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพโดยประเทศจีนกำลังเดินหน้าด้วยดีสู่การเป็น Asset class ในสหรัฐอเมริกา นโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ (Trumponomics) ยังไม่ได้ให้ผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมนัก แม้ว่านโยบายดังกล่าวจะได้รับความคาดหวังเป็นอย่างมาก ทางด้านภูมิภาคยุโรปนั้นแม้ว่าจะมีความเสี่ยงทางการเมืองจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ในหลายประเทศสมาชิก (election super cycle) แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองได้

ทั้งนี้ ความผันผวนจากการลงทุนคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนต้องเตรียมพร้อมสำหรับแนวทางการรับมือเชิงรุกและรับกับความเสี่ยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นในการแสวงหาผลตอบแทนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีความผันผวนเช่นนี้

++ ฉากหลังทางการเมือง

ผลการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรล่าสุดส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ที่ไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา (hung parliament) ทำให้เกิดความคลุมเครือไม่ชัดเจน ถึงกระนั้นผลกระทบจากการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ก็ยังไม่เกิดขึ้นในทันทีทันใดเช่นกัน แต่เราอาจเห็นได้ถึงแนวทางดำเนินการที่เป็นจริงและปฏิบัตินิยมมากยิ่งขึ้นในการเจรจาในครั้งต่อไป ข้อตกลงใดๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาฯ แทนการลงมติจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ถือเสียงข้างมากซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะมีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิมมาก

“จากมุมมองของเราเชื่อมั่นว่า ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีก 2-3ปีข้างหน้าหรือนานกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลดลงและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนชะลอตัวเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การเลือกตั้งที่ผ่านมาตอกย้ำมุมมองของเราในเรื่องดังกล่าว และส่งผลกระทบเชิงลบกับเงินปอนด์มีสัญญาณหลายอย่างถึงการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแบบผ่อนปรน (Soft Brexit) หรือแม้แต่การออกแบบเร่งรัด หากสหราชอาณาจักรยังเลือกที่จะอยู่ในระบบตลาดเดียวกับยุโรปดังเดิม ล้วนถือเป็นข่าวดีสำหรับค่าเงินปอนด์ทั้งสิ้น”

ในสหรัฐอเมริกา 7แผนยกระดับเศรษฐกิจสหรัฐฯ (7-point trade plan) ของทรัมป์อาจจะเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญต่อการค้าโลก อันอาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หากทรัมป์ตัดสินใจเริ่มดำเนินนโยบายเพื่อปกป้องการค้า ความเป็นไปได้ในการปรับการจัดเก็บภาษีพรมแดนจำแนกตามถิ่นที่มา (US border adjustment tax) อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจต่างๆและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเนื่องจากการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ

01r

Dollar Index (ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเงินอื่นๆต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆในเอเชียที่ทำการส่งออกเป็นหลักเช่น ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซียเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะต้องแบกรับความกดดันอันรุนแรงจากการเพิ่มขึ้นของมาตรการกีดกันทางการค้า โดยประเทศเกาหลีที่ได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีเกาหลี – สหรัฐฯ อาจเป็นผู้ที่ต้องบอบช้ำมากที่สุด หากข้อตกลงดังกล่าวมีการเจรจาใหม่

ในอีกครึ่งปีหลังต่อจากนี้ ดูเหมือนว่าคลื่นแรงกระแทกจากนโยบายประชานิยมที่เริ่มมาตั้งแต่ Brexit และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งอาจจะค่อยๆ สงบลง แม้ว่า Brexit ก็ยังคงดำเนินต่อไป แต่ต้องอาศัยการจัดการอย่างมีระบบ ในขณะที่ประเทศอิตาลียังคงสามารถสร้างความสั่นคลอนให้ยุโรปและสั่นสะเทือนสกุลเงินยูโรต่อไป

++การเติบโตของยุโรปภายหลังความมืดมัว?

