ดีไซน์‘สินค้าอัตลักษณ์ชุมชน’ ปั๊มรายได้รับไทยแลนด์4.0

24 มิ.ย. 2560 | 05:00 น.
การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชน ไม่เพียงเป็นการดึงเอาวิถีชิวิตท้องถิ่น มาเป็นเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสโลคัล เอ็กซ์พีเรียนซ์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเท่านั้น อีกโจทย์ที่ต้องตีให้แตก คือ จะทำอย่างไรให้ชาวบ้าน มีรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกได้เพิ่มขึ้น

mp32-3272-a1 เพราะถ้าสินค้าดี แต่ดีไซน์ไม่จูงใจชวนให้ซื้อ หรือซื้อไปแล้ว ก็ไม่รู้เอาไปทำอะไรได้นี่เองจึงทำให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)หรือ อพท. ผนึกความรว่ มมือกับกระทรวงวัฒนธรรม เดินเครื่องการพัฒนาสินค้าที่ระลึกของชุมชนให้มีความโดดเด่นดีไซน์สวยงามทันสมัย ราคาขายอยู่ระดับกลางถึงบน ตอบโจทย์การใช้งานเข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้เป้าหมายการเพิ่มรายได้เข้ากระเป๋าชุมชนอีกไม่น้ ยกว่า 10-20% จากการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

mp32-3272-a2 การนำร่อง “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ” เดินเครื่องการพัฒนา สินค้าที่ระลึก 8 ชิ้นใน 4 พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และนำเสนอขายผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่พิเศษ ได้แก่พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง โดยชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลนํ้าเชี่ยว,พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย- ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรโดยชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลท่าชัยศรีสัชนาลัย, พื้นที่พิเศษเลย โดยชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูป่าเปาะ (องค์กรสวัสดิการชุมชน) และพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน โดยชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลในเวียง

[caption id="attachment_165353" align="aligncenter" width="299"] พ.อ. ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท พ.อ. ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท[/caption]

พ.อ. ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เผยว่า เพื่อตอบรับนโยบายรัฐบาลเรื่องไทยแลนด์ 4.0 อพท. จึงมีแนวคิดนำนวัตกรรมมาร่วมผลิตสินค้าที่ระลึกจากชุมชนในพื้นที่พิเศษเบื้องต้นได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ โดยได้ประสานความร่วมมือจากศูนย์บันดาลไทยกระทรวงวัฒนธรรม นำรูปแบบสินค้าของที่ระลึกภายใต้ชื่อ “ฝากไทย” ที่ศูนย์บันดาลไทยออกแบบไว้แล้วนำไปใส่กับผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และนำ เสนอขายผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่พิเศษ

mp32-3272-a3 ที่ชุมชนตำบลนํ้าเชี่ยวจ.ตราด จะมีผลิต ภัณฑ์เสื้อยืดร่มกันยูวี ผ้าคลุมไหล่ จะมีแบบลายเส้น "สะพานวัดใจ" ขณะที่ชุมชนตำบลท่าชัย ศรีสัชนาลัยจะมีผลิตภัณฑ์เสื้อยืด เสื้อคอโปโล กระเป๋า ที่มีแบบลายเส้นกราฟิก “โบราณสถานวัดช้างล้อม” จังหวัดสุโขทัย ส่วนพื้นที่พิเศษเลย จะมีผลิตภัณฑ์เสื้อคอโปโล หมวกแก๊ป จะเป็นแบบภาพถ่าย “ภูหอ” ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลยและที่น่าน จะมีผลิตภัณฑ์เคสโทรศัพท์มือถือลายไม้ยิงเลเซอร์และแก้ว Tumbler สลักลวดลายแบบลายกราฟิก “ภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์”

mp32-3272-a4 ทั้งนี้อพท.จะเน้นสอนชุมชนตั้งแต่เริ่มกระบวนการถึงการจัดจำหน่าย การทำบัญชีและสต๊อกสินค้า ก่อนปล่อยมือให้ชุมชนดำเนินการด้วยตัวเอง โดยจะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาแบบครบวงจรใน 2 ส่วนสำคัญ คือคน และ ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่สอบถามความต้องการของชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ สอนการทำตลาด การขายและการดูแลสินค้าคงคลัง (สต๊อก)
อพท. จะประสานกับบริษัทผู้ผลิตให้แก่ชุมชนด้วย โดยสินค้าชุดแรก อพท. จะผลิตเป็นต้นแบบและเป็นสินค้าทุนประเดิมโดยมีเงื่อนไขว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ ต้องขายและเก็บรายได้ในนามชมรม ไม่ใช่เป็นของใครคนหนึ่ง และนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายไปบริหารจัดการในการผลิตและจัดจำหน่ายต่อไป ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้าจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ราว70% นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตั้งต้นให้ชุมชนไว้ใช้บริหารจัดการในการผลิต ขนส่ง และการจัดการสินค้าคงคลัง ส่วนที่ 2 ราว 30% เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายดั้งเดิม สำหรับการผลิตเพิ่มนั้น หากชุมชนสามารถหาผู้ผลิตได้ต้นทุนที่ตํ่ากว่าบริษัทที่ อพท. ประสานให้ ก็สามารถเลือกได้ แต่สินค้าที่ผลิตต้องได้คุณสมบัติและมาตรฐานตามที่ อพท. กำหนดไว้ในต้นแบบ

mp32-3272-a5 โครงการนี้ริเริ่มและต่อยอดจากโครงการในปีก่อนที่อพท.ได้ดำเนินการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่ปีนี้อพท.ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางเลือกให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายเพิ่มขึ้นนอกจากสินค้าชุมชน เพราะในการทำงานทำให้พบว่ามีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ไม่ซื้อสินค้าชุมชนแต่ต้องการสินค้าที่ร่วมสมัยขึ้น อพท. จึงต้องการปิดช่องว่างและเห็นโอกาสทางการตลาดที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ๆให้แก่ชุมชน เพื่อตอบความต้องการนักท่องเที่ยวและยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนได้เช่นกัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560