มองพลังงานทดแทน เดนมาร์ก- นอร์เวย์ แล้วย้อนมองตัวเอง

03 มิ.ย. 2560 | 03:00 น.
หลังเสร็จสิ้นภารกิจพาสื่อมวลชนศึกษาดูงานด้านพลังงาน ณ ประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2560 พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีมุมมองการพัฒนาพลังงานที่รุดหน้าไปไกลของ 2 ประเทศดังกล่าว เปรียบเทียบกับพลังงานของไทยในขณะนี้ รวมถึงการดำเนินงานในกระทรวงพลังงานช่วงเกือบ 2 ปี ผ่าน “ฐานเศรษฐกิจ”

ในมุมมองของพล.อ.อนันตพร มองว่าทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์มีความพร้อมมากกว่าประเทศไทยทั้งด้านรายได้ของประชากรที่สูงกว่า ความพร้อมใจของชุมชนในพื้นที่ทำให้การพัฒนา

180594 พลังงานทดแทนบรรลุความสำเร็จได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปีพลังงานทดแทนของนอร์เวย์จะเน้นพลังงานจากเขื่อนในขณะที่เดนมาร์กจะเน้นไปทางกังหันลม

ซึ่งประเทศเหล่านี้อยู่ในเขตหนาว ต้องการความร้อนมากต้องทำให้ตามบ้านมีความอบอุ่นจากฮีตเตอร์ ซึ่งใน 1 ปี เดนมาร์กมีช่วงฤดูหนาวนานถึง 6 เดือน

การผลิตในพลังงานชีวมวล จึงเป็นความหวังของชุมชนในเกาะ Samso เดนมาร์ก โดยใช้ฟางเป็นเชื้อเพลิงในหมู่บ้าน ก็ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า เปรียบเทียบกับไทยเป็นเมืองร้อน มีวัตถุดิบพร้อมทุกอย่าง ทั้งฟางไม้ แต่ประสิทธิภาพมีไม่มากเพราะเรามีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีต้นทุนในการบริหารจัดการยากกว่า ไกลกว่า ถ้าเทียบกับเดนมาร์กที่ค่าขนส่งไม่สูง และเดนมาร์กก็ยอมรับในการผลิตพลังงานทดแทน โดยใช้พลังงานลมเป็นหลัก แต่ก็ยังมีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินอยู่ราว 40%

ดังนั้นถ้าทุกคนยอมรับกติกา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเองก็มีมาตรฐานในการตรวจสอบให้ประชาชนเข้าใจได้ มองว่าอันนี้ผ่าน อันนี้ไม่ผ่าน ต้องแก้ไขอันนี้ต้องดำเนินการแบบนี้ถึงจะถูกต้อง จนสุดท้ายประชาชนยอมรับดังนั้นถ้าคณะกรรมการอีไอเอ บอกว่าผ่านก็ต้องเชื่อ แต่ถ้าไม่ผ่านก็ทำต่อไม่ได้ ต้องแก้ไข ซึ่งทุกวันนี้ชุมชนไม่เข้าใจ และผู้ประกอบการหรือโรงไฟฟ้าเองก็ต้องไปทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย

“ถ้าจะพูดแบบเนกาทีฟก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มไปให้ข้อมูลผิดๆ และที่สำคัญเวลาที่ฝ่ายรัฐให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ประชาชนก็ต้องเชื่อรัฐมากกว่า ตรงนี้คือจุดที่เราจะต้องไปทำความเข้าใจว่าทำไมรัฐพูดแล้ว ประชาชนถึงไม่เชื่อ”

[caption id="attachment_156783" align="aligncenter" width="283"] รถยนต์อีวีกำลังชาร์ตแบตที่พบเห็นได้ทั่วไปในเดนมาร์ก รถยนต์อีวีกำลังชาร์ตแบตที่พบเห็นได้ทั่วไปในเดนมาร์ก[/caption]

ทั้งนี้มีหลายเรื่องที่การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นสำคัญภาครัฐก็มีการประกาศ แต่ตอนนั้นคนที่ไม่เห็นด้วยจะไม่เข้ามาแสดงความเห็น แต่พอจะสร้างก็มาบอกว่าทำไมเขาไม่รู้เรื่องทำไมไม่ถามกันก่อน จริงๆแล้วเวทีมันเปิดสำหรับคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ใช่เปิดเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเปิดเวทีทุกคนต้องเข้ามา

ส่วนแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของเราต้องบอกว่าเวลานี้ของไทยก็ไม่น้อยหน้าใครเราก็ต้องมาดูว่าการที่หลายประเทศเขาประกาศจะใช้แผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้มากที่สุดในอนาคตนั้น ตรงนี้ผมรู้สึกว่าในเวทีต่างๆนานาชาติส่วนใหญ่จะตั้งเป้าหมายไว้สูงมาก คงเป็นเพราะส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศเขามีความรู้สึกว่าได้ตอบรับกับสิ่งแวดล้อม แต่ความจริงแล้วเขายังต้องใช้เวลาถึง 30 ปี ขณะที่คนไทยใจร้อนจะทำให้ได้ภายใน5 ปี 10 ปี ซึ่งเท่าที่ดูแผนของเราก็โอเคแล้วไม่ได้น้อยหน้า 20 ปีทำได้ถึง 30%

