ตลาดรถปิคอัพ-รถเพื่อการพาณิชย์ ยังหดตัว

22 มิ.ย. 2560 | 06:50 น.
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะได้รับผลบวกจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมมีการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากความกังวลต่อความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ เป็นปัจจัยที่ทำให้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทำให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนยังอยู่ในสภาวะทรงตัว

MOTOR EXPO 04 (1) ขณะที่ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม มีปริมาณการขาย 66,422 คัน เพิ่มขึ้น 0.6% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 1.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ลูกค้าที่จองรถตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาทยอยได้รับรถเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่สถานการณ์การเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนสูง  ตลอดจนราคาพืชผลทางการเกษตรที่มีการปรับตัวลดลงและทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้กำลังซื้อโดยรวมในเดือนนี้ยังไม่เกิดการขยายตัวมากนัก

ด้านตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 340,179 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 27.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถต่างๆที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นปี และสภาพเศรษฐกิจของไทยที่อยู่ในช่วงของการฟื้นตัว

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2560

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 66,422 คัน เพิ่มขึ้น 0.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า          17,926 คัน        ลดลง     19.6%             ส่วนแบ่งตลาด 27.0 %

อันดับที่ 2 อีซูซุ              12,156 คัน        ลดลง      4.7%              ส่วนแบ่งตลาด 18.3%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า           10,011 คัน        เพิ่มขึ้น    2.0%              ส่วนแบ่งตลาด 15.1%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 26,151 คัน เพิ่มขึ้น 4.4%

อันดับที่ 1 ฮอนด้า           7,088 คัน         ลดลง     1.2%               ส่วนแบ่งตลาด  27.1%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          6,923 คัน         ลดลง   22.2%               ส่วนแบ่งตลาด  26.5%

อันดับที่ 3 นิสสัน            2,960 คัน         เพิ่มขึ้น 32.7%               ส่วนแบ่งตลาด  11.3%

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  32,317 คัน ลดลง 3.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               11,064 คัน        ลดลง       5.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          10,400 คัน        ลดลง     19.0%             ส่วนแบ่งตลาด 32.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด            3,946 คัน          เพิ่มขึ้น    44.1%            ส่วนแบ่งตลาด 12.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,629 คัน

โตโยต้า 1,548 คัน – มิตซูบิชิ 1,239 คัน – อีซูซุ 1,153 คัน – ฟอร์ด 614 คัน – เชฟโรเลต 75 คัน

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,688 คัน ลดลง 4.2%

อันดับที่ 1 อีซูซุ                 9,911 คัน        ลดลง        6.0%            ส่วนแบ่งตลาด 35.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า            8,852 คัน        ลดลง      19.6%            ส่วนแบ่งตลาด 32.0%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด            3,332 คัน          เพิ่มขึ้น    46.2%            ส่วนแบ่งตลาด 12.0%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,271 คัน ลดลง 1.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               12,156 คัน        ลดลง       4.7% ส่วนแบ่งตลาด  30.2%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          11,003 คัน        ลดลง     18.0% ส่วนแบ่งตลาด  27.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด             4,187 คัน         เพิ่มขึ้น   44.0% ส่วนแบ่งตลาด  10.4%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2560

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 340,179 คัน เพิ่มขึ้น 12.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า          94,529 คัน        เพิ่มขึ้น     7.8%            ส่วนแบ่งตลาด 27.8%

อันดับที่ 2 อีซูซุ              65,970 คัน        เพิ่มขึ้น     7.9%             ส่วนแบ่งตลาด 19.4%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า           48,550 คัน        เพิ่มขึ้น    10.5%             ส่วนแบ่งตลาด 14.3%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 132,056 คัน เพิ่มขึ้น 27.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า          37,703 คัน       เพิ่มขึ้น   35.4%             ส่วนแบ่งตลาด 28.6%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า           36,962 คัน       เพิ่มขึ้น   18.2%             ส่วนแบ่งตลาด 28.0%

อันดับที่ 3 มาสด้า           14,010 คัน        เพิ่มขึ้น   22.4%             ส่วนแบ่งตลาด 10.6%

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  169,975 คัน เพิ่มขึ้น 5.9%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               60,389 คัน        เพิ่มขึ้น       8.3%           ส่วนแบ่งตลาด 35.5%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          53,293 คัน        ลดลง        6.2%              ส่วนแบ่งตลาด 31.4%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด             19,745 คัน        เพิ่มขึ้น    49.4%               ส่วนแบ่งตลาด 11.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 23,700 คัน

โตโยต้า 9,190 คัน – มิตซูบิชิ 6,065 คัน – อีซูซุ 5,135 คัน – ฟอร์ด 2,857 คัน – เชฟโรเลต 453 คัน

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 146,275 คัน เพิ่มขึ้น 9.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               55,254 คัน        เพิ่มขึ้น      4.7%            ส่วนแบ่งตลาด 37.8%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          44,103 คัน        ลดลง        0.3%            ส่วนแบ่งตลาด 30.2%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด             16,888 คัน        เพิ่มขึ้น    53.3%            ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 208,123 คัน เพิ่มขึ้น 4.7%

อันดับที่ 1 อีซูซุ               65,970 คัน        เพิ่มขึ้น        7.9%          ส่วนแบ่งตลาด 31.7%

อันดับที่ 2 โตโยต้า          56,826 คัน        ลดลง         5.1%           ส่วนแบ่งตลาด 27.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด             20,715 คัน        เพิ่มขึ้น     49.1%           ส่วนแบ่งตลาด 10.0%