‘มาร์ค’ ยื่น! จดหมายถึง กรธ. ย้ำจุดยืนปชป. “หนุนปฏิรูปการเมือง”

25 มิ.ย. 2560 | 08:01 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

25 มิ.ย.60 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เพื่อประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง

S__8773901 จดหมายเปิดผนึกถึงกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพี่อประกอบการพิจารณากฎหมายพรรคการเมือง

ที่มา

จดหมายเปิดผนึกถึงกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำขึ้นสืบเนื่องจากมีการจัดท าพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอยู่ระหว่าง ขั้นตอนที่ส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าสมควรที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นมาพิจารณา ทบทวนร่างกฎหมายนี้หรือไม่  ท่ามกลางการถกเถียงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ประกอบกับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนล่าสุดของสวนดุสิตโพล บ่งบอกว่าคนจำนวนมากยังมีความ เข้าใจในประเด็นดังกล่าวน้อยถึงค่อนข้างน้อย  นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้เรียกร้องให้ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว ให้ข้อมูลและความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดทำกฎหมายฉบับนี้ต่อไป  ผมจึงขอนำเสนอประเด็นที่เห็นว่ามีความสำคัญต่อการพิจารณาของผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1363843627-o-1-768x513 หลักการ

พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนและสมาชิกพรรคการเมืองในการ บริหารพรรคการเมืองตามเจตนารมณ์ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๕ ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพ ในการร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขตามที่กฎหมายบัญญัติ

กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมืองซึ่งต้องกำหนดให้เป็นไปโดย เปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางให้การกำหนดนโยบายและการส่งผู้สมัคร รับเลือกตั้ง...."

การมีบทบัญญัติให้มีการจัดท าการลงคะแนนเสียงเบื้องต้น (Primary Vote) จึงถือเป็นเจตนาดีของผู้ร่างกฎหมายที่ จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรานี้

อย่างไรก็ดี หากศึกษาจากประสบการณ์ในต่างประเทศของประเทศที่ใช้การเมืองการปกครองในระบบรัฐสภา จะพบว่าการใช้กลไกดังกล่าวมีอยู่ค่อนข้างจำกัดด้วยเหตุผลที่ส าคัญสองประการ ประการแรก ความไม่แน่นอน ของการมีการเลือกตั้งทั่วไปหรือการเลือกตั้งซ่อมซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายในระยะเวลาค่อนข้างสั้น ทำให้ความ พร้อมในการจัดการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นซึ่งต้องมีกระบวนการจัดการและการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายตั้งแต่ ผู้สมัครจนถึงผู้เลือกตั้ง มีเวลาเพียงพอให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง มีข้อจำกัดอย่างมาก

ประการที่สอง กลไกการทำงานของระบบรัฐสภาต้องอาศัยพรรคการเมืองเป็นสถาบันในการรวบรวมผู้มีความ คิดเห็นหรืออุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ดำเนินงานในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมี เสถียรภาพของการทำงานของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล ต่างจากระบบแยกอำนาจเด็ดขาดหรือระบบประธานาธิบดี ที่ฝ่ายบริหารไม่สามารถยุบสภาและรัฐสภาไม่สามารถแต่งตั้งหรือล้มรัฐบาลได้ พรรคการเมืองโดยคณะ กรรมการบริหารพรรคในประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาจึงยังมีความจ าเป็นในการที่จะต้องมีดุลพินิจและอ านาจใน การสรรหาบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานทางการเมือง ในระดับหนึ่ง เราจึงเห็นว่าความคุ้นเคยกับระบบการ ลงคะแนนเบื้องต้นมาจากการเมืองในสหรัฐอเมริกาที่กระบวนการเลือกตั้งใช้เวลายาวนานเป็นปีและพรรคการเมือง ในสภา สองพรรคมีลักษณะของการเป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ เนื่องจากไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล    การกำหนดบทบัญญัติในกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างของการปกครองไทยในภาพรวมด้วย