สำหรับนอร์เวย์อาจจะโชคดี เพราะมีเขื่อนมาก ปัจจุบันการใช้พลังงานของนอร์เวย์ 90%เป็นการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังนํ้า เพราะมีปริมาณนํ้าแข็งที่ละลายในขั้วโลกเหนือ ทำให้ค่าไฟฟ้าถูก นอกจากนี้นอร์เวย์มีการค้นพบปริมาณสำรองทั้งนํ้ามันและก๊าซจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นประเทศนอกกลุ่มโอเปกที่มีการส่งออกนํ้ามันดิบมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซียโดยผลิตนํ้ามันดิบได้มากถึง 1.9-2.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบจะขายให้กับประเทศในกลุ่มยุโรป 25% ส่วนประเทศที่อยู่ไกลออกไปจะส่งออกในรูปแอลเอ็นจี ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่นอร์เวย์ให้ความสนใจด้วย

ดังนั้นการมองความเป็นไปได้ของเรื่องเหล่านี้ เราจะต้องมองก่อนว่า พื้นฐานของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร และต้องมองตัวเองให้เป็นก่อน แล้วเราก็ไปดูตัวอย่างของประเทศอื่นดึงแบบอย่างที่ดีมาใช้ในบ้านเราได้

[caption id="attachment_156784" align="aligncenter" width="283"] รถยนต์อีวีชาร์ตแบตจากแผงโซลาร์เซลล์ รถยนต์อีวีชาร์ตแบตจากแผงโซลาร์เซลล์[/caption]

**ปรับแผนPDP
นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังกล่าวถึงการปรับแผน PDP น่าจะใช้เวลา 6เดือนเสร็จ มีทั้งแผนการใช้ไฟฟ้าและแผนการอนุรักษ์พลังงานรวมถึงแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งแผนนํ้ามันแผนก๊าซในเรื่องของก๊าซต้องมาดูว่าจะให้สิทธิ์กับผู้ประกอบการอย่างไร เช่น การปรับด้านพลังงานทดแทน เราก็ต้องไปดูใน 3 ส่วนคือ 1. ดูเรื่องเทคโนโลยีที่ดีขึ้น2.ราคาถูกลง 3.โรงไฟฟ้าที่ผลิตก่อสร้างได้ตามแผนหรือไม่

สำหรับความคืบหน้าสัมปทานปิโตรเลียม เป้าหมายเราไม่ได้สนใจว่ารายเก่าหรือรายใหม่จะได้ แต่เงื่อนไขของเราคือต้องการให้เกิดการผลิตต่อเนื่อง

**งานที่ขับเคลื่อน
จากคำถามได้ขับเคลื่อนอะไรไปบ้างด้านพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่าการทำงานในช่วงเวลาอีกไม่กี่เดือนครบ 2 ปี (มาเริ่มงาน 20ส.ค.58) คนจะมองว่า พลังงานเป็นเรื่องใหญ่ มีเรื่องผลประโยชน์มาก ผมเข้ามาก็ทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น เมื่อเสนอขึ้นมาทุกโครงการต้องโปร่งใส ตอบคำถามได้ และเรื่องการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โลกนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานทดแทน เราก็ปรับมาตลอด หลายคนอยากสร้างพลังงานทดแทนบางโครงการมีกำไร เราก็บอกสร้างได้ แต่ราคาต้องตอบสนองต่อต้นทุน

[caption id="attachment_156785" align="aligncenter" width="503"] รถยนต์อีวีชาร์ตแบตจากแผงโซลาร์เซลล์ รถยนต์อีวีชาร์ตแบตจากแผงโซลาร์เซลล์[/caption]

ส่วนเรื่องโครงสร้างราคาพลังงานวันนี้ ก็คืบหน้าไปมากแล้ว จะเห็นว่าราคาพลังงานที่ลอยตัวแล้วคือก๊าซ, นํ้ามัน ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงพลังงานเขาคิดมานานแล้ว ผมแค่มาขับเคลื่อนให้ไปต่อได้และให้เร็วขึ้นชี้แจงต่อครม.บวกกับความโชคดี ที่ขณะนี้ราคาพลังงานไม่ได้สูงขึ้นมาก ประชาชนมีความรู้สึกว่าราคาพลังงานสะท้อนต่อต้นทุนแล้ว ราคานํ้ามันเปิดเสรีลอยตัว 100% ส่วนก๊าซเหลืออีกนิดเดียวก็จะลอยตัวได้ 100% ถือว่าสะท้อนต่อต้นทุนได้แล้วสำหรับพลังงานทดแทนก็ได้เข้ามาปลดล็อกผลประโยชน์ที่ซื้อขายใบอนุญาตกัน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้มีการขับเคลื่อนโครงสร้างพลังงานโดยเพิ่มทางเลือกของกิจการก๊าซ ธรรมชาติให้กับประเทศและเปิดเสรีแอลพีจี ซึ่งในอดีตไม่เคยมี โดยมีความตั้งใจจะขับเคลื่อนแผนงานของกระทรวงให้ไปตามแผนให้หมด โดยทำให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,266 วันที่ 1- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560