ตามรอยเสด็จฯ สวิตเซอร์แลนด์ (ตอนที่ 1)

02 ก.ค. 2560 | 00:59 น.
MP26-3275-6 สวิตเซอร์แลนด์ ไม่เพียงเป็นดินแดนในฝัน ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยธรรมชาติอันงดงาม และความเป็นเมืองน่าอยู่ติดอันดับโลกเท่านั้นแต่นัยสำคัญที่คนไทยระลึกถึงเมื่อกล่าวถึงประเทศนี้ นั่นก็คือเป็นประเทศที่ครอบครัวราชสกุลมหิดล เคยพำนักอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานานถึง 17 ปี

MP26-3275-1 Take A Trip ฉบับนี้นำคุณ “ตามรอยเสด็จฯประเทศสวิตเซอร์แลนด์”ทริปแห่งความประทับใจ ณ “โลซานน์” เมืองที่ “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมสมเด็จพระบรมราชชนก” ทรงอภิเษกสมรสกับ “หม่อมสังวาล”(สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2463 ระหว่างที่สมเด็จพระบรมราชชนก ได้เสด็จประชุม และดูงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ยุโรป ทั้งยังเป็นเมืองที่ยุวกษัตริย์ได้เสด็จมาประทับ และทรงศึกษา เมื่อครั้งทรงพระเยาว์
สถานที่ประทับ ตั้งอยู่บนถนนทิสโซต์ (Tissot) ห่างจากตัวเมืองเล็กน้อย เป็น“อพาร์ทเม้นต์หมายเลขที่ 16” ซึ่งครอบครัวราชสกุลมหิดลทรงเสด็จฯประทับเมื่อแรกไปถึง และทรงใช้เป็นที่ประทับในช่วงปี 2476-2478 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเลือกเช่าอพาร์เม้นต์เลขที่ 16 ในส่วนของชั้นล่าง

[caption id="attachment_172542" align="aligncenter" width="503"] โรงเรียนมัธยมเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออีส โรมองต์ โรงเรียนมัธยมเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออีส โรมองต์[/caption]

เนื่องจากเกรงว่าพระองค์หญิง(สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ)และพระองค์ชาย(พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล)ยังเด็กอาจจะทรงส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น จึงทรงเลือกชั้นล่างเป็นที่ประทับ และทรงโปรดทำกิจกรรมที่ลานหลังบ้าน โดยพระองค์หญิงทรงสอนขี่จักรยานให้พระองค์ชาย และพระองค์ชายสอนต่อให้พระอนุชา

[caption id="attachment_172545" align="aligncenter" width="503"] “ตึกธุรการ” ที่ร.9 ทรงบริจาคเงิน ส่วนพระองค์ในการก่อสร้าง “ตึกธุรการ” ที่ร.9 ทรงบริจาคเงิน
ส่วนพระองค์ในการก่อสร้าง[/caption]

แม้ที่อยู่อาศัยจะไม่ได้ใหญ่โต แต่เป็นบ้านแสนสุข มีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวมหิดล และอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ปัจจุบันแฟลตเลขที่ 16 ยังคงลักษณะเดิมแม้หน้าตาผู้เช่าเปลี่ยนแปลงไป

การศึกษาก็เป็นสิ่งที่ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อเตรียมความพร้อมในฐานะกษัตริย์ “โรงเรียนมัธยมเอกอลนูเวลเดอ ลา ซืออีส โรมองต์” (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เป็นโรงเรียนที่สมเด็จย่าทรงเลือกให้ทั้ง2 พระองค์เข้าศึกษา โดยในหลวงรัชกาลที่8 ทรงเข้าเรียนชั้น 2 และพระอนุชาทรงเข้าเรียนชั้นอนุบาล ทั้ง2 พระองค์ทรงเลือกเรียนสายศิลป์ภาษาละตินและภาษาอังกฤษ มีภาษาเยอรมันเป็นภาคบังคับ

MP26-3275-5 ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีอายุมากกว่า 111 ปีแล้ว จากนักเรียนที่มี 60 คน ปัจจุบันมีถึง 600 คน และภายในโรงเรียนแห่งนี้จะพบเห็น “ตึกธุรการ” ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงบริจาคโดยนำเงินส่วนพระองค์สร้างอาคารนี้ เมื่อปี 2553 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระกรุณามาเปิดอาคารแห่งนี้

[caption id="attachment_172546" align="aligncenter" width="377"] อพาร์ตเมนต์ เลขที่ 16 อพาร์ตเมนต์ เลขที่ 16[/caption]

อีกหนึ่งสถานศึกษาที่มีความสำคัญ หากย้อนไปเมื่อ 70 ปีที่แล้ว คือ “มหาวิทยาลัยโลซานน์”ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้เข้าศึกษา ณ เมื่อปี2488 ในคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอันดับ1 ต่อมาในปี2490 จึงได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษาสาขาวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์แทน เพื่อเตรียมพร้อมสู่การปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ ได้ย้ายออกไปอยู่นอกเมืองแล้ว แต่ที่ตั้งเดิมในวันนี้ก็จะเป็น“อาคารPalais De Rumine”ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ โบราณคดีและประวัติศาสตร์ เงินตรา ภูมิศาสตร์ และสัตววิทยา และบางส่วนเป็นหอสมุดของมหาวิทยาลัยโลซานน์

[caption id="attachment_172547" align="aligncenter" width="503"] มหาวิทยาลัยโลซานน์ (เดิม) มหาวิทยาลัยโลซานน์ (เดิม)[/caption]

ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ ยังเป็นที่ตั้งของ “ตลาดนัดเซนต์ฟรองซัว" (St.Francois)ตลาดนัดที่สมเด็จย่าทรงเสด็จไปซื้อของ และอาหารมาทำเครื่องเสวย แม้ว่าท่านจะมีแม่ครัวชาวสวิสส่วนพระองค์ก็ตาม แต่ทรงโปรดปรานที่จะเลือกซื้อของและปรุงอาหารด้วยตัวเองซึ่งตลาดนัดแห่งนี้จะเปิดทุกวันพุธและวันเสาร์ ตั้งแต่ 07.00-12.00 น. เป็นตลาดผัก ผลไม้ที่สดใหม่ที่เกษตรกรนำมาขายเอง

นี่เป็นเพียงตอนแรกของทริปแห่งความประทับใจเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวการนำสื่อมวลชน “ตามรอยเสด็จฯประเทศสวิตเซอร์แลนด์”ของธนาคารออมสิน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,275 วันที่ 2 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560