หอการค้าระนองช็อกหลุดผัง กนพ.

23 มิ.ย. 2560 | 20:30 น.
หอการค้าระนอง วอนขอนายกฯนำด่านชายแดนระนอง-เกาะสอง เข้าพิจารณาเพื่อยกระดับ หลัง กนพ.ไม่ส่งเข้าพิจารณาเห็นชอบเพิ่มประสิทธิภาพด่าน CIQ ชี้เป็นด่านสำคัญที่เป็นช่องทางเข้าออกสำคัญทางตอนใต้กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังมีมูลค่าการค้าชายแดนสูงในแต่ละปี

นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้า จ.ระนอง เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ไม่นำด่านชายแดนระนอง-เกาะสองเห็นชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด่าน CIQ 15 ด่านใน 10 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ทำให้ภาคเอกชนใน จ.ระนองเป็นห่วงที่การขับเคลื่อนแผนพัฒนาต่างๆเนื่องจากปัจจุบันทางเมียนมาได้เพิ่มประสิทธิภาพในด่านชายแดน จ.ระนอง โดยให้สามารถเข้า-ออกประเทศได้ ในขณะที่ฝั่งไทยยังล้าหลังอยู่มากซึ่งหากไม่ก้าวทันเพื่อนบ้านก็จะทำให้การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวขยายตัวได้ยากลำบาก จึงอยากที่จะร้องขอไปยังท่านนายกรัฐมนตรีว่าให้ช่วยดูแลด่านชายแดนด้านจ.ระนอง-เกาะสองด้วยเพราะเชื่อว่าเป็นด่านชายแดนที่สำคัญไม่น่อยกว่าด่านอื่นๆทั้งยังมีผลประโยชน์มหาศาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ครั้งที่ 1/2560 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยนายกฯ เน้นทุกหน่วยเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจและร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าตามแผนงานที่รัฐบาลวางไว้ และให้ดูแลสิทธิประโยชน์ผู้เข้ามาประกอบการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมทุกฝ่าย

[caption id="attachment_130594" align="aligncenter" width="503"] ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)[/caption]

โดย นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการการเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกของด่าน CIQ ด่านศุลกากรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ จำนวน 15 ด่าน เพื่อเชื่อมโยงการและให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นประตูเข้า-ออกทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการดึงดูดการลงทุนมาสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเศรษฐกิจได้มากขึ้น ประกอบด้วย

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ได้แก่ ด่านศุลกากรแม่สอด จ.ตาก 2 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ได้แก่ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด 3 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร ได้แก่ ด่านศุลกากรดุกดาหาร จ.มุกดาหาร 4 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ได้แก่ ด่านศุลกากรหนองคาย จ.หนองคาย 5 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ได้แก่ ด่านศุลกากรอรัญประเทศ จ.สระแก้ว 6 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ได้แก่ ด่านศุลกากรสะเดา และด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ จ.สงขลา 7 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ได้แก่ ด่านศุลกากรแม่สาย ด่านศุลกากรเชียงแสน และด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงราย 8 .เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ได้แก่ ด่านศุลกากรนครพนม จ.นครพนม 9. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ได้แด่ ด่านศุลกากรสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 10. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส ได้แก่ ด่านศุลกากร สุไหงโก-ลก ด่านศุลกากรตากใบ และ ด่านศุลกากรบูเก๊ะตา จ.นราธิวาส

[caption id="attachment_166138" align="aligncenter" width="503"] หอฯระนองช็อกหลุดผัง กนพ. หอฯระนองช็อกหลุดผัง กนพ.[/caption]

สำหรับความคืบหน้าของโครงการด่านศุลกากรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันได้รับอนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างปรับปรุงด่าน CIQ ประกอบด้วย ด่านพรมแดน, ด่านศุลกากร, อาคารบริการผู้โดยสาร, ลานตรวจสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างพื้นที่รองรับ พื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area : CCA) เพื่อตรวจสินค้าร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ( GMS-EC)

ส่วนมาตรการส่งเสริมประสิทธิภาพด่านศุลกากร มีดังนี้ 1. แยกเส้นทางตรวจคนและสินค้า ได้แก่ สร้างลานตรวจสินค้า และอาคารบริการผู้โดยสาร แยกช่องทางจราจรขาเข้า–ขาออก 2. การใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการควบคุมทางศุลกากร ได้แก่ National Single Window (NSW) การควบคุมทางศุลกากรด้วยเครื่อง X-ray CCTV e-locked RFID ACTS การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ e-Payment Tax Mobile application 3. ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ ได้แก่ เขตปลอดอากร/คลังสินค้าทัณฑ์บน Border town

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560