โรงรมวิสาหกิจ/สถาบันเกษตรกรยาง กว่า 500 โรง ร้องศาลคุ้มครองชั่วคราว หลังกฎหมายแรงงานต่างด้าวบังคับใช้

25 มิ.ย. 2560 | 13:26 น.
 

นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยแห่งประเทศไทย หรือ สคย.  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า วันพรุ่งนี้ (วันที่ 26 มิถุนายน 60)  โรงรมแปรรูปวิสาหกิจ/สถาบันเกษตร 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช/สุราษฎร์ธานี คาดว่ากว่า   500 โรง จะร้องขอศาลปกครองนครศรีธรรมราช คุ้มครองชั่วคราว เวลา 14.00 น. หลังจาก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น

[caption id="attachment_169320" align="aligncenter" width="447"] นายมนัส บุญพัฒน์ นายมนัส บุญพัฒน์[/caption]

"คนรับจ้างกรีดยาง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว เพราะคนไทยไม่ทำ แล้วต้องมีฝีมือ กว่าที่จะเรียนรู้ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งบางคนก็ทำได้ และบางคนก็ทำไม่ได้ แต่ปัญหาหลังจากกฎหมายออกมา ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงสูง 1.ค่าตัวแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายต้องผ่านนายหน้า 1 คน นายหน้าจะคิดค่าบริหารจัดการ 1.8 หมื่นบาทต่อคน แล้วหากใบทำใบอนุญาตต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน หากทำไม่ได้ก็ต้องส่งกลับประเทศ ยิ่งซ้ำเติมความทุกข์ชาวสวนยางทั้งราคายางตก และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แล้วถ้าไม่ปฎิบัติตามกฎหมายจะต้องมีโทษปรับตั้งแต่ 4 แสนถึง 8 แสนบาทต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน แล้วหากอนุญาติคนต่างด้าวทำงานโดยไร้อนุญาตให้ทำงานมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับตั้งแต่ 2 พันบาทถึง 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นจำเป็นต้องร้องขอศาลคุ้มครองชั่วคราว ไม่ได้คัดค้านกฎหมาย"

20062432_ml เช่นเดียวกับนายเพิก  เลิศวังพง ที่ปรึกษาที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชยสท.) เผยว่า  แรงงานบ้างชนิดต้องอาศัยฝีมือความชำนาญหรือกำลังจ้างคนในประเทศไม่ทำกันจำเป็นต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว  ยินดีที่ทำMOU(ข้อตกลงแรงงานระหว่างประเทศ)ซึ่งต้องใช้เวลาและเงินพอสมควรในการดำเนินการไม่ต่ำกว่า 1 เดือน แรงงานบ้างชนิดต้องทดสอบความสามารถก่อน เพื่อคุณภาพของสินค้าที่ผลิต รวมทั้งคุ้มครองแรงงานที่เดินทางเข้ามาก่อนกฎหมายออกมา ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะมีการคุ้มครองสัก 2-3 เดือน เพื่อให้มีโอกาสดำเนินตามกฎหมายทั้งในเรื่องของคุณภาพแรงงานและสินค้าที่ผลิต รวมไปถึงโอกาสของแรงงานทุกคนทุกชาติ และป้องกันการทำงานที่ไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและไม่มีอำนาจต่อไป

"ยกเว้นที่อยู่ในประเภทค้ามนุษย์หรือใช้แรงงานผิดประเภทที่กฎหมายบังคับไว้ แยกระหว่างแรงงานกับค้ามนุษย์ออกจากกัน แรงงานคือความจำเป็นในการพัฒนา ผมเชื่อว่าทุกคนต้องทำให้ถูกต้องแต่บเางเรื่องต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่าย คนที่ไม่ต้องใช้แรงงานหรือประเภทมีเงินจ้างทำ ไม่เข้าใจ แรงงานที่ต้องการทำงานคงไม่มาสร้างปัณหา คนที่สร้างปัณหาคือคนไม่มีงานทำ ช่วยกันหาทางออกในเชิงพัฒนากับปัณหาแรง"