นักวิชาการ มธ. ชี้ระยะยาวอาจเสี่ยงภาวะ “ต้มกบ” แนะรัฐผลักดันการลงทุนเพื่อยกระดับการสร้างมูลค่าเพิ่ม

29 มิ.ย. 2560 | 07:41 น.
นักวิชาการด้านพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยภาวะเศรษฐกิจไทยมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่สถาบันการเงินพยายามลดความเสี่ยงการเกิดหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL โดยการเข้มงวดในการปล่อยกู้ มากขึ้น ดังนั้นถึงแม้ในช่วงนี้ ประเทศไทยยังมีโอกาสน้อยที่ จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซ้ำรอย “วิกฤติต้มยำกุ้ง” แต่การเติบโตระดับต่ำอย่างในปั จจุบันเป็นสัญญาณของปัญหารูปแบบใหม่ของเศรษฐกิจไทย ซึ่งก็คือ “ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)” กล่าวคือ การที่เราค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เปรียบเสมือนสภาวะต้มกบ ที่กบกำลังจะตายอย่างช้าๆ โดยไม่รู้ว่าตัวเองกำลังจะตายจากน้ำที่ค่อยๆ เดือด

แนะภาครัฐและเอกชนไทยเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อไม่ให้เกิดการย่ำอยู่กับที่จนกลายเป็น “วิกฤติต้มกบ” เนื่องจากปัจจุบันประเทศเพื่ อนบ้านที่เคยล้าหลังกว่าไทยพัฒนาไปมาก หลายประเทศมีการเปิดรับการลงทุ นจากต่างชาติมากขึ้น อาทิ เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับความสามารถทางการแข่งขันอย่างรวดเร็ว พร้อมชี้ภาคธุรกิจไทยควรมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องในระยะยาวแทนการลงทุนเพื่อเก็งกำไรอย่างฉาบฉวย และภาครัฐควรเร่งยกระดับภาคการเกษตรโดยนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่ม

11625234 - rubber tree ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว  ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิ จแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ว่าเราเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป และไทยยังเป็นประเทศที่ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ ามาลงทุนอยู่ เนื่องจากมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและข้อได้เปรียบจากการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงในภูมิภาค แต่ภาคธุรกิจยังคงระมัดระวังในทุกด้าน โดยเฉพาะภาคสถาบันการเงินที่เรียนรู้จากประสบการณ์ความผิดพลาดจากวิกฤติในอดีต มีการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL มากจนเกินไป ซึ่งการใช้วิธีนี้จะทำให้เกิดผลดีในอนาคตเนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงในการขาดทุนของภาคสถาบันการเงินและทำให้ลูกค้าสถาบันการเงินมีวินัยทางการเงินมากขึ้นด้วย

นอกจากนั้น แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มเกิดภาวะฟองสบู่บ้างจากปริมาณที่อยู่อาศัยรอการขายมากสวนทางกับความต้องการของประชาชนที่ลดลง โดยเฉพาะในแถบชานเมือง แต่ยังเชื่อว่าในระยะต่อไปภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ จะเริ่มลดลงจากการชะลอเปิดตัวโครงการใหม่ ซึ่งทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยรอการขายจะทยอยลดลงในอนาคต ประกอบกับการบริหารจัดการของภาครัฐที่มาถูกทาง โดยเฉพาะการส่งเสริมธนาคารรัฐในการออกผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน และสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยพั ฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยกับ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา

1599057_m อย่างไรก็ตาม มาตรการที่สำคัญที่ภาครัฐควรทำเพิ่มเติมรอการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเกิดการลงทุนในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หรือ Reinvestment อาทิ การนำผลกำไรที่ได้ไปต่อยอดซื้อเครื่องจักรหรือพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจในระยะยาว แทนที่จะนำผลกำไรไปใช้ เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น การเก็งกำไรในตลาดหุ้นหรือตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะเป็นการพัฒนาธุรกิจของตนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้แรงงานมี ทักษะและรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการสนับสนุนภาคธุรกิจทั่วไปแล้วนั้น ภาครัฐควรเร่งให้เกิดการพั ฒนาในภาคเกษตรกรรมของประเทศซึ่ งมีการจ้างงานถึงเกือบประมาณครึ่ งหนี่งของกำลังแรงงานไทยทั้ งระบบ โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมเพื่ อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อก้าวข้ ามการแข่งขันในเรื่องราคากั บประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุ นการผลิตต่ำกว่า โดยการยกระดับภาคธุรกิ จและภาคการเกษตรจะเป็นแนวทางสำคัญที่สามารถกระตุ้ นการบริโภคของทั้งระบบเศรษฐกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กั บเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนั้นการพัฒนาเหล่านี้ จะสร้างความมั่นใจและเป็นพื้ นฐานในการส่งเสริมให้เกิ ดการลงทุนจากต่างประเทศในกลุ่ มอุตสาหกรรมมูลค่าสูง เพื่อช่วยยกระดั บความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในช่วงที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศมีการพัฒนาอย่ างรวดเร็ว เช่น ประเทศเมียนมาร์ที่มีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น หลังจากการเปิดประเทศอันเนื่องมาจากความได้เปรียบของต้นทุ นการผลิตที่ต่ำและทรัพยากรที่มี มาก รวมถึงเวียดนามที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในหลากหลายด้าน ทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ และสาธารณูปโภค เป็นต้น

ในภาพรวมถึงแม้ไทยจะมีข้อได้เปรียบเรื่องทำเลที่ตั้งที่เป็ นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่ างประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และยังอยู่ในความสนใจของต่ างชาติในการลงทุน แต่ประเทศเราก็ยังมีปัญหาการพัฒนาในหลายภาคส่วน ทั้งการวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ ภาคการเกษตรที่ยังขาดประสิทธิ ภาพในการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ระบบการศึกษาที่ยังไม่ สามารถตอบโจทย์ความต้ องการของประเทศได้ และระบบราชการที่ยังขาดประสิทธิ ภาพเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้ ประเทศไทยเราย่ำอยู่กับที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปัญหาเรื้อรังเหล่านี้คอยฉุดรั้งการพัฒนาของประเทศก่อให้เกิด “วิกฤติต้มกบ” ในปัจจุบัน ซึ่งสร้างผลกระทบกับประเทศแตกต่างจาก “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ในอดีต ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในทันทีทันใด ทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างและกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ต่างจาก “วิกฤติต้มกบ” ในปัจจุบันที่ประเทศเราสูญเสี ยความสามารถในการแข่งขันอย่างค่ อยเป็นค่อยไป ซึ่งกว่าที่เราจะรู้ตัวอีกทีก็ อาจสายเกินกว่าที่จะปรับตัวแล้ว