โตชิบาร่วมสร้างสังคมที่ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้ภายในชุมชน

26 มิ.ย. 2560 | 13:31 น.
ความวิตกกังวลเรื่องสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ทำให้ทั่วโลกทุ่มเทกำลังและเวลาเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานหมุนเวียนในหลากหลายรูปแบบจำนวนมาก ที่เราคุ้นเคยกันดีก็เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล เป็นต้น แต่ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อาศัยการไหลเวียนของน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า คือ แหล่งกำเนิดพลังงานหมุนเวียน ที่ไม่สร้างมลภาวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของระบบไฟฟ้าพลังน้ำ คือ ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อย และประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเขื่อนที่สร้างขวางกั้นแม่น้ำสายหลักที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ได้รับความนิยมอย่างสูงกลับเป็นอุปสรรคต่อกรรมวิธีในการผลิตพลังงานหมุนเวียน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ต้นทุนของการกักเก็บน้ำ การก่อสร้างระบบท่อ และเครื่องกลต่างๆมีมูลค่าสูงกว่าตัวโรงไฟฟ้า ระบบกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเสียอีก ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สูงเป็นปัจจัยยับยั้งที่สำคัญ และเป็นประเด็นที่โตชิบากำลังวิจัยและพัฒนาหาแนวทางแก้ไข แนวทางหนึ่งที่น่าสนใจเรียกว่าเทคโนโลยี “ไฮโดร-อีคิดส์” (Hydro-eKIDS) ที่มีกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานประสานกัน นับเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันน้ำขนาดกะทัดรัด ติดตั้งได้ง่ายในแทบจะทุกพื้นที่ คุณลักษณะที่สำคัญของไฮโดร-อีคิดส์ คือ เพียงมีพลังงานศักย์ (hydraulic head) ที่ระดับ 2 เมตรก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แล้ว

hydro2

ไฮโดร-อีคิดส์ มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับความคิดริเริ่มในการใช้พลังจากแหล่งน้ำขนาดเล็กมาผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับการใช้งานกับโรงเรียน นอกจากวิธีการผลิตจะเหมาะสมกับการใช้งานจริงแล้ว นี่ยังเป็นโอกาสในการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในบริบททางการศึกษา เพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องทางด้านสิ่งแวดล้อม ในหมู่เยาวชนซึ่งจะเติบโตขึ้นเป็นผู้นำในอนาคต

เนื่องจากที่ตั้งของฐานการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดย่อมนี้ รวมถึงพื้นที่ที่มีความแตกต่างเรื่องหัวน้ำและอัตราการไหลของน้ำ โตชิบาจึงได้พัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีความเร็วแปรผันที่สามารถปรับความเร็วรอบของกังหันน้ำได้อย่างอ่อนตัวและเหมาะสม อันจะช่วยให้สามารถนำวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนี้ไปใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

++กระแสไฟฟ้าที่ผลิต เพื่อใช้งานในพื้นที่

โตชิบามุ่งหวังสร้างสังคมที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้ภายในชุมชน และเป็นแหล่งพลังงานของเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยสรุปคือ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตเพื่อใช้งานในพื้นที่ กุญแจที่ไขสู่ความสำเร็จ คือ หน่วยการผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก เหมาะสมกับการติดตั้งและใช้งานในชุมชนนั่นเอง

hydro1

พื้นที่มากมายหลายแห่งที่ความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แต่เมื่อไม่มีสายส่งกระแสไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆที่จำเป็น ทำให้ในหลายๆครั้ง แผนการก่อสร้างต้องถูกยกเลิกไป เพราะค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสายส่งทั้งหมดมีราคาสูงเกินไป ในกรณีเช่นนี้ โตชิบากำลังพิจารณาการผลิตพลังงานจากแหล่งน้ำ เพื่อทดแทนการพึ่งพาสายส่ง

วัตถุประสงค์ของโตชิบา คือ การสร้างระบบที่ไว้ใจได้ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากเพียงพอโดยสอดคล้องกับความต้องการ ตลอดจนความคาดหวังของผู้ใช้ และการค้นพบวิธีการต่างๆในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์