uk

เมฆหมอกแห่งความกังวลที่ปกคลุมไปทั่วยุโรปดูเหมือนจะเบาบางลง ด้วยปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและความเชื่อมั่นตกต่ำเริ่มคลี่คลาย  ดังเห็นได้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นบวก การบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น  การลงทุนที่เพิ่มขึ้น  และอัตราการว่างงานที่ลดลง  อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาต่างๆ ซึ่งรวมถึง Brexit ยังคงมีอยู่ แต่ภาคพื้นยุโรปมีหนี้ในระดับที่ต่ำกว่า มีอัตราการออมที่ดีกว่า และมีขีดความสามารถในการเพิ่มการบริโภคสินค้าและบริการมากกว่าสหรัฐฯ

ในที่สุดผลกำไรของบริษัทสัญชาติยุโรปก็ดูเหมือนจะปรับตัวสู่ขาขึ้นหลังจากรอคอยมาอย่างยาวนาน จากการฟื้นตัวด้านรายได้หลังอยู่ในภาวะตกต่ำในช่วงหกปีที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อโลก รายได้อยู่ในจุดที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งกว่าสหรัฐฯ ซึ่งอัตราส่วนของผลกำไรนั้นหดลงเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ในยุโรป และช่วงเวลาถดถอยทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับอัตราผลกำไรของสหรัฐฯที่ถีบตัวสูงขึ้น

ในแง่ของการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ (Valuation)  ถือได้ว่าตลาดยุโรปอยู่ในช่วงที่หลักทรัพย์มีราคาต่ำเป็นประวัติการณ์สำหรับนักลงทุนจากสหรัฐฯ และยังเป็นตลาดที่น่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก ตลาดหุ้นยุโรปในขณะนี้ไม่อยู่ในกระแสความนิยมของนักลงทุน จึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองสวนกระแส นักลงทุนจากยุโรปอาจจะถูกบังคับให้ต้อง “ย้ายการลงทุนขนานใหญ่” (great rotation) จากพันธบัตรไปเป็นตราสารทุน เนื่องจากพันธบัตรนั้นให้ผลตอบแทนต่ำหรือไม่ได้รับผลตอบแทนเลย อันเกิดจากธนาคารกลางยุโรป (ECB)ผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าศูนย์

++จีนในฐานะ asset class

ประเทศจีนกำลังดำเนินไปบนเส้นทางที่ราบรื่นในการจะก้าวขึ้นมาเป็น asset class (กลุ่มสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ) และคาดว่าจะมีเสถียรภาพดียิ่งขึ้นในช่วง 5 ปีนับจากนี้ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ก้าวย่างในการปฏิรูประบบสถาบันการเงินของจีนนั้นเป็นไปได้ด้วยดีอย่างเห็นได้ชัด อาทิ การเปิดตัวตลาดพันธบัตรของรัฐ (municipal bond market) การเพิ่มกำหนดวงเงินในการค้าสกุลเงิน และการที่เงินหยวนได้เข้าไปอยู่ในระบบตะกร้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเภท “สิทธิพิเศษถอนเงิน” (special drawing rights) นอกจากนี้ ประเทศจีนยังมีประชากรรุ่นใหม่ กลุ่มมิลเลนเนียล ที่มีฐานะดีกว่ากลุ่มประชากรรุ่นเดียวกันในสหรัฐฯ  ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายสูง และเป็นกำลังสำคัญในการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีทรัมป์ อาจจะทำให้เกิดความปั่นป่วน ด้วยนโยบายที่อาจทำร้ายความสัมพันธ์ทางการค้า นโยบาย One Belt One Road ถือเป็นนโยบายสำคัญของประเทศจีนในการพัฒนา และเป็นความคาดหวังระยะยาวระดับภูมิภาค  ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจีนยังคงชัดเจนในการมุ่งหน้าสู่การผสานเป็นส่วนหนึ่งของตลาดการเงินโลก และค่อยๆ เปิดรับนักลงทุนจากต่างชาติอย่างช้าๆ

03r

“เรามองการลงทุนในประเทศจีน ด้วยแนวทาง bottom-up ที่เน้นการวิเคราะห์เป็นรายบริษัทเป็นหลักที่ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนประเภทมุ่งหวังผล (active investor) ณ วันนี้บริษัทจีนกว่า 4,200 แห่ง ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมากกว่าในสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 10ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หุ้นจากประเทศจีนจึงคิดเป็น 18% ของมูลค่าตลาดตราสารทุนโดยรวม และนี่คือโอกาสสำหรับผู้จัดการพอร์ตที่ลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร” นักกลยุทธ์การลงทุนระดับโลกของเอจีไอกล่าวและว่า

