สพฉ.ผุดหลักสูตรระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางยุทธวิธี

08 มิ.ย. 2560 | 08:51 น.
สพฉ.ผุดหลักสูตรระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางยุทธวิธี และ หลักสูตร Thai sim รองรับเหตุระเบิดในโรงพยาบาล เลขา สพฉ.ย้ำทุกโรงพยาบาลต้องกำหนดแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เชื่อมต่อกับระบบ 1669 พร้อมเตรียมฝึกอบรมหลักสูตรให้กับทุกรพ.หากได้รับการร้องขอ

ปัจจุบันประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยในรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะภัยก่อการร้ายซึ่งล่าสุดได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดขึ้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการลอบวางระเบิดถึงในโรงพยาบาล ล่าสุดเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “มาตรการการปฏิบัติตนของสถานพยาบาลเมื่อเกิดภาวะวิกฤต” ซึ่งจัดขึ้นโดยแพทยสมาคม ที่ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี

[caption id="attachment_159222" align="aligncenter" width="335"] เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา[/caption]

เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะได้กล่าวถึงแนวทางการระดมความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกรณีที่เกิดภัยก่อการร้ายในโรงพยาบาลว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ ก็ตามโรงพยาบาลจะต้องเตรียมตัวในการรับเหตุหรือเผชิญเหตุโดยในหลักการทางด้านการแพทย์ก็จะมีระบบ Hospital ICS หรือจะมีโมเดลของการฝึกปฏิบัติการตอบสนองทางการแพทย์ต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน Thai Medical Response to Major incident Simulation training (ThaiSim) ประกอบกันเป็นแผนฉุกเฉินของโรงพยาบาล ซึ่งตนเชื่อว่าโรงพยาบาลหลายแห่งจะคิดถึงการเตรียมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลแล้วต้องตั้งรับกับผู้ป่วยฉุกเฉินที่จะมีเป็นจำนวนมาก หรือเตรียมการรับมือแค่เหตุการณ์ไฟไหม้เท่านั้น หากแต่ปัจจุบันนี้โลกเราได้เปลี่ยนไปมากจึงอยากจะเชิญชวนให้ทุกโรงพยาบาลทำแผนฉุกเฉินให้รองรับได้กับภัยในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแผนฉุกเฉินรองรับการเกิดภัยพิบัติ  แผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่มนุษย์ทำซึ่งระเบิดนั้นเป็นหนึ่งในความรุนแรงที่มนุษย์ทำขึ้น ดังนั้นเราจึงมีการเขียนแผนและมีการซักซ้อมแผน และมีการซ้อมแผนทุกปีเพื่อลดความโกลาหลที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์จริง และที่สำคัญที่สุดคือทุกโรงพยาบาลจะต้องเตรียมการให้ระบบในการรองรับเหตุการณ์นั้นเชื่อมกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพราะเมื่อท่านเกิดเหตุท่านจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นคนอื่นที่จะเข้ามาช่วยเขาจะต้องรู้ว่าท่านมีแผนในการรองรับเหตุการณ์อย่างไร มีจุดนัดพบตรงไหน จุดเข้าจุดออกอย่างไรบ้าง ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่โรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องเตรียมการให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินให้ได้

[caption id="attachment_159223" align="aligncenter" width="503"] ตัวอย่างการฝึก Thai sim ตัวอย่างการฝึก Thai sim[/caption]

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนของสพฉ.ที่กำลังดำเนินการอยู่และจะช่วยให้โรงพยาบาลรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้เราเรียกว่าหลักสูตร Thailand tactical  ems หรือระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางยุทธวิธี ซึ่งสพฉ.จะร่วมกับกองทัพเรือ กองทัพบก กองทัพอากาศ ตำรวจ และส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพัฒนาหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉินทางยุทธวิธีที่เป็นระบบมากขึ้น  นอกจากนี้ สพฉ.ได้พัฒนารูปแบบเรื่องของการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินของสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ใช้ชื่อว่า Thai sim เพื่อที่จะทำให้โรงพยาบาลที่มีแผนอยู่แล้วมีโอกาสได้ซ้อมกับภาพรวมของสาธารณะ ซึ่งระบบ Thai sim นั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกโรงพยาบาลและทุกเหตุการณ์เช่นที่ลำปางก็ได้นำไปปรับใช้กับการรับมือเหตุที่เกิดขึ้นกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และที่ภาคใต้ก็ได้มีการนำแผน Thai sim ไปปรับใช้กับเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมัน และในส่วนของกทม.เราได้มีการซักซ้อมในส่วนของการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นที่สนามบิน ซึ่งเรื่องของเหตุระเบิดที่เกิดขั้นกับตึกหรือโรงพยาบาลก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เพราะ Thai sim จะเชื่อมโยงกับจุดเกิดเหตุ ศูนย์รับแจ้งเหตุระดับกลางหรือระดับเขต และเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลข้างเคียงที่จะสามารถช่วยเหลือเราเมื่อโรงพยาบาลของเราเกิดเหตุได้ เราจะได้วางแผนในการคัดแยกคนไข้ว่าคนไข้ในแต่ละระดับอาการเราจะส่งต่อไปที่โรงพยาบาลไหน อย่างไร โดยอะไร โดยใคร

[caption id="attachment_159225" align="aligncenter" width="503"] รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยแผ่นการ์ดแบบ-Thaisim รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยแผ่นการ์ดแบบ-Thaisim[/caption]

เรืออากาศนายแพทย์อัจฉริยะกล่าวว่า จุดเด่นของการฝึกปฏิบัติลักษณะนี้ คือ  สามารถฝึกซ้อมภายในอาคารได้ และฝึกพร้อมกันทั้งหมด ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฝึกประมาณ40-50 คน โดยจำลองสถานการณ์ด้วยการใช้สมมุติฐานที่อาจเกิดขึ้นจริงผ่านแผ่นการ์ดผู้ป่วย (Patient Card) การคัดแยกอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งในแผ่นการ์ดผู้ป่วยที่ใช้จะระบุเพศ อายุ และอาการบาดเจ็บต่างๆของผู้ประสบภัย สติความรับรู้ ลักษณะบาดแผลของผู้ป่วย และทดลองการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยใช้ระยะเวลาจริง จากจุดเกิดเหตุส่งต่อผ่านหน่วยงานไหนบ้าง ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ กว่าจะถึงโรงพยาบาลใกล้เคียง ซึ่งการฝึกปฏิบัตินี้ เป็นการบูรณาการฝึกแบบเป็นระบบ เริ่มเหตุกาจากจุดเกิดเหตุแล้วส่งต่อผู้บาดเจ็บไปจนถึงการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล การฝึกนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่า ทำอะไรไม่ได้ มีช่องว่างอยู่ที่ใด ฝึกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งหมดนี้เป็นการฝึกซ้อมปฏิบัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองทางการแพทย์ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทุกรูปแบบในประเทศไทยและหากโรงพยาบาลใดต้องการที่จะฝึกซ้อมตามแผน Thai sim นี้สามารถติดต่อมาที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้