EEC ระเบียงศก.ตะวันออก กับ‘NEC’ประตูเศรษฐกิจทิศเหนือ

28 พ.ค. 2560 | 04:00 น.
เมื่อวันก่อนไปร่วมสัมมนากลับกลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เรื่อง กฎหมายภาษี ก็เรียนถามว่าติดตาม “EEC” “ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก”หรือยัง เป็นโครงการยักษ์ของรัฐบาลที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจใน 5 ปีนี้

ตกใจอย่างยิ่งมีหลายคนในที่ประชุมยังไม่รู้จัก EEC บอกว่าเคยได้ยิน แล้วต่างกับ AEC อย่างไร หรือเป็นบริษัทพลังงานใหม่ของจีนที่จะเข้าตลาดหุ้นใช่ไหม? ก็เลยขอกลับมาช่วยกันทบทวนอีกครั้ง เรื่องของ "EEC" ทั้งผลบวกและผลลบ

ต้องขอชื่นชมกับรัฐบาลชุดนี้ ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็มุ่งทำงานหนักให้กับบ้านเมือง เรื่องแรกขอขอบคุณความสงบกลับมาแม้จะไม่ทั้งหมด(ภาคใต้) แต่ดีมาก ประเด็นต่อมาคือ ปากท้อง และเศรษฐกิจของประเทศ ที่ช่วยสร้างกลยุทธ์ กุศโลบาย ยกฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ในปีแรกที่เข้ามาก็เร่งรัดการพัฒนาประเทศผ่านการสร้างสาธารณูปโภคหลัก คือ ขนส่งมวลชน รถไฟ ถนน โดยเฉพาะในเขตศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ คือ กรุงเทพฯและปริมณฑล แม้จะสร้างหนี้สาธารณะเพิ่ม แต่เป็นการลงทุนมีผลตอบแทนระยะยาว

แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดไปข้างหน้า ว่าจะเติมอะไรให้กับเศรษฐกิจปากท้องคนไทย ในระยะกลางอีกต่อเนื่องอะไรได้บ้าง รัฐบาลโดยท่าน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งพัฒนาเศรษฐกิจ ก็เสนอการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก "EEC" เป็นการพัฒนาพื้นที่ในระดับอนุภาค (Sub – Regional) ของไทยที่มีแกน 5 จังหวัดๆที่สำคัญเหล่านี้คือ "ฉะเชิงเทรา" ให้เป็นฐานก้าวกระโดดรุ่นต่อไป เพื่อเกษตร-อาหาร สมุนไพร "ชลบุรี" เมืองใหญ่ศูนย์กลางการค้า การเงิน การผลิตอุตสาหกรรม "ศรีราชา" ศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ เป็นฐานของญี่ปุ่นคนต่างชาติ "พัทยา" Word Tourist Destination" ต้องยกระดับให้เป็น University Attraction" และ"แหลมฉบัง" ศูนย์กลางการส่งออกท่าเรือใหญ่สุดของประเทศ และเป็นอันดับ 5 ของ AEC และจังหวัด "ระยอง" สาวน้อยดาวรุ่ง ของ EEC ระยองมีพื้นฐานดีทุกอย่าง พลังงาน (ป.ต.ท.) นิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก และการท่องเที่ยวที่เป็นที่ 2 รองพัทยา ท้ายสุดคือ เกษตร อาหารมีสวนชั้นดี ผลผลิตเกษตรระดับ Premiun จะเป็นอีก 1 Destination ของคนจีน ถ่ายมาจากพัทยา

“EEC : ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก” ถูกร้อยด้วยเส้นทางหลักคมนาคม ซึ่งรัฐจะลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ระดับ Supper Moterway ขยายท่าเรือแหลมฉบัง และมีสนามบินระดับ AEC อีก 1 แห่ง คือ อู่ตะเภา
โดยสรุป คือ EEC มีพื้นฐาน พร้อมที่จะเป็นแม่แรงเป็น Mega Supper Projects ยกระดับใน 5-10 ปีข้างหน้า มีการลงทุนภาครัฐ-ภาคเอกชน มีกำลังผลิต-มีกำลังบริโภค ทั้งมาจากในประเทศ และต่างประเทศ และ GDP ก็จะเพิ่ม
อุตสาหกรรมโดยเฉพาะการก่อสร้าง-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสาขาเสริมเติมไวตามีนให้อนุภาคนี้ ก็จะเติบโตตาม

[caption id="attachment_154462" align="aligncenter" width="503"] EEC ระเบียงศก.ตะวันออก กับ‘NEC’ประตูเศรษฐกิจทิศเหนือ EEC ระเบียงศก.ตะวันออก กับ‘NEC’ประตูเศรษฐกิจทิศเหนือ[/caption]

แต่ยังขาดอะไร? จากการลงพื้นที่ กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแม่งานของ EEC มี ดร.คณิต แสงสุวรรณ มือขวาท่านรองนายกสมคิดมานั่งเอง กระทรวงการคลังเอา BOI กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงท่องเที่