บันทึกประวัติศาสตร์ท่องเที่ยว ชีวิตเกษียณ ‘ชนินทธ์โทณวณิก’

02 ก.ค. 2560 | 23:30 น.
หลังวางมือจากการบริหารดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนลเต็มตัว ด้วยการดึงมืออาชีพ“ศุภจี สุธรรมพันธุ์” เข้ากุมบังเหียนการบริหารแทนในฐานะซีอีโอ วันนี้ “ชนินทธ์โทณวณิก” เลยมีเวลาเต็มที่กับการทำในสิ่งที่อยากทำมานาน โดยเฉพาะการทำหนังสือดีๆแน่นอนว่าต้องเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งเปิดตัวไปแล้วสำหรับผลงานชื้นแรก “Thailand Tourism: The Early Day” หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ยุคก่อร่างสร้างตัวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเล่มแรกของไทย

+สร้างให้คนไม่‹ลืมบรรพบุรุษ
ตอนนี้ผมเกษียณแล้ว ทำให้มีเวลาที่จะทำในสิ่งที่คิดมานานแล้ว ซึ่งตอนนี้การท่องเที่ยวของไทยถือว่ามีการเติบโตค่อนข้างดี แต่คนไทยส่วนใหญ่มักจะลืมอดีตว่า ใครที่มีส่วนสำคัญทำให้การท่องเที่ยวของไทยเกิดขึ้นมา และใครที่ช่วยให้การท่องเที่ยวเจริญเติบโตขึ้นได้ ประกอบกับเมื่อหลายปีก่อนผมได้คุยกับคนรู้จักอีก 2-3 คนที่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเขาก็เห็นในแบบเดียวกันกับผม เลยร่วมกันคิดที่จะทำหนังสือ เพื่อบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ ทำให้คนจะได้ไม่ลืมสิ่งที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างไว้

เนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นการข้อมูลในอดีตย้อนหลังไปในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา (ปี2493-2503) กล่าวถึงวิวัฒนาการของการท่องเที่ยวไทย และการอธิบายวิสัยทัศน์ เรื่องราวความทุ่มเทของบรรดาผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยยุคดังกล่าว ที่มีส่วนช่วยสร้างความสำเร็จให้แก่การท่องเที่ยวของประเทศนอกจากนี้ ยังมีส่วนพิเศษในหนังสือที่อุทิศให้แก่ราชวงศ์ของไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่งผลในเชิงบวกต่อการท่องเที่ยวได้อย่างไรด้วย

เริ่มแรกผมอยากจะทำหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทย เพื่อไปแจกในสถาบันการศึกษาต่างๆแต่พอไปคุยกับกระทรวงศึกษาเขาบอกว่าเด็กไม่ค่อยอ่านหนังสือ อยากได้ข้อมูลในรูปแบบดีวีดี หรือเว็บไซต์มากกว่า เพื่อนำข้อมูลไปใส่ในคอมพิวเตอร์ของเด็ก ทำให้เราจึงตัดสินใจที่จะทำหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษ เขียนโดย “สตีฟ แวน บีค” นักข่าวและอาจารย์ผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทยและเรียบเรียงโดย “รอย ฮาวเวิร์ด”อดีตผู้จัดการฝ่ายโฆษณา บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และนำเนื้อหาในหนังสือมาอยู่ในรูปแบบเว็บไซด์ www.thailandtourismtheearlydaysbook.comเป็นทั้งดีวีดี ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่ทุกคนเข้าไปอ่านได้ ภายใต้ชื่อ “การท่องเที่ยวไทยในวันวาน”

[caption id="attachment_172478" align="aligncenter" width="503"] บันทึกประวัติศาสตร์ท่องเที่ยว ชีวิตเกษียณ ‘ชนินทธ์โทณวณิก’ บันทึกประวัติศาสตร์ท่องเที่ยว ชีวิตเกษียณ ‘ชนินทธ์โทณวณิก’[/caption]

+ผู้มีบทบาทท่องเที่ยวยุคแรก
ผมใช้เวลาทำหนังสือเล่มนี้มานานกว่า 2 ปี ความยากอยู่ที่การพยายามรวบรวมเนื้อหาเชิงลึก และการสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทต่อการท่องเที่ยวยุคแรกเมื่อ60 ปีที่ผ่านมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งจริงๆผมคิดได้ถึง 100 ท่าน แต่เนื่องจากเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด หรือบางท่านได้ย้ายหรือเสียชีวิตไปแล้ว ก็ทำให้ต้องถามเรื่องราวของท่านผ่านทางทายาท แต่ทั้งนี้เราก็ได้ท่านที่มีบทบาทสำคัญๆครอบคลุมทุกด้านของการท่องเที่ยวไทย

ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ ก็เช่น “จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์” นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นคนแรกๆที่มองถึงการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ มีการเริ่มสร้างคน ผลักดันให้มีสายการบินในไทย และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อ.ส.ท.) ซึ่งปัจจุบันก็คือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ก็ถูกจัดตั้งในยุคนั้นด้วยเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศ โดยมี “พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์”เป็นผู้ก่อตั้งอ.ส.ท.

