สรท.ห่วง 7 ปัจจัยเสี่ยงคงคาดการณ์ส่งออกไทยโต 3.5%

29 พ.ค. 2560 | 08:17 น.
สภาผู้ส่งออกผวา 7 ปัจจัยเสี่ยง ยังคงคาดการณ์ส่งออกปี 60 เติบโต 3.5%

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก แถลงข่าวร่วมกับ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งออก และ นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนนวยการบริหารสภาผู้ส่งออก ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (29 พ.ค.60)

โดยระบุแม้การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2560 มีมูลค่า 1.68 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัว 8.49 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 5.81 แสนล้านบาท ขยายตัว 7.75 %  ส่งผลให้การส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2560 มีมูลค่า 7.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 5.69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตามสภาผู้ส่งออกยังคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี 2560 จะเติบโตได้ประมาณ 3.5% เนื่องจากได้รับผลเชิงบวกมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 25% ทำให้สินค้ากลุ่มที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น และยังส่งผล ให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหลายรายการมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน

อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเชิงลบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมถึงหาแนวทางการรับมืออย่าง เร่งด่วนประกอบด้วย 1.ความเสี่ยงจากสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ และการก่อการร้าย โดยเฉพาะสถานการณ์ความรุนแรงที่เมืองมาราวี ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 2. ความเสี่ยงจากข้อกีดกันทางการค้าทั้งจากประเทศคู่ค้าสำคัญและประเทศตลาดใหม่ โดยเฉพาะการตอบโต้รัฐบาลสหรัฐอมริกา 3. การแข็งค่าของสกุลเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อผู้ส่งออกโดยตรงทั้งในด้านของต้นทุนและขีดความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย

ประการที่ 4 ปัญหาขาดแคลนตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก เนื่องจากการปรับตัวของสายเรือที่ลดการจัดสรรตู้สินค้าให้กับต้นทางการขนส่งที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนในการขนส่งตู้เปล่ามาให้กับผู้ส่งออกไทย ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกจำนวนมากไม่สามารถ ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศทันตามกำหนด 5. ปริมาณสินค้าคงคลังของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากการสั่งซื้อสินค้าในช่วงปลายปี 2559 ต่อต้นปี 2560 อาจจะทำให้มีการสั่งซื้อลดลงในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป

ประการที่ 6 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจในตลาดคู่ค้าหลัก อาทิ ผลกระทบจาก E-Commerce ต่อธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ผลกระทบจากการบอยคอตของจีนต่อเกาหลีใต้ ขณะที่ญี่ปุ่นเผชิญกับสถานการณ์ตลาดภายในประเทศ เนื่องจากความสามารถในการบริโภคของ ประชาชนลดลง สวนทางกลับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น 3% และ7. โอกาสในการทำตลาดของธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็ก (MSMEs) ของไทยยากลำบากมากขึ้น ภายใต้การแข่งขันกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่และช่องทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ขณะที่การพัฒนาการค้าระหว่าง ประเทศผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Cross-Border E-Commerce ของไทยยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นของพัฒนา อาทิ การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นต้น แต่ยังมีบริบทอีกมากตามแนวทาง eTrade for all ซึ่งนำเสนอโดยอังค์ถัด และประเทศไทยต้องดำเนินการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ประกอบไปด้วย 1) การประเมิน ความพร้อมภายในประเทศ (E-Commerce Assessments) 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการข้อมูลและการสื่อสาร (ICT Infrastructure and Services) 3) การช าระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(Payments) 4) โลจิสติกส์การค้าผ่านระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trade Logistics) 5) การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Legal & Regulatory Frameworks) 6) การพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของบุคลากร (Skill Development) และ 7) การสนับสนุนด้านงบประมาณและแหล่งทุน (Financing for E-Commerce)