งัดม.44 แก้ขาดแคลนแรงงานต่างด้าว

30 มิ.ย. 2560 | 10:32 น.
ม.44 แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ชะลอการบังคับใช้กฎหมาย 3 มาตรา ผ่อนผันให้นายจ้างทำให้ถูกต้อง 120 วัน

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญพล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตัวแทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายสถาบันภาคเอกชน (กกร.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าหารือการแก้ปัญหา หลังพ.ร.ก.การบริหารจัดการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ โดยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ก่อนรายงานนายกรัฐมนตรีทราบ

[caption id="attachment_172194" align="aligncenter" width="503"]  นายวิษณุ เครืองาม นายวิษณุ เครืองาม[/caption]

นายวิษณุ เปิดเผยหลังการประชุมว่า จะมีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 บรรเทาปัญหาที่เกิดจาก พ.ร.ก.ดังกล่าว โดยออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ให้ชะลอหรือเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย 3 มาตรา คือ มาตรา 101 กรณีการเอาผิดลูกจ้าง มาตรา 102 เอาผิดนายจ้างที่รับคนมาทำงานในอาชีพพิเศษบางอย่างโดยไม่รับอนุญาต และมาตรา 122 การรับคนที่ไม่มีใบอนุญาตมาทำงาน ซึ่งมาตราเหล่านี้เป็นเรื่องการเอาผิดและมีโทษหนักแก่นายจ้างหรือลูกจ้างซึ่งปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาทบาทต่อคนต่อราย โดยให้เลื่อนการบังคับใช้ออกไป 120 วัน และระหว่างนี้จะไม่มีการจับกุม ยกเว้นมีการค้ามนุษย์ และจะมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 23 มิถุนายน โดยการเลื่อนออกไปนี้เพื่อจัดการกับระบบแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ต้น ให้กลับไปขออนุญาตที่ประเทศของเขาให้ถูกต้อง ขณะที่กระทรวงแรงงานจะประสานงานการขออนุญาตจากประเทศนั้นๆที่ชายแดน ไม่ต้องเข้าไปในประเทศนั้น โดยที่คนของประเทศนั้นสามารถมาตรวจสอบได้และเพื่อออกใบอนุญาต

[caption id="attachment_172276" align="aligncenter" width="373"] Migrant workers work at a shrimp factory in Samut Sakhon on the outskirts of Bangkok March 22, 2007. Human rights groups say thousands of children and illegal Myanmar migrants are working in Thailand Migrant workers work at a shrimp factory in Samut Sakhon on the outskirts of Bangkok March 22, 2007. Human rights groups say thousands of children and illegal Myanmar migrants are working in Thailand's $2 billion-a-year shrimp export industry, often in conditions little short of modern-day slavery. Industry officials deny the allegations. Picture taken March 22, 2007. REUTERS/Chaiwat Subprasom (THAILAND)[/caption]

“เนื้อหาของคำสั่งมาตรา 44 นี้ จะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมระหว่างเดินทางกลับ หรือถูกรีดไถ่ข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ได้ ยกเว้นมีความผิดเรื่องค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงขอให้แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายหรือมีความผิดเงื่อนไขจากที่ได้รับอนุญาตไว้ ให้รีบไปดำเนินการให้ถูกต้อง ส่วนนายจ้างต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะยังมีเวลาผ่อนผัน 120 วัน ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานควรทำความเข้าใจกับลูกจ้างว่าสามารถทยอยเดินทางกลับไปขออนุญาตให้ถูกต้อง จะได้ไม่เกิดปัญหาสูญญากาศ และเสียสภาพคล่องเพราะแรงงานไม่อยู่”

นอกจากนี้ยังมีศูนย์พิสูจน์บุคคลที่เป็นแรงงงานเมียนมา 5 แห่งในไทย ถ้ารัฐบาลเมียนมายินยอม ก็จะให้ 5 ศูนย์นี้ออกใบอนูญาตได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน หรือาจมีช่องทางในการอำนวยความสะดวก เช่น การยื่นขอทางออนไลน์ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาถูกกฎหมาย แต่ทำงานผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตนั้น เช่น อนุญาตให้ไปทำงานในพื้นที่หนึ่งแต่กลับไปทำงานอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย แต่จะอนุโลมให้ไปแจ้งได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดว่าได้เปลี่ยนสถานที่จากเดิมที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้ถูกกฎหมาย

ความผิดที่ระบุในพ.ร.ก.นี้เป็นเหมือนเดิม แต่โทษมีความรุนแรงมากขึ้น ปรับสูงขึ้น และต้องกำชับว่าให้มีความรอบคอบในการทำกฎหมายที่ยังมีเล็ดลอดเกิดปัญหาออกมา เหมือนกับตำรวจพยายามทำเต็มที่ ผู้ร่างก็ทำอีกอย่าง เช่นเดียวกับที่กฎหมายถ้าเขียนไว้ชัดเจน คนจะหาช่องแล้วมาบอกว่ากฎหมายมีช่องว่าง แสดงว่ากฎมหายมีข้อบกพร่องไม่ได้