นักวิชาการแนะจับตาอินเดียอาจแซงหน้าจีน

15 มิ.ย. 2560 | 04:41 น.
มธ. ดึงนักวิชาการจัดเสวนา"ไม่มีความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” แนะคนไทยหยุดดูถูกประเทศ พร้อมจับตาอินเดียอาจพัฒนาแซงจีน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะรัฐศาสตร์ จัดเสวนา "ไม่มีความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ? : ทฤษฎี โลกปฏิบัติ และการวิพากษ์" ดึงนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงความเป็นไปของนานาประเทศ โดยในงานเสวนายังมีการพูดถึงมุมมองของภาวะเศรษฐกิจไทยว่าขณะนี้ยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังคงพัฒนาในอัตราที่ชะลอลงกว่าประเทศอินเดีย ที่ขณะนี้มีการขยายตัวของเศรษฐกิจปีละร้อยละ 5-15 โดยเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ขณะที่ประเทศไทยเองการมีความสัมพันธ์กับประเทศใดในชวงนี้ต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากแต่ละประเทศมีปัจจัยบวกและลบแตกต่างกันๆ แต่สิ่งที่ไม่อยากให้คนไทยกระทำคือการดูถูกกประเทศตัวเอง แม้จะเป็นการดูถูกเพื่ออยากให้ประเทศพัฒนามากกว่าที่เป็นอยู่ก็ตาม

[caption id="attachment_163116" align="aligncenter" width="335"] ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์[/caption]

ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กับหลายประเทศทั่วโลก ทั้งความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ หรือระหว่างภาคเอกชน ส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะในอนาคตสามารถคาดเดาได้ยากว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะแต่ละประเทศก็มีนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปตามผู้นำ หลายประเทศจากเคยมีความสัมพันธ์อันดี ก็กลับขัดแย้ง หรือบางประเทศก็อยู่ในกรณีตรงกันข้าม ดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำในการเรียนการสอน และการวิจัย ด้านการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงเล็งเห็นประโยชน์ในการจัดเสวนาในประเด็นนี้

[caption id="attachment_163118" align="aligncenter" width="335"] รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์[/caption]

โดยรองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา "ไม่มีความสมานฉันท์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ภายใต้หัวข้อ"ที่ตั้งของไทยในยุคบูรพาภิวัฒน์ ที่ตั้งการพัฒนาและการต่างประเทศ" ว่าไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันดับ 33 ของโลกและมีกำลังซื้อเป็นอันดับ 22 ของโลก แต่หากพูดถึงที่ตั้งในปัจจุบัน ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของไทยมีความเหมาะสมเพราะไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และหากมองจากตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจพบว่ากำลังพัฒนาไปอย่างแต่เนื่อง เเม้คนไทยหลายรายอาจจะยังดูถูกประเทศของตนแต่ก็คงเพราะต้องการให้เจริญมากกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งอยากให้ลดพฤติกรรมนี้ลง ไม่เช่นนั้นเราอาจจะพัฒนาได้น้อยกว่าจีนที่ตอนนี้เป็นประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจอันอับ 2 แต่คู่แข่งที่น่าจับตามองคือ อินเดียที่มีเศรษฐกิจขยายตัวปีละร้อยละ 5-15 และมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าจีนเพราะมีประชากรวัยทำงานมากกว่า จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญมากกว่าชาติตะวันตกอย่างเยอรมันและฝรั่งเศสที่มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีร้อยละ 70-80 ตามลำดับ ดังนั้นไทยเราควรมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศอย่างระมัดระวัง แต่ก็ควรมองปัจจัยภายในของหลายประแทศให้เป็นโอกาส อาทิ ญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยมากสุดร้อยละ 30 แต่ยังขาดแคลนด้านแรงงานเพราะมีอัตราส่วนวัยทำงานน้อยกว่าผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทองของผู้ปกครองที่ควรส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนภาษาญี่ปุ่นและทำงานในบริษัทญี่ปุ่นซึ่งให้ค่าตอบแทนสูงกว่า

[caption id="attachment_163121" align="aligncenter" width="503"] รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข[/caption]

 

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข หัวหน้าสาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและประชาชนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งของไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นๆ ส่วนจากความขัดแย้งกันของประเทศมหาอำนาจ อย่างการคว่ำบาตรการ์ตาของ 6 ประเทศตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากเพียงการคว่ำบาตรสัปดาห์เดียว ก็ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลง เพราะกาตาร์มีความจำเป็นต้องผลิตน้ำมันเพิ่มเพื่อชดเชยรายได้จากการถูกตัดความสัมพันธ์ ในขณะกลุ่มโอเปคก็ยังคงการผลิตน้ำมันอยู่ในระดับเดิม แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อ อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มายังไทยได้ ขณะเดียวกันจะได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบของไทยที่อาจได้รับ
พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวหนังสือแปล "ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: สาขาวิชาและความแตกต่างหลากหลาย" โดยศาสตราจารย์ ดร.กิตติระบุว่าหนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามของสาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มธ. ในการแปลตำราที่ดีและมีมาตรฐานระดับโลก ซึ่งผู้อ่านสามารถนำทฤษฎีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในโลกปัจจุบัน กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเมืองโลกและนโยบายต่างประเทศ โดยชี้ให้เห็นจุดเด่นและข้อจำกัดของทฤษฎีต่างๆ ซึ่งการหนังสือเล่มนี้นี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจหรืออธิบายปรากฏการณ์การเมืองระหว่างประเทศได้ดีมากยิ่งขึ้น