ประชาชนคิดอย่างไร? กับ คำถาม 4 ข้อของ"พล.อ.ประยุทธ์"

17 มิ.ย. 2560 | 02:50 น.
วันที่ 12 มิ.ย. เป็นวันแรกที่เปิดให้ประชาชนเข้าตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นคำถาม 4 ข้อของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยประชาชนสามารถเดินทางไปได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมของทุกจังหวัดและศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นคำถามดังกล่าว  “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,206 คน ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนจะเดินทางไปตอบคำถามนายกรัฐมนตรี ที่ว่าการเขตหรือที่อำเภอหรือที่จังหวัด หรือไม่?

อันดับ 1    ไม่ไป  84.08%

เพราะ  ไม่ว่าง ต้องทำงาน ติดภารกิจ ไม่สะดวกในการเดินทาง ฯลฯ

อันดับ 2     ไป  15.92%

เพราะ  ต้องการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ฯลฯ

 

2. จงตอบคำถามนายกรัฐมนตรี 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

(คำถามที่ 1)  ประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่

อันดับ 1    ไม่ได้  54.73%

อันดับ 2    ได้   45.27%

 

(คำถามที่ 2)  หากไม่ได้จะทำอย่างไร?  

อันดับ 1   ให้เป็นไปตามกลไกทางการเมือง หรือรอจนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ 64.68%

อันดับ 2   ให้ยึดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และมีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม 62.69%

อันดับ 3   อดทนและทำใจยอมรับเสียงส่วนใหญ่ที่ประชาชนเลือกเข้ามา  37.20%

อันดับ 4   เป็นเรื่องของอนาคต แต่ต้องมีหลักเกณฑ์การเลือกตั้งที่ดี   33.36%

อันดับ 5   ควรสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน    31.74%

 

(คำถามที่ 3)  การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวไม่คำนึงถึง เรื่องอนาคตของประเทศและเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์ และการปฏิรูปหรือไม่นั้น ถูกต้องหรือไม่

อันดับ 1   ถูกต้อง  55.97%

อันดับ 2   ไม่ถูกต้อง  44.03%

 

(คำถามที่ 4) ประชาชนคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีกแล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร    

อันดับ 1  ไม่ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีก 74.10%

อันดับ 2  ไม่ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีก แต่หากเข้ามาได้อีกควรใช้กฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมดำเนินการ  41.53%

อันดับ 3  ควรให้โอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีก อาจมีการปรับปรุงตัว หรือพิจารณาจากผลงาน  27.34%

อันดับ 4  ไม่ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีก แต่หากเข้ามาได้อีกควรให้ประชาชน องค์กรอิสระ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ  26.12%

อันดับ 5  ไม่ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีก แต่หากเข้ามาได้อีกควรให้รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ ในขณะนั้นแก้ปัญหา หรือดำเนินการ  23.28%

60-2846