กนร.มีมติให้แรงงานต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างได้

03 ก.ค. 2560 | 10:39 น.
“บิ๊กป้อม”นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ดนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กำชับ 4 ข้อสั่งการดูแลช่วงรอยต่อจัดระเบียบ ไฟเขียวยึดเวลาขอใบอนุญาตทำงานถึงสิ้นมี.ค.2561 สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีซีไอและตรวจพิสูจน์สัญชาติแล้ว

วันนี้ (3 กรกฎาคม 2560) ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร กระทรวงแรงงาน  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ 2/2560 โดยมี พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

prawit (2)

ที่ประชุมร่วมพิจารณาวาระสำคัญหลายเรื่อง อาทิ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 แนวทางการแก้ไขปัญหาระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติสิ้นสุดลง มาตรการรองรับภาวการณ์บังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 แนวทางการเดินทางกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีข้อสั่งการดังนี้ 1) ให้กระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ให้กับนายจ้าง ลูกจ้างต่างด้าว และประชาชนได้รับทราบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในส่วนของนายจ้าง แรงงาน การคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับและบทลงโทษผู้กระทำผิด 2) ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศเร่งประสานประเทศต้นทางทั้งการตรวจสัญชาติให้กับแรงงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและการคุ้มครองที่ได้รับเมื่อผ่านการตรวจสัญชาติเรียบร้อยแล้ว

3) ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ของแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติสิ้นสุดลง เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แรงงานต่างด้าว และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 4) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดในการเดินทางกลับประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 5) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบจากพระราชกำหนดฉบับใหม่

sirichai

ด้านพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุม กนร. ว่า พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับไว้เป็นฉบับเดียวคือ พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551และ พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 โดย พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551เป็นการควบคุมงานต่างๆ ที่คนต่างด้าวทำได้ ทำไม่ได้ ส่วน พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 เป็นการควบคุมนายหน้าว่ามีการเอาเปรียบไม่ทำตามสัญญาจ้างหรือไม่  ซึ่งจะเป็นการอุดช่องว่างและปรับปรุงกฎหมายเพื่อจัดระเบียบคุ้มครองและป้องกัน

หลังการประชุมนายวิวัฒน์ จิระพันธุ์วานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีมติดังนี้ 1) เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 ซึ่งมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานอนุกรรมการ อธิบดีกรมการจัดหางานเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 19 คน และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560-2564 มีอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวเป็นอนุกรรมการและเลขานุการและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 18 คน

2) ตามมติครม. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 กำหนดให้แรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสัญชาติ ซึ่งแรงงานฯจะได้รับเอกสารรับรองบุคคล (C I) และต้องไปประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรที่ตรวจคนเข้าเมือง จากนั้นให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน แต่ปรากฏว่าขณะนี้มีแรงงานกว่า 150,000 คนไม่ได้มายื่นขอใบอนุญาตฯ ภายใน 15 วัน เนื่องจากเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ เช่น เดินทางกลับประเทศช่วงสงกรานต์ หรือรอเอกสารตรวจสุขภาพ เป็นต้น ส่งผลให้แรงงานที่ผ่านการตรวจสัญชาติและมีเอกสารแสดงตนแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย บางส่วนกลับประเทศ บางส่วนอยู่อย่างหลบซ่อน

จึงมีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (VISA) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแล้วไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน 15 วัน เป็นกำหนดให้ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อไม่ได้มายื่นขอภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 สำหรับแรงงานในกิจการทั่วไป และภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 สำหรับแรงงานประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ โดยให้สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ภายในระยะเวลา