แนวทางที่เหมาะสมในการจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกผู้สมัครเพื่อให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจึงควรหาทางให้สมาชิกพรรคจำนวนมากพอสมควรมาร่วมลงคะแนน แต่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะให้คณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณากลั่นกรองและใช้ดุลพินิจได้อย่างเหมาะสม

สภาพปัจจุบัน ประสบการณ์ และปัญหาของบทบัญญัติในกฎหมายใหม่

ในข้อเท็จจริงกฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีบทบัญญัติที่พยายามส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคการเมืองอยู่แล้ว โดยกำหนดให้พรรคการเมืองมีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรวมถึง คณะกรรมการนโยบายที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง การสรรหาผู้สมัครที่ คณะกรรมการสรรหากลั่นกรองก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคก็ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากสาขา พรรคการเมืองเสียก่อน ทั้งในระบบเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อ

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองที่ยึดถือหลักการนี้มาตลอดและพยายามเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรค การเมืองและสาขาพรรคการเมืองมาโดยลำดับ จึงเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ปัจจุบันมีสาขาพรรคทั่วประเทศเกือบ ๒๐๐ สาขา โดยมีคณะกรรมการบริหารสาขาพรรคที่ต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกพรรคในเขตพื้นที่นั้น (ขณะที่ในกฎหมายใหม่การได้มาซึ่งประธานและคณะกรรมการบริหารสาขาพรรคไม่ได้ถูกก าหนดให้มาจากการ เลือกตั้ง) ประธานสาขาพรรคมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค อย่างเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน คณะกรรมการบริหารพรรคและคณะกรรมการสรรหาก็ดำเนินการตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่การดำเนินการตามแนวทางนี้มีภาระและต้นทุนสูงมากท าให้พรรค การเมืองอื่นไม่เห็นประโยชน์ในการที่จะดำเนินการตามแนวทางนี้ แต่สนใจที่จะทุ่มเทในเรื่องของการชนะการ เลือกตั้งและการควบคุมสมาชิกพรรคมากกว่า จากประสบการณ์ตรงนี้ พอจะประมวลปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ดังนี้

๑. การจะมีฐานสมาชิกที่กว้างขวางยังเป็นเรื่องยาก แม้จะได้รับสิทธิในการมีส่วนร่วมต่างๆ แต่ประชาชน จำนวนมากมีความกังวลกับการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพราะมักจะถูกตราว่าสูญเสียความเป็นกลาง ถูกกีดกันออกจากการมีส่วนร่วมหรือดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งตามกฎหมายและในความเป็นจริงทางสังคม และเมื่อเกิดปัญหาพรรคการเมืองระดมสมาชิกเพื่อหวังเงินตอบแทนจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองก็ ทำให้เกิดการเข้มงวดกวดขันในขั้นตอนของการรับสมาชิก เช่น ต้องมีการพิมพ์ลายนิ้วมือทำให้เกิดความ ไม่สะดวก การเพิ่มข้อกำหนดให้สมาชิกพรรคจ่ายเงินค่าบำรุงพรรคในกฎหมายใหม่จะยิ่งทำให้การระดม สมาชิกพรรคการเมืองทำได้ยากขึ้น

เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๕๕๐ พรรคประชาธิปัตย์เคยพยายามรณรงค์ให้สมาชิกพรรคจ่ายเงินค่าบำรุงพรรค แต่ได้รับการตอบสนองน้อยมากโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่มองว่าเป็นการสร้างภาระมากเกินไป        แม้พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องแต่จำนวนสมาชิกพรรคที่พร้อมจะจ่ายเงินค่า บำรุงพรรคเพียงปีละ ๒๐ บาทยังมีสัดส่วนน้อยมาก  การจะขยายฐานสมาชิกพรรคการเมืองจึงต้องอาศัย ทั้งเวลาและการรณรงค์เปลี่ยนค่านิยมในสังคม

