ฮอนด้าพัฒนาแหล่งน้ำ ตามแนวพระราชดำริ

24 มิ.ย. 2560 | 04:00 น.
ปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ที่กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพลังชุมชน สานต่อโครงการพัฒนาแหล่งนํ้าตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ลุ่มนํ้าปราจีนบุรี ด้วยการจัดกิจกรรมจิตอาสา ปรับปรุงฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งนํ้าบริเวณคลองยาง ตำบลดงขี้เหล็ก ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งนํ้าสาขาที่เชื่อมต่อคลองสายสำคัญในการอุปโภคบริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงด้วยการสร้างฝายกักเก็บนํ้า เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ป่าต้นนํ้าและรับมือปัญหานํ้าหลากในช่วงฤดูฝน และรับมือปัญหาภัยแล้ง ให้ประชาชนในชุมชนมีนํ้าเก็บไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี และยังใช้เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการนํ้าอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

mp32-3272-3 “พิทักษ์ พฤทธิสาริกร” กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่า กลุ่มบริษัทฮอนด้า ประเทศไทยฯ ได้จัดตั้ง “กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” ขึ้นเมื่อปี 2555 เพื่อเป็นกองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งนํ้าลุ่มนํ้าปราจีนบุรี เป็นโครงการสร้างฝายหินก่อ ฝายภูมิปัญญา บวชป่าและปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ป่าต้นนํ้า และชะลอการไหลของแหล่งนํ้าสาขาที่เชื่อมต่อคลองสายสำคัญด้านล่าง เพื่อให้ชุมชนดงขี้เหล็กมีนํ้าเก็บไว้ใช้เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งนํ้าตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯโดยคาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์กว่า 1,565 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน กว่า 450 ครัวเรือน

mp32-3272-2 กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยจำนวนกว่า 23 ล้านบาท ดำเนินการใน 3 พื้นที่ครอบคลุมตำบลนาแขมและเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยการสร้างฝายชะลอนํ้า ปลูกหญ้าแฝกและไม้ยืนต้น ตลอดจนบวชป่า คาดว่าหลังจากดำเนินการเสร็จในปี 2560 จะช่วยสำรอง นํ้าในพื้นที่ให้เกษตรกรมีนํ้าใช้ในช่วงฤดูแล้งและบรรเทาปัญหานํ้าท่วมหลาก รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์ 17,658 ไร่ เพิ่มปริมาณการกักเก็บนํ้ารวม 3.5 ล้านลบ.ม.ต่อปี มีชาวปราจีนบุรีได้รับประโยชน์กว่า 4,935 ครัวเรือน

มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ได้คัดเลือกตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 60 ชุมชนแกนนำ ขยายผลได้ 932 หมู่บ้าน ร่วมดำเนินงานเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรนํ้าชุมชน ตามแนวพระราชดําริ โดยใช้กรอบคิด กรอบงาน และหลักการทรงงาน เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ดิน นํ้า ป่า มาประยุกต์ใช้ อาทิ การพึ่งตนเอง การคิดให้เชื่อมโยงกัน การใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ การจัดงานให้เหมาะสมกับภูมิสังคม การลงมือทำและสร้างตัวอย่างความสำเร็จ จนขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น?ได้ เกิดเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรม ชาติจัดการนํ้าชุมชนตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งปัจจุบันมี 13 แห่ง กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560