สนช. ลงพื้นที่สมุทรสงครามรับปัญหาความเดือดร้อน 7 เรื่องร้อน

25 มิ.ย. 2560 | 11:43 น.
 

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วันนี้ (วันที่ 25 มิ.ย. 60) ทางคณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ณ ห้องประชุมแม่กลอง ศาลากลางจังหวัด ซึ่ง ได้มีการหารือ 7 เรื่อง ประกอบด้วย 1.ปัญหาสิ่งรุกล้ำลำน้ำ 2.ปัญหาขาดแคลนแรงงาน 3.ปัญหาขยะ 4.การผลักดันโครงการแก้มลิงทุ่งหิน 5.ปัญหาผังเมืองและโรงแรม 6. ปัญหาล้งมะพร้าว และ 7.ปัญหาลิงแสม

[caption id="attachment_169281" align="aligncenter" width="503"] นายมงคล สุขเจริญคณา นายมงคล สุขเจริญคณา[/caption]

"สำหรับข้อมูลการแจ้งครอบครองสิ่งล้วงล้ำลำน้ำ  แบ่งเป็น อำเภอเมือง สำรวจแล้วมีทั้งหมด 639 แห่ง  อำเภอบางคนที จำนวน 727 แห่ง  และอัมพวา 1,515 แห่ง รวม 2,881 แห่ง  ได้มีการแจ้งกรมเจ้าท่าแล้ว 150 แห่ง แล้วยังไม่ได้แจ้ง 2,731 แห่ง"

S__7675941

วันนี้(25 มิ.ย.60)เวลา 09.45 น. ณ ล้งมะพร้าว หมู่ 5 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นำโดย พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล ประธานกิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาด้านการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิต ในโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังบรรยายสรุป

S__8093832 จากการรับฟังปัญหา พบว่า มีในเรื่องน้ำทิ้งที่เหลือจากการผลิตของล้งมะพร้าวได้มีการปล่อยทิ้งให้ซึมลงดินหรือบ่อดินในพื้นที่และมีการซึมผ่านลงแหล่งน้ำสาธารณะ ไม่มีการสร้างบ่อบำบัดหรือสร้างระบบบำบัดยังไม่ถูกต้อง

สืบเนื่องจากการตายของปลากระเบนราหู ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามได้สั่งการให้มีการตรวจสอบสถานประกอบการทุกพื้นที่ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำเสียให้ดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีการลงพื้นที่ที่ตำบลบางสะแก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2560 ร่วมเวทีประชาคมกับประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็นถึงปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น และได้กำหนดเป็นนโยบาย โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมและติดตามความก้าวหน้าพร้อมทั้งให้เวลาผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุง/สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียโดยมีความคืบหน้าและการมีส่วนร่วมของชุมชน ใน 3 ภาคส่วน ได้แก่

1. ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก ออกพระราชบัญญัติส่วนท้องถิ่น เรื่อง "สถานประกอบการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ"

2. ผู้ประกอบการ ได้มีการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย และร่วมกับพื้นที่ระดมทุนในการพัฒนาขุดลอกคลอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียที่ขังอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ

3. ภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการระดมความคิด จัดตั้งกองทุนฯ เพื่อหวังให้มีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมของตำบลบางสะแก และปลูกจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และต่อยอดให้ประชาชนในพื้นที่เป็นเจ้าของกองทุนฯ ร่วมสมทบเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนในอนาคต

S__8093831 จากนั้น คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตในพื้นที่ตำบลบางสะแก S__8093830