ITAP สวทช. จับมือพันธมิตร ยกระดับผู้ประกอบการผักและผลไม้ไทยสู่มาตรฐาน ThaiGAP

12 มิ.ย. 2560 | 14:19 น.
10-กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “มาตรฐาน ThaiGAP Primary ThaiGAP” 1

ITAP สวทช. ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมด้วยหอการค้าจันทบุรี และสหกรณ์การเกษตรท่าใหม่ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “มาตรฐาน ThaiGAP / Primary ThaiGAP” แก่ผู้ประกอบการผักและผลไม้ และกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออก

11-กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “มาตรฐาน ThaiGAP Primary ThaiGAP” 2

ดร.รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP กล่าวว่า การใช้มาตรฐาน ThaiGAP และ Primary ThaiGAP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิตพืชผักและผลไม้ไทย โดยในการยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ แบ่งได้ 3 ระดับ คือ ระดับแรก มาตรฐาน Primary ThaiGAP เป็น มาตรฐานระดับพื้นฐานสำหรับในประเทศ และระดับพื้นฐานโรงคัดบรรจุ

07-แปลงทุเรียนใน อ.นายายอาม จ.จันทบุรี 2

ทั้งนี้ ITAP สวทช. ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมด้วยหอการค้าจันทบุรี และสหกรณ์การเกษตรท่าใหม่ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “มาตรฐาน ThaiGAP / Primary ThaiGAP” แก่ผู้ประกอบการผักและผลไม้ และกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออก

09-แปลงทุเรียนใน อ.นายายอาม จ.จันทบุรี 4

โดยมีข้อกำหนดเน้นระบบความปลอดภัยในการผลิต ทำให้เกษตรเข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ได้แก่  1 การทำแผนการผลิต วันเก็บเกี่ยว และคาดการณ์ผลผลิต 2 การใช้น้ำในการเพาะปลูก 3 การใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย 4 การใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ 5 การเก็บเกี่ยวและจัดการหลังเก็บเกี่ยว และ 6 การบันทึกและการตามสอบ โดยมาตรฐานระดับพื้นฐานนี้จะช่วยให้เกิดระบบความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารในท้องถิ่น เกิดระบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน และรองรับตลาด ร้านอาหาร ภัตตาคารโรงพยาบาลและตลาดสดในท้องถิ่น เรียกได้ว่าเหมาะสำหรับกลุ่มตลาดขนาดเล็ก