ทีเอ็มบีประเมินอัดฉีด EEC หนุน SME โตเพิ่มปีละ 6 หมื่นล้าน

23 มิ.ย. 2560 | 13:11 น.
ทีเอ็มบี ประเมินอัดฉีด EEC ดันเศรษฐกิจภาคตะวันออกโตขึ้นจากปกติอีก1.7% ต่อปี สร้างโอกาสให้ SME เพิ่มรายได้ปีละ 6 หมื่นล้าน คาด 70% ตกสู่มือผู้ประกอบการรายย่อยที่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและต่อยอด S-Curve เดิม

logo-analytics ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยทีเอ็มบี ได้ประเมินผลแผนการลงทุนผ่านตารางปัจจัยการผลิต (I-O table ปี 2553) ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจของภาคตะวันออก “ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)” เปรียบเสมือน Gateway สู่คาบสมุทรอินโดจีน เมื่อรัฐทยอยอัดฉีดเม็ดเงินพัฒนาถนน รถไฟ ท่าเรือ และสนามบิน เพื่อส่งให้ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นศูนย์กลางการขนส่ง กระจายสินค้า ท่องเที่ยว และที่ตั้งอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) คว้าโอกาสเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตและเติบโตตามอุตสาหกรรมเป้าหมายได้สำเร็จ จะดันให้รายได้เอสเอ็มอีเติบดตเป็น 1.08ล้านล้านบาทในปี2561จากปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 1.02 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งธุรกิจเกี่ยวกับยสนยนต์จะเป็นเอสเอ็มอีดาวเด่นที่ได้รับอานิสงค์สูงสุด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี  มองว่ากลุ่มนี้จะมีส่วนแบ่งจากรายได้ส่วนเพิ่มถึง 11% รองลงมาคือธุรกิจค้าปลีกเครื่องอุปโภค/บริโภค ได้ส่วนแบ่ง  9% ตามด้วย 3 ประเภทธุรกิจที่ได้รับส่วนแบ่งเท่าๆ กันที่ 8% คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเหล็ก ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งงานระบบ และธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกล อันดับต่อมาคือ ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างได้ส่วนแบ่ง 7% ต่อด้วยธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มีส่วนแบ่ง 6% และสุดท้ายได้ส่วนแบ่งที่ 4% เท่าๆ กันคือ งานบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์และอสังหาริมทรัพย์ โดยธุรกิจ 10 ประเภทที่กล่าวข้างต้นมีส่วนแบ่งรวมกันกว่า  70% ของรายได้ส่วนเพิ่มที่จะส่งถึงมือเอสเอ็มอี

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าแม้มีโอกาสปูพรมแดงมาให้ แต่ปัญหาสำคัญยังคงอยู่ที่การปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญ ช่วยเหลือ และติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องการนำนวัตกรรม การตลาด Online E-Commerce และ E-Payment มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายเล็ก ยังถูกรุมเร้าจากปัจจัยภายในและภายนอก

เช่น การมีเงินทุนจำกัดหรือเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคฟื้นตัวช้าและกระจุกอยู่บางพื้นที่ ผู้สนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายยัง  ไม่มีกรอบระยะเวลาการลงทุนที่ชัดเจน กดดันให้ผลิตภัณฑ์และการดำเนินธุรกิจยังอยู่กับที่ด้วยวิธีการเดิมๆ ซึ่งหากเหตุการณ์และความกังวลนี้ยังดำเนินต่อไปในระยะยาว เมื่อผนวกเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตไปอย่างรวดเร็ว  ปัญหาความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ การรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขันได้ เพราะทัศนคติเชิงบวก ความไม่ยอมแพ้ ไม่นิ่งนอนใจและพยายามปรับตัวให้สินค้าตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงใจอย่างรวดเร็วนั้นจะมีผลสัมฤทธิ์กว่าและเป็นเครื่องมือที่ดียิ่งยวดที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีรอดพ้นวิกฤตอย่างถาวร ยังประโยชน์ให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางได้สำเร็จในที่สุด 06_AW_info Graphic_analytic_800x800_px