ธปท.ลั่นเกาะติดทุกความเสี่ยง พร้อมกำกับดูแลระบบเสถียรภาพการเงิน

19 มิ.ย. 2560 | 09:06 น.
ธปท.เผยผลการประชุมร่วมกนง.-กนส. 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา เชื่อระบบการเงินไทยยังแข็งแกร่ง-พร้อมยกระดับการกำกับดูแลเสถียรภาพการเงิน ชี้จากเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน ยังเห็นการชำระหนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี-ภาคครัวเรือนด้อยลงอยู่ พร้อมจับตาพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่ยังมีอยู่ ย้ำเห็นสัญญาณชะลอตัวการออกตราสารไม่มีเรทติ้ง เหตุจากกระแสผิดนัดชำระหนี้บางกลุ่ม

BOT1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินของไทย โดยมีประเด็นสาคัญ ดังนี้ ปัจจุบันระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ สถาบันการเงินและธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ธุรกิจขนาดใหญ่มีฐานะการเงินดี สถานะด้านการเงินต่างประเทศมีความเข้มแข็งสะท้อนจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง หนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำและเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ทำให้สามารถรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการเงินต่างประเทศที่อาจจะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจไทยที่แม้จะมีสัญญาณการขยายตัวที่ชัดเจนขึ้น แต่ความสามารถ ในการชำระหนี้ของบางภาคธุรกิจ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และภาคครัวเรือนยังคงด้อยลง ส่วนหนึ่งสะท้อนการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง รวมถึงผลจากการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างและความสามารถทางการแข่งขันของ SMEs ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีอุปทานคงค้างสูง ในบางระดับราคาและบางพื้นที่ แต่ยังไม่พบสัญญาณเก็งกำไรอย่างกว้างขวางหรือภาวะฟองสบู่และเริ่มเห็นการชะลอตัวของการเปิดโครงการใหม่

ขณะที่ พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ยังคงมีอยู่ สะท้อนจากการลงทุน ในสินทรัพย์เสี่ยงของผู้ลงทุนสถาบันเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ลูกค้าคาดหวัง รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund) ที่ขยายตัวต่อเนื่อง และมีการกระจุกตัวของการลงทุนในบางประเทศแม้ว่าการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีอันดับ ความน่าเชื่อถือในเกณฑ์ดี (investment grade) นอกจากนี้การออกตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ไม่มีการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ (unrated bond) และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (accredited investor mutual fund) ที่เคยขยายตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาได้ชะลอตัวลงภายหลังการผิดนัดชาระหนี้ของผู้ออกตราสารบางราย โดยในส่วนนี้ สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การกากับดูแลการออกตราสารหนี้เพิ่มเติม โดยเน้นที่กระบวนการขายของตัวกลางและการให้ข้อมูลความเสี่ยงที่ครบถ้วน แก่นักลงทุน

ส่วนพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเงินรับฝากและหุ้นที่ระดมจากสมาชิก รวมถึงการกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนภายนอกที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าหน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้องจะได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การกากับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์ (prudential measures) ไปแล้วส่วนหนึ่ง ที่ประชุมยังเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเร่งยกระดับการกากับดูแลความเสี่ยงและธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินงานของสหกรณ์

“ในระยะต่อไป ระบบการเงินไทยยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากเศรษฐกิจการเงินโลกที่มีความ ไม่แน่นอนสูง รวมถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ทั่วถึง จึงต้องติดตามความเปราะบางจากความสามารถในการชำระหนี้ของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อาจมีแนวโน้มถดถอยลง รวมถึงการต่ออายุเงินกู้ยืม (roll-over) ของภาคธุรกิจที่ระดมทุนผ่านการกู้ยืมและออกตราสารหนี้ระยะสั้น”

ทั้งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้ร่วมกันประเมิน และติดตามความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรับปรุงและบังคับใช้เกณฑ์การกำกับดูแลให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