โตเกียวมารีนฯลุยดิจิตอล สตาร์ตอัพ-ออนไลน์-ป้องกันภัยไซเบอร์

10 มิ.ย. 2560 | 09:00 น.
logo โตเกียวมารีนรุกคืบลงทุนสตาร์ตอัพสหรัฐฯ หนุนพนักงานเรียนรู้เทคโนโลยีก่อนนำมาปรับใช้ในไทย ขณะที่แต่ละปีวางงบประมาณด้านไอทีต่อปี 3% ของเบี้ยรับรวม เฉพาะ Cyber Security 20% พร้อมแยกศึกษาเป็นรายโปรเจ็กต์
นายชินคิจิ ไมค์ มิกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย)ฯ กล่าวถึงแนวทางการอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าและพันธมิตรคู่ค้าของบริษัทด้านนวัตกรรมว่า ที่ผ่านมาบริษัทลงทุนกับบริษัทสตาร์ตอัพในสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้เทคโนโลยีด้านประกันภัย ที่บริษัทจะส่งพนักงานไปอบรม และนำความรู้มาปรับใช้ในประเทศไทย

นวัตกรรมด้านประกันภัยที่จะให้ความสำคัญ และบริษัทโตเกียวมารีนประกันภัยฯ มีความเชี่ยวชาญพิเศษคือด้าน Cyber Security รวมถึงความเสี่ยงด้านต่างๆ ซึ่งมุ่งศึกษาและพัฒนาบริการที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า โดยบริษัทตั้งงบประมาณเฉพาะด้าน Cyber Security 20% ของเบี้ยรับรวมต่อปี

[caption id="attachment_158729" align="aligncenter" width="323"] ชินคิจิ ไมค์ มิกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย)ฯ ชินคิจิ ไมค์ มิกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย)ฯ[/caption]

“แต่ละปีบริษัทจัดงบประมาณลงทุนด้านไอที 2-3% ของเบี้ยรับต่อปี และมีการแยกงบประมาณออกมาต่างหากสำหรับจัดทำ Strategy Project โดยเป็นการลงทุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้านไอทีเพื่อให้นวัตกรรมออกมาสอดรับกับยุคดิจิตอล”ก่อนหน้านี้บริษัทนำระบบ “Tokio Marine Smile Claim” ระบบจ่ายงานอัจฉริยะ โดยใช้ GMS Application (GPS and Mobile System) เป็นรายแรก โดยหากเกิดอุบัติเหตุ หรือฉุกเฉินและลูกค้าไม่ต้องรอ เพราะสามารถออกสลิปใบเคลมให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับอู่ซ่อมได้เลย

นายเสรี กวินรัชตโรจน์รองกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทมีแผนลงทุนด้านเทคโนโลยีในอีก 3-5 ปีข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบการทำงานให้ง่ายต่อพันธมิตรคู่ค้า รวมทั้งความสะดวกในการจัดส่งกรมธรรม์หรือการเคลมและจัดส่งใบเตือนต่ออายุ รวมถึงเว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้าสอบถามข้อมูลสำหรับปีนี้จะขยายพื้นที่บริการ Tokio Marine Smile Claim ผ่าน GPS and Mobile Systemให้ครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้นในต่างจังหวัด และกำลังศึกษาความต้องการของตลาดหรือลูกค้ากับการใช้บริการผ่านออนไลน์

นายไพชยนต์ สุธีรพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและสถาบันการเงินและฝ่ายการตลาดกิจการสาขา กล่าวว่า แม้ปัจจุบันการทำตลาดออนไลน์ไม่ได้เข้ามาแย่งงานของบริษัทก็ตาม แต่อนาคตอาจตกขบวนได้ บริษัทจึงอยู่ระหว่างทดสอบการทำตลาดออนไลน์ร่วมกับโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะให้บริการอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้เพื่อให้พันธมิตรของบริษัทติดต่อกับฐานลูกค้าของบริษัทที่มีอยู่ประมาณ 2 แสนรายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรถยนต์ให้เข้ามาใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ที่สำคัญคือ สะดวกและง่าย ขณะที่ปีนี้บริษัทจะเปิดสาขาใหม่อีก 12แห่งจากปัจจุบันที่มีอยู่ 25 แห่งในไทย

ขณะเดียวกันยังมุ่งทำตลาดกลุ่มประเทศแม่นํ้ำโขง โดยตั้งเป้าเติบโต 37% คิดเป็นเบี้ยรับ 100 ล้านบาทเฉพาะ 3 ประเทศหลัก คือ เมียนมา กัมพูชา และลาว โดยเฉพาะอาจจะเห็นการร่วมลงทุนในอีก 3-5 ปีข้างหน้าเมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้น ปีนี้ตั้งเป้าเบี้ยรับโต 2-3% เป็น 7,500 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,268 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560