‘CIDI Art Thesis Carnival 2017’ ฉายพลังสร้างสรรค์สร้างขุมทรัพย์ทางปัญญาสู่ศูนย์กลางด้านการออกแบบระดับภูมิภาค

02 ก.ค. 2560 | 04:00 น.
“ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม หรือ ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยไปยังทิศทางนั้นได้ คือ การสร้าง ‘นักออกแบบ’ (ดีไซเนอร์) ที่มีความสามารถ มีศักยภาพทัดเทียมในระดับนานาชาติ ดังนั้นหลักสูตรของ ซีไอดีไอ ชนาพัฒน์ จึงพัฒนามาจากหลักสูตรของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำด้านการออกแบบของโลก ใช้อาจารย์ผู้สอนจากประเทศชั้นนำ ผู้มีประสบการณ์งานออกแบบในเวทีโลกและมีประสบการณ์การสอนในระดับนานาชาติ รวมทั้งการมีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันสอนออกแบบชั้นนำของโลกหลายแห่ง เพื่อดึงเอาองค์ความรู้จากทั่วโลก มาช่วยยกระดับการศึกษาด้านการออกแบบของไทย เปิดวิสัยทัศน์ให้กับนักออกแบบไทยได้อย่างแท้จริง”

mp30-3275-A ส่วนหนึ่งของคำกล่าวเปิดงาน “CIDI Art Thesis Carnival 2017” ของ ศ. (พิเศษ) ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ จากความตั้งใจ สู่ความมุ่งมั่น และอีกหนึ่งความสำเร็จของนักศึกษาบนเส้นทางการออกแบบที่เริ่มต้นจากความชอบสู่ความเป็นมืออาชีพ สร้างทั้งรายได้และความภาคภูมิใจในฐานะหนึ่งในความสามารถของคนไทยที่พร้อมอวดโฉมในเวทีระดับโลก

[caption id="attachment_172611" align="aligncenter" width="503"] ‘CIDI Art Thesis Carnival 2017’ ฉายพลังสร้างสรรค์สร้างขุมทรัพย์ทางปัญญาสู่ศูนย์กลางด้านการออกแบบระดับภูมิภาค ‘CIDI Art Thesis Carnival 2017’ ฉายพลังสร้างสรรค์สร้างขุมทรัพย์ทางปัญญาสู่ศูนย์กลางด้านการออกแบบระดับภูมิภาค[/caption]

ระยะเวลา 2 ปีกับการศึกษาทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้นจากคณาจารย์มากฝีมือจากสถาบันออกแบบระดับโลก งาน “CIDI Art Thesis Carnival 2017” จึงเป็นการนำเสนอผลงานของนักศึกษาจากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ใน 2 สาขาวิชาคือ สาขาการออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) และ การออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ (Interior & Product Design) ประกอบนิทรรศการผลงานออกแบบการออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ และแฟชั่นโชว์ไอเดียล้ำ โชว์พลังสร้างสรรค์ของนักออกแบบไทย ที่ผ่านการศึกษาด้านดีไซน์ ด้วยหลักสูตรจากระดับนานาชาติ พร้อมการจัดแสดงและจำหน่ายแบรนด์ดีไซน์ของศิษย์เก่าสถาบันฯ ที่ปัจจุบันได้สร้างชื่อบนเวทีระดับนานาชาติ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการออกแบบของเอเซียอย่างแท้จริง
ลานกิจกรรม ณ ควอเทียร์ แกลอรี่ ชั้นเอ็ม ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ คราคร่ำไปด้วยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครอง ผู้สนใจด้านงานออกแบบ รวมถึงแฟนคลับดารานักแสดงหน้าใหม่ที่มาร่วมเดินแบบใน “แฟชั่นรันเวย์แห่งจินตนาการ” ที่สร้างสรรค์จากหลากหลายไอเดีย ออกแบบโดยนักศึกษาสาขาการออกแบบแฟชั่นของสถาบันรวมกว่า 65 ชุด ภายใต้แนวคิด “Fusion” คือการนำ 2 สิ่งที่แตกต่างกัน เหมือนกัน หรือ สอดคล้องกัน นำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งนักศึกษาแต่ละคนสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้ออกมาอย่างอิสระ

mp30-3275-c ซึ่งหนึ่งผลงานที่น่าจับตามองและสร้างเสียงตอบรับจากผู้ร่วมงานอย่างมากต้องยกให้กับชุดสีแดงเพลิง “The Phoenix” ผลงานการออกแบบของ “ต๊อบแต๊บ - ศุภสินี เสน่ห์พงษ์” กับแนวคิด การผสมผสานความวิจิตรผ่านยุคสมัยของชุดกี่เพ้า และการเปลี่ยนแปลงที่แม้จะสั่นคลอนรากฐานชีวิต แต่มิอาจทำลายความสง่างามอันเป็นนิรันดร์ หญิงสาวร่างเล็กที่ตัดสินใจเรียนออกแบบแฟชั่น เพราะนั่นคือความฝันของคุณแม่ที่มีใจรักและสนใจในแฟชั่นมาตลอด แต่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนให้ได้เรียนรู้ในด้านนี้ เธอจึงขอต่อยอดความฝันและรังสรรค์ชิ้นงานจบการศึกษาด้วยการนำชื่อของคุณแม่ ซึ่งมีความหมายในภาษาจีนว่า (Si Fng –ไซ่เฟิ่ง) หรือ Unconquerable Phoenix สู่ความเป็นอมตะแห่งศิลป์ดุจนกฟินิกซ์ที่ไม่มีวันดับสูญ