อีกท่านที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไทย คือ “พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ที่มีการประกาศปีวิสิท ไทยแลนด์ เยียร์ ในช่วงที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยวของไทยครั้งใหญ่ ทำให้กระตุ้นการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก“หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี”ผู้มีบทบาทเรื่องของโครงการหลวงเป็นต้น

ในส่วนของภาคเอกชนที่มีบทบาทต่อการพลิกโฉมการท่องเที่ยวของไทย ก็มีอยู่หลายท่านทั้งคนไทยและต่างชาติ อาทิ “กุศะ ปันยารชุน” ผู้ก่อตั้งบริษัทตัวแทนบริการด้านการท่องเที่ยวแห่งแรกของประเทศไทย “บุญชู โรจนเสถียร” เจ้าของชีวาศรม ที่ทำให้สปาไทยและนวดไทย เป็นที่รู้จักไปทั่วไทย “หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล”ผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต “จิมทอมป์สัน” ผู้ที่ทำให้ผ้าไหมไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในระดับโลก “นีลส์ลัมโฮลต์”อดีตรองประธานบริหารของการบินไทยผู้บุกเบิกการบินไทย ไปสู่จุดหมายปลายทางใหม่ๆระดับโลก “ดร.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ” ผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวให้เกาะ

สมุย“ชิน โสภณพนิช” ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ“สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์” ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลฯ หรือแม้แต่ในแวดวงโรงแรม ที่น่าแปลกคือในอดีตผู้ที่บุกเบิกธุรกิจโรงแรมระดับหรูในไทยยุคแรกๆ หลายเป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็น “ท่านผู้หญิงชนัตถ์ปิยะอุย” ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิตธานีและดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นคุณแม่ของผม“ท่านผู้หญิง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ” ผู้ก่อตั้งโรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ปาร์คนายเลิศเป็นต้น ผู้บุกเบิกโรงแรมอีกท่านที่เป็นชาวต่างชาติ คือ“เอเดรียนและอัลวิลล์เซคกา”สองพี่น้องชาวอินโดนีเซีย ที่สร้างแบรนด์อมันปุรี รีสอร์ทหรู แห่งแรก ที่จ.ภูเก็ต ซึ่งเสียงของรีสอร์ตได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในฐานะที่เป็นรีสอร์ตสุดหรูและมีทำเลยอดเยี่ยม

+รายได้มอบโครงการหลวง
อีกทั้งยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจ อาทิ ใครเป็นคนแรกที่ทำรถตุ๊กตุ๊ก หรือจุดเริ่มต้นของเรือท่องเที่ยวสมัยก่อน เป็นต้น ซึ่งหนังสือเล่มนี้ผลิตออกมาครั้งแรกที่ 5,500 เล่ม ขายในราคาเล่มละ 1,500 บาท โดยวางจำหน่ายที่ร้านหนังสือเอเชียบุ๊กส์และที่โรงแรมในเครือดุสิต ในประเทศไทย ซึ่งรายได้ทั้งหมดจากการขายหนังสือหลักหักค่าใช้จ่ายจะนำไปบริจาคให้มูลนิธิโครงการหลวง และนอกจากการดาวน์โหลดอี-บุ๊ก ได้ฟรี ผ่านเว็บไซต์แล้ว เราก็จะมอบหนังสือเล่มนี้ให้กับสถาบันที่มีการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยว,การจัดการโรงแรมและการทำอาหารในไทย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยผมมุ่งหวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นสื่อในการอนุรักษ์เรื่องราวของผู้บุกเบิกด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงเริ่มต้น และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านนี้ได้ดำเนินรอยตามและไม่ให้ลืมบรรดาผู้บุกเบิกที่ต้องเผชิญความเสี่ยงและโอกาสในหลายเรื่อง กว่าจะมาเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างที่เราเห็นในวันนี้
ทั้งไม่เพียงแต่หนังสือเล่มแรกนี้เท่านั้น คุณชนินทธ์ ยังแย้มต่อด้วยว่า กำลังจะทำหนังสือคล้ายๆแบบนี้อีกเล่ม แต่จะเป็นเรื่องของดุสิตฯ นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,275 วันที่ 2 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560