ตลาดพันธบัตรของจีนยังคงเติบโตและมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และยังเป็นผู้ออกพันธบัตรสีเขียวหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green bonds) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่สาม คาดว่าพันธบัตรสีเขียวจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากโครงการด้านสิ่งแวดล้อมหลายๆ โครงการของประเทศจีน

แม้จีนจะมีส่วนแบ่งในตลาดหุ้นและพันธบัตรอยู่  แต่ก็เป็นเพียง 18% ของขนาดมูลค่าตามราคาตลาด คิดเป็น 3% ของดัชนี MSCI All Country World Index (เป็นดัชนีอ้างอิงที่บริษัท Morgan Stanley Capital International หรือ MSCI จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ลงทุนและสถาบันที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ได้นำมาใช้เป็นมาตรฐานในการวัดผลตอบแทนในการลงทุนของตนเองว่าเป็นอย่างไร) ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าการลงทุนในจีนจะเติบโตขึ้นเนื่องด้วยต่างชาติสามารถเข้าถึงตลาดของจีนจากการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนควรจับตาการไหลออกของเงินทุน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการพลาดโอกาสที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว

++ตลาดเอเชีย และตลาดเกิดใหม่ยังคงมีโอกาสสำหรับการลงทุน

การเติบโตของโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา คือศักยภาพสำคัญของตลาดเกิดใหม่ (EM) ซึ่งแตกต่างจากตลาดที่พัฒนาแล้ว เรามองตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่ว่ากำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดตามวิถีการเติบโตของตลาดโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์พกพา และการก้าวกระโดดสู่ยุค 4G ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตได้มาก อัตราการถือครองโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น และจะทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและแตกต่างกันในเอเชีย

04r

หลายๆ ระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ต่างมีความต้องการในการปฏิรูปโครงสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะกลาง และโอกาสของการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการขาดการปฏิรูปในยุโรป

การปรับสมดุลสู่เศรษฐกิจที่มีการบริโภคเป็นพื้นฐาน (consumption-based economy) ของประเทศจีนและการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปในอินเดียและอินโดนีเซีย  ทำให้โลกได้ประจักษ์ถึงการสร้างตลาดผู้บริโภคใหม่ที่มีประชากรกว่า 4 พันล้านคน  รายได้ของประเทศเหล่านี้คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีข้างหน้า เนื่องจากประชากรหลายพันล้านคนกำลังเลื่อนฐานะขึ้นเป็นชนชั้นกลางและแนวคิด "ความฝันแบบอเมริกัน" ดำเนินต่อไปในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของภูมิภาค  อนึ่ง ภูมิภาคเอเชียจะได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างภูมิภาคที่กำลังเติบโตและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ได้รับการผลักดันจากการปรับเปลี่ยนเชิงบวกในตลาดเหล่านี้

++"การล่าหารายได้" - มูลค่าที่ทั้งโลกแสวงหา

"การล่าหารายได้"เป็นสิ่งที่ทั่วโลกเสาะแสวงหา และยังคงเป็นแก่นหลักท่ามกลางความผันผวนทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจโลกที่ยุ่งเหยิง และสภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้ในตอนต้น (lower for longer) นักลงทุนจำเป็นต้องเสี่ยงเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนและต้องมีแนวทางการลงทุนแบบ ACTive: agile, confident, and thorough (ฉับไว มั่นใจ และรอบคอบ)

05r

สำหรับนักลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ (income investors) นั้นสามารถค้นพบโอกาสได้อย่างมากมายในทุกภูมิภาค ตลาดตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนในเอเชียและตลาดเกิดใหม่ล้วนน่าสนใจ  เช่นเดียวกับพันธบัตรของสหรัฐฯที่ให้ผลตอบแทนสูง เรายังคงมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจและตลาดยุโรปที่ยังคงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี มีเพียงแต่ผลการเลือกตั้งของประเทศอิตาลีที่ยังเป็นปัจจัยคุกคามเดียวในระยะอันใกล้นี้