บาทแข็งฉุดขาดทุน สินค้าเกษตรอ่วมสุด

23 มิ.ย. 2560 | 21:00 น.
เอกชนห่วงค่าบาทฉุดส่งออกไตรมาส 3-4 สินค้าเกษตรใช้วัตถุดิบในประเทศหนักสุดขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน นำทีมหารือแบงก์ชาติช่วยดูแล ขณะยางราคาร่วงจับตาส่งออกมิ.ย.มีสิทธิ์ติดลบ ด้านพาณิชย์ยังมั่นใจส่งออกยังมีโอกาสโต 5%

[caption id="attachment_146604" align="aligncenter" width="495"] กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์[/caption]

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากเงินบาทที่แข็งค่าระดับ33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯในเวลานี้และยังมีความผันผวนภาคเอกชนมีความกังวลจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ ซึ่งคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบจะเป็นสินค้าเกษตรที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักเช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มรวมถึงสินค้าเกษตรแปรรูปต่าง ๆ ที่ส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ได้รายรับกลับมาในรูปเงินบาทที่ลดลง จะฉุดราคาสินค้าเกษตรตกตํ่าลงไปอีก

“ค่าเงินบาทของไทยในขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับกลาง แข็งค่ากว่าเวียดนามแต่อ่อนค่ากว่ามาเลเซีย ถือเป็นการแข็งค่าที่สอดคล้องกับภูมิภาค ยังไม่กระทบกับการส่งออกของไทยมากนักแต่เอกชนเอ appP1-2-3075 งไม่อยากเห็นค่าเงินบาทแข็งค่าไปกว่านี้ โดยสรท.ได้เข้าหารือกับแบงก์ชาติ(20 มิ.ย. 60) เพื่อรับฟังข้อมูลและเสนอแนะถึงข้อกังวลของภาคเอกชนที่อยากให้แบงก์ชาติเข้ามาดูแลค่าเงิน”

อย่างไรก็ดี สรท.คงคาดการณ์ส่งออกของไทยทั้งปีนี้ขยายตัวที่ 3-3.5% โดยคาดการส่งออกเดือนพฤษภาคมน่าจะขยายได้ 5% ส่วนเดือนมิถุนายนน่าเป็นห่วงเพราะราคายางลดลงมากว่า 20% จะเป็นตัวฉุดให้การส่งออกในเดือนมิถุนายนอาจจะติดลบได้

ด้านนางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมยังคงเป้าส่งออกปีนี้ขยายตัวที่ 5% ปัจจัยบวกคือตลาดหลักยังมีความต้องการสินค้าต่อเนื่อง ส่วนประเด็นเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาราว 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไม่ได้สูงเกินกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค จึงเชื่อว่าส่งออกไทยในปีนี้ยังมีโอกาสและมีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูง ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องประเมินสถานการณ์และเตรียมรับมือด้วยเครื่องมือทางการเงิน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560