ธพว.เชื่อมั่นผลการตัดสินคดี FRCDไม่กระทบ ยันสู้คดียื่นศาลฎีกา

29 มิ.ย. 2560 | 07:28 น.
ธพว.ยันต่อสู้คดี FRCD พร้อมยื่นศาลฎีกาพิจารณาคดีภายใน 30 วัน ลั่นหากผิดจริงยอมรับผิดชอบ เชิื่อสถานะแบงก์แข็งแกร่งมีเงินกองทุนสูง 12% รองรับ

[caption id="attachment_171547" align="aligncenter" width="454"] นายมงคล  ลีลาธรรม นายมงคล ลีลาธรรม[/caption]

นายมงคล  ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณี ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SCBT) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ธพว. เป็นจำเลย เพื่อเรียกค่าเสียหายตามสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Cross Currency Swap /CCS) และสัญญาป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap /IRS) บนบัตรเงินฝากชนิดดอกเบี้ยลอยตั ว (FRCD) จำนวนคดีมีทุนทรัพย์รวมประมาณ 6,000 ล้านบาท ต่อศาลแพ่งจำนวนทั้งสิ้น 3 คดี เมื่อปี 2551 และ 2552  ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา  เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2558 ให้ ธพว.ชนะคดีโดยยกฟ้องทั้ง 3 คดี  ต่อมาโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษา  เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2560 พิจารณาให้ ธพว. ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามจำนวนดังกล่าวนั้น

“กรณีข้อพิพาทดังกล่าว เป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2549 และต่อมาได้ต่อสู้คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์  ซึ่งจากผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ธนาคารจะใช้สิทธิ์ต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาต่อไป  ส่วนผลของคดีจะเป็นอย่างไร  ธพว. ยินดีและพร้อมปฏิบัติตามคำพิพากษาทุกประการ  สำหรับฐานะการเงินของธนาคารมีความแข็งแกร่ง ณ สิ้นปี 2559 ธนาคารมีกำไรถึง 1,600 ล้านบาท ยังมีเงินกองทุนและมีเงินสำรองหนี้ส่วนเกินรองรับความเสียหายที่เพียงพอและเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  BIS Ratio ตามเกณฑ์ Basel’`ไว้ที่ 8.5%  ขณะนี้ธนาคารมีกองทุนขั้นที่ 1 มี.ค. 2560 ที่ 11.55% และกรณีเมื่อมีการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ในกองทุนขั้นที่ 2 ก็จะมีกองทุนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 รวมกันเพิ่มขึ้นเป็น 12%  ซึ่งจะทำให้ฐานะทางการเงินมี ความแข็งแกร่ง  เพียงพอต่อการชำระหนี้ ตามความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากผลของคำพิพากษาให้ ธพว.ชำระหนี้  โดยไม่มีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของ ธพว.และผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดย ธพว. ยังสามารถดำเนินการตามแผนพันธกิจผู้ประกอบการรายย่อยปี 2560 ได้เป็นปกติ รวมถึงมีความพร้อมในการสนองนโยบายภาครัฐเพื่อผลักดันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เดินหน้าต่อไป ในส่วนของคดี ธพว. ยืนยันจะต่อสู้ในชั้นศาลฎีกา เพราะเชื่อมั่นในความยุติธรรม และมีพยานหลักฐานสำคัญที่จะสามารถยกขึ้นต่อสู้คดี ในหลายประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อธนาคาร  โดยการยื่นฎีกาตามกระบวนการจะใช้เวลาภายใน 30 วัน”

ทั้งนี้ ธนาคารได้รายงานข้อมูลดังกล่าว ต่อคณะกรรมการธนาคาร กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับทราบแล้ว