การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของนักการเมืองในสายตาประชาชน

03 มิ.ย. 2560 | 03:13 น.
บรรยากาศทางการเมืองในช่วงนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง มีหลายประเด็นทางการเมืองที่น่าสนใจติดตามโดยเฉพาะภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีฝาก 4 คำถามให้ช่วยกันตอบ กลายเป็นประเด็นสำคัญซึ่งนำมาสู่การออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางของบรรดานักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่ฝากถึงรัฐบาล เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของนักการเมือง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,152 คน ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้

[caption id="attachment_156680" align="aligncenter" width="503"] พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[/caption]

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ของนักการเมือง ณ วันนี้

อันดับ 1  มีทั้งแง่บวกและลบ ควรรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ  75.88%

อันดับ 2  เป็นสิทธิที่ทำได้ เป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  67.65%

อันดับ 3  ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลเพิ่มขึ้น ได้แง่คิดมุมมองที่หลากหลาย  61.83%

 

2. การวิพากษ์วิจารณ์ของนักการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ที่ประชาชนรับได้เป็นอย่างไร?

อันดับ 1  ให้ข้อเสนอแนะที่มีเหตุผล นำไปปฏิบัติได้จริง  78.41%

อันดับ 2  นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับประชาชน เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  74.62%

อันดับ 3  พูดจาสุภาพ ปราศจากอคติ  62.94%

 

3. การวิพากษ์วิจารณ์ของนักการเมืองเชิงทำลาย ที่ประชาชนรับไม่ได้ คือ

อันดับ 1  พูดใส่ร้ายโจมตี ยุยง ทำให้เกิดความขัดแย้ง  83.29%

อันดับ 2  พูดเลื่อนลอย ไม่มีหลักการ ขาดข้อเท็จจริง  71.01%

อันดับ 3  ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ หยาบคาย ด่าทอ  65.61%

60-2842-1
 4. ประชาชนคิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยหรือไม่?

อันดับ 1  เป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย  82.50%

เพราะ  ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย เป็นการสะท้อนการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ

อันดับ 2  ไม่เป็น  17.50%

เพราะ  หากเป็นการวิจารณ์ที่ไม่มีประโยชน์ พูดเอาดีเข้าตัว มุ่งหวังประโยชน์ของตนเอง ต้องการยุยง  สร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองก็ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