mp30-3275-e จากชุดกี่เพ้าที่ถูกเก็บสะสมมาหลายสิบปีนับร้อยชุดของคุณแม่ สู่จุดเริ่มต้นในการศึกษาและตีโจทย์คำว่า “Fusion” ที่ถ่ายทอดการหลอมรวมเป็นหนึ่งและสะท้อนตัวตนของเธอได้ในเวลาเดียวกัน การศึกษาวัฒนธรรมการแต่งการของจีนอย่างจริงจังโดยปักหมุดในยุค “ปฏิวัติวัฒนธรรมจีน” นำมาสู่เรื่องราวงานออกแบบที่สะกดทุกสายตา

การค้นพบว่าในช่วงเวลานั้น “กี่เพ้า” คือหนึ่งในเรื่องต้องห้าม ความหรูหราที่สะท้อนผ่านเนื้อผ้า ลวดลายและเรื่องประดับถูกลดทอนและแทนที่ด้วยแจ็กเกตที่ออกแบบโดย ดร.ซุน ยัตเซน และผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน “เหมา เจ๋อตง” นำมาสวมใส่จนเป็นต้นแบบและแพร่หลายไปสู่ประชาชนทั้งชายและหญิง การหลอมรวมเนวคิดที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

“เราออกแบบโครงสร้างชุดที่สื่อถึงผู้หญิงในยุคนั้นที่ถูกสั่งห้ามให้สวมกี่เพ้า ห้ามใช้เครื่องสำอางค์ ห้ามใช้เครื่องประดับ ห้ามใช้ผ้าแพง ห้ามแต่งตัวแฟชั่น ซึ่งถึงจะถูกกักไว้ใต้ชุดแบบทหาร แต่ความงามของผู้หญิงก็ไม่อาจถูกทำลายลงได้เทียบกับนกฟีนิกซ์ ที่แม้จะต้องทำลายตัวเองด้วยศักดิ์ศรีในเปลวเพลิง แต่ก็ยังเกิดใหม่อย่างสง่างามได้ตลอดไป”

mp30-3275-d เสื้อครอปท็อปที่ผสมเส้นโค้งคอที่เป็นสัญลักษณ์ของกี่เพ้า กับปกคอที่ตั้งตรงจากแจ็กเกตเหมา สะท้อนการถูกจองจำความคิดไว้ภายใต้เครื่องแต่งกาย ส่วนทรงกางเกงได้แรงบันดาลใจมาจากแขนเสื้อแจ็กเกตเหมา ซื้อทำจากผ้าวูลที่รีดจนเรียบกริบ เหมือนกฏระเบียบที่เคร่งครัด ช่วงโค้งตรงเอว ได้มาจากโค้งคออีกประเภทของกี่เพ้า ด้านข้างกางนำเสนอรูปแบบไฮคัท เปิดหรือปิดกระดุมได้ มาจากความโดดเด่นของชุดกี่เพ้า ที่เสริมทรวดทรงผู้หญิงโดยการแหวกด้านข้างลงไป แต่เพิ่มลูกเล่นด้วยการสลับเป็นการปิดจากด้านล่าง แล้วค่อยๆเปิดออกไปทางด้านบนแทน สื่อถึงสิ่งที่เคยถูกห้าม ถูกปิดบังได้ค่อยๆเปิดเผยออกมา ในส่วนของแจ็กเก็ตผู้ชาย ต๊อบแต็บเลือกนำเสนอเสื้อในโครงสร้างโอเวอร์ไซส์ สื่อถึงความเชื่อในยุคนั้นที่ผู้ชายมีอำนาจเป็นใหญ่ มีสิทธิเด็ดขาด และเป็นชนชั้นเหนือทุกคน แต่เส้นสายที่แทรกอยู่ในแพทเทิร์นการตัดเย็บ ไม่สามารถซ่อนได้ว่าความเฟมินีน ความอ่อนโยน ความงดงามของผู้หญิง คือส่วนหนึ่งที่แฝงอยู่ในอำนาจนั้นตลอดมา

mp30-3275-b จากองค์ความรู้ สู่ความสร้างสรรค์ และความกล้านำเสนอแนวคิดผ่านการออกแบบที่ได้รับการขัดเกลาและชี้แนะจากคณาจารย์มากฝีมือ นี่เป็นเพียงหนึ่งใน 65 ผลงานที่สร้างการจดจำไม่แพ้ผลงานการออกแบบของนักศึกษาท่านอื่นๆ ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้มาร่วมงานได้ไม่แพ้รันเวย์ชั้นนำระดับประเทศ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาด้านการออกแบบสามารถสมัครเรียนที่สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ได้แล้ววันนี้

mp30-3275-f ทั้งนี้สถาบันฯ จะมีจัดงาน Open House ในวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน และ 8 กรกฎาคมนี้ เพื่อแนะนำหลักสูตร ชมผลงานนักศึกษา และพูดคุยกับศิษย์เก่าที่สร้างแบรนด์และเข้าสู่วงการออกแบบ ซึ่งผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 02-741-3717-8 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.chanapatana.com และ www.facebook.com/Chanapatana/

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,275 วันที่ 2 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560