๒. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาพรรคและสำนักงานใหญ่ของพรรคมีจ านวนมากแต่ปรากฏว่า กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองรวมทั้งกฎหมายใหม่ กลับมีข้อจำกัดมากขึ้นในการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนา พรรคการเมืองเพื่อมาสนับสนุนงานบริหารของสำนักงานและสาขา จึงมีผลทำให้แรงจูงใจของพรรค การเมืองในการดำเนินการในลักษณะนี้ยิ่งมีน้อยลงเพราะคงต้องการที่จะนำค่าใช้จ่ายไปจัดสรรในงาน ทางด้านการเมืองอื่นมากกว่า ๓. ด้วยสภาพข้อจำกัดข้างต้น ความเข้มแข็งของสาขาพรรคการเมืองต่างๆ จึงต่างกันพอสมควร สาขาที่ เข้มแข็งมีความพร้อมก็จะสามารถทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ได้เป็นอย่างดี แต่หากพื้นที่ใดยังไม่มีความ แข็งแกร่งก็จะมีสาขาพรรคที่อ่อนแอหรือถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้บริหารสาขา พรรคนั้นให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้การสนับสนุนคนนอก คนใหม่จากวงการอื่นๆ โดยเฉพาะ    คนรุ่นใหม่เข้ามาสู่การเมืองยากขึ้น ที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารพรรคจึงต้องใช้ดุลพินิจในบางครั้ง ที่จะไม่เห็นชอบกับการตัดสินใจของสาขาพรรค ในบางกรณีที่มีบุคคลที่สามารถระดมความสนับสนุน ในพื้นที่ได้ แม้จะมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งสูง แต่กรรมการบริหารพรรคก็เคยปฏิเสธด้วยเห็นว่า บุคคลเหล่านั้นยังไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าจะสามารถดำเนินงานตามอุดมการณ์ของพรรคได้ อย่างชัดเจน ๔. อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ในความพยายามที่จะปฏิรูปพรรคให้สมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น ได้มีการนเอาความคิดที่จะให้มีการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกผู้สมัครบัตรทดลองโดยได้ ดำเนินการที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ด้วยทรัพยากรที่จำกัดพรรคจึงจัดให้มีการลงคะแนนได้โดย

การประชุม ณ จุดเดียวทั้งจังหวัด ผลที่ออกมาจึงพบว่าผู้ที่มาใช้สิทธิ์และผู้ที่ได้รับชัยชนะคะแนน เสียงจำนวนค่อนข้างน้อย โดยกลับเป็นการสะท้อนความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะระดมคน ใกล้ชิดของตัวเองให้มาลงคะแนนได้มากกว่า พรรคจึงยังไม่พอใจต่อผลการทดลองที่เกิดขึ้น

ที่ล าดับมาทั้งหมด มิได้ต้องการจะบอกว่าไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดที่จะมีสมาชิกพรรคการเมืองที่ชำระเงิน ค่าบำรุงพรรคหรือการมีระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้น  เพียงแต่ประสบการณ์เหล่านี้บ่งบอกว่าการจะทำให้ การมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคการเมืองมีคุณค่าตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายนั้น ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมด้วย พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีประวัติยาวนาน ฐานสมาชิกที่ค่อนข้าง กว้างคงมีความพร้อมมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ ในการที่จะดำเนินการในแนวทางนี้ แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดมากมาย พรรคการเมืองอื่นตลอดจนพรรคการเมืองใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นจะต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรค เหล่านี้อย่างรุนแรงกว่ามากนัก

สิ่งที่มองเห็นก็คือหากกฎหมายที่ร่างอยู่มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็ต้องปฏิบัติไปตามบทบัญญัติตาม ตัวอักษร แต่ความคาดหวังว่าจะทำให้ประชาชนและสมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ พรรคการเมืองสามารถคัดบุคคลที่มีคุณภาพอย่างที่ผู้ร่างต้องการก็คงจะไม่เกิดขึ้น ในกรณีของพรรคการเมือง เก่า ฐานสมาชิกที่มีอยู่หากอนุญาตให้สมาชิกเดิมที่แม้จะยังไม่ชำระเงินค่าบำรุงมีสิทธิ์มาลงคะแนนได้ก็คงช่วยให้มี ฐานผู้เลือกตั้งที่กว้างขวางระดับหนึ่ง แต่แม้กระนั้นก็คาดการณ์ได้ว่าในสภาพที่ให้พรรคการเมืองรับผิดชอบภาระใน การจัดการลงคะแนนเสียงทั้งหมดการจัดให้มีการลงคะแนนก็คงเกิดขึ้นในจุดเดียว ในแต่ละจังหวัด ทำให้คาดได้ว่า จะมีคนที่พร้อมจะมาใช้สิทธิ์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในอำเภอหรือพื้นที่ที่ห่างไกลซึ่งทำให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบเป็นอย่างมากในการคัดเลือกผู้สมัคร ในกรณีที่ให้เฉพาะสมาชิกพรรคการเมืองที่ชำระค่าบำรุงมีสิทธิ์ลงคะแนน คาดหมายได้ว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์จะมีน้อยมาก ผู้ได้รับการคัดเลือกตามระบบนี้อาจจะมี คะแนนอยู่ประมาณหลักร้อยหรือน้อยกว่านั้นเท่านั้น ไม่ใช่หลักพันหรือหลักหมื่น เหมือนที่เราเห็นใน ต่างประเทศตามที่เราคาดหวัง ซึ่งไม่น่าจะเป็นระบบการกลั่นกรองคัดเลือกผู้สมัครที่ดีกว่าการใช้คณะกรรมการ บริหารพรรคที่มาจากการเลือกตั้งจากฐานที่กว้างขวางกว่าในที่ประชุมใหญ่

ขอย้ำว่า หากจะบังคับพรรคการเมืองให้ด าเนินการตามกฎหมาย พรรคการเมืองต่างๆ ก็สามารถทำได้ แต่ที่ ท้วงติงทั้งหมดเพราะสภาพปัจจุบันและกฎหมายยังไม่เอื้ออำนวยให้การด าเนินการตามกฎหมายบรรลุตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและของผู้ร่างกฎหมายได้อย่างแท้จริง

ปัญหาความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

การจะทบทวนร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีประเด็นว่า กฎหมายนั้นมีความขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในกรณีนี้จะขอยกตัวอย่างสามประเด็นที่เห็นว่าการบังคับใช้ กฎหมายดังกล่าวอาจจะแย้งกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

๑. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งโดยมีเจตนารมณ์สำคัญคือต้องการให้ ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย ผู้สนับสนุน ศรัทธาหรือนิยมพรรคการเมืองใดในพื้นที่ซึ่งพรรคการเมืองนั้น ไม่ประสบความสำเร็จในการชนะการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็ยังสามารถไปลงคะแนนให้แก่ พรรคการเมืองนั้นได้โดยคะแนนดังกล่าวจะถูกน าไปรวมคำนวณเพื่อจัดสรรจ านวนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในสภา แต่บทบัญญัติตามกฎหมายพรรคการเมืองในขณะนี้กำลังมีการปิดกั้นพรรคการเมืองซึ่ง แม้จะมีผู้พร้อมจะสนับสนุนลงคะแนนให้ในเขตเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรค หรือแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดมิให้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งได้จึงสวนทางกับ เจตนารมณ์ของการออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ๒. การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ มีเจตนารมณ์ที่จะเปิดโอกาส ให้บุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งขาดทักษะในการหาเสียงแบบเดียวกับการลงสมัครในเขตเลือกตั้งสามารถมีโอกาส มาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่ต้องการบุคลากรจ านวนหนึ่ง โดยเฉพาะจากสาขาอาชีพที่หลากหลายแต่ขาดประสบการณ์ทางการเมือง สามารถมาสมัครรับเลือกตั้งใน ระบบบัญชีรายชื่อได้ แต่การจะดึงบุคคลเหล่านี้เข้ามาได้ก็ต้องมีหลักประกันในเรื่องของการจัดลำดับใน บัญชีรายชื่อ การที่กฎหมายใหม่ให้การจัดลำดับบัญชีรายชื่อเป็นเรื่องของการลงคะแนนของสมาชิก ที่มาใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนเบื้องต้นและมีสิทธิ์เลือกได้เพียง ๑๕ รายชื่อจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อ การที่จะน าคนใหม่ที่หลากหลายเข้ามาสู่การเมืองในระบบนี้ นอกจากนั้น ระบบบัญชีรายชื่อยังต้องการ เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสร้างความสมดุลในแง่ความหลากหลายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มากขึ้น โดยมีบทบัญญัติให้คณะกรรมการบริหารพรรคคำนึงถึงความหลากหลายของผู้สมัคร        รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อให้กระจายไปตามภาค หรือให้ค านึงถึงสัดส่วน หญิงชาย แต่การนำเอาระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นมาจากลำดับผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อ จะท าให้ไม่สามารถ มีการใช้ดุลพินิจเพื่อให้เกิดความหลากหลายเท่าเทียมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ๓. การดำเนินการตามกฎหมายพรรคการเมืองในการลงคะแนนเบื้องต้นย่อมมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการ ร้องเรียนถึงความชอบของความถูกต้องของกระบวนการ ความสุจริตเที่ยงธรรมในการลงคะแนน    แต่ขณะนี้ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถมีบทบัญญัติรองรับอย่างชัดเจนว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรในกรณีเหล่านี้ซึ่งอาจน าไปสู่การตัดสิทธิ์ของผู้สมัครหรือของพรรคการเมืองที่ไม่ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

เหตุผลเหล่านี้น่าจะเพียงพอที่จะให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขให้ความพยายามที่ จะน าเอาระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นมาใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญ

ข้อเสนอ

หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมแล้วทางออกเกี่ยวกับกฎหมายพรรคการเมืองที่เหมาะสมและสมควรได้รับการ พิจารณามีหลายทาง เช่น

๑. การให้ความสำคัญเบื้องต้นกับการที่พรรคการเมืองจะต้องมีฐานสมาชิกกว้างขวาง  เพื่อสามารถ มีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์ได้โดยอาจจะต้องทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการชำระเงินค่าบำรุงพรรคหรือมีบทเฉพาะกาล ทอดเวลาการบังคับใช้ในเรื่องการชำระเงินค่าบำรุงหรือการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นหรือ ทั้งสองเรื่อง ๒. การเน้นบทบัญญัติให้การสนับสนุนการมีสมาชิกพรรคการเมืองและการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองโดย รัฐต้องพร้อมที่จะจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองในเรื่องของการบริหารงานของพรรค การเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมากเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง และบังคับให้การได้มาซึ่งผู้บริหาร พรรคจะต้องมีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยจากฐานราก เพื่อมิให้เกิดการครอบง าพรรคการเมือง จากคนจ านวนน้อย ๓. หากยืนยันให้มีการจัดการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นก็ควรให้ กกต.และรัฐให้การสนับสนุนตลอดจนอ านวย ความสะดวกในเรื่องของหน่วยเลือกตั้งการดูแลจัดการการเลือกตั้งทั้งหมดเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิก พรรคการเมืองทั่วประเทศสามารถมาลงคะแนนได้อย่างสะดวก ๔. ในกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ไม่มากหรือในกรณีที่มีเหตุผลเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องของอุดมการณ์ ความซื่อสัตย์สุจริตความรู้ความสามารถ ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจนให้อำนาจคณะกรรมการสรรหา ผู้สมัครหรือคณะกรรมการบริหารพรรคกลั่นกรองตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสมได้ ๕. ยกเลิกการใช้ระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นในการจัดลำดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชี รายชื่อแต่ควรกำหนดให้บัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีความหลากหลายในเรื่องภาพสัดส่วนหญิงชาย เป็นต้น

ข้อคิดข้อมูลทั้งหมดนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาความเหมาะสมของกฎหมายพรรคการเมือง ที่จะบังคับใช้ต่อไป ขอยืนยันอีกครั้งว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนให้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้ประชาชน และสมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของพรรคการเมืองมากขึ้นและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ที่จะออกมาบังคับใช้  ความเห็นที่แย้งกับผู้ร่างกฎหมายในปัจจุบัน อยู่บนพื้นฐานของความห่วงใยว่าการไม่ คำนึงถึงความเป็นจริงในสังคมจะท าให้ผลของการบังคับใช้กฎหมาย ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และของผู้ร่างกฎหมายนั้นเอง

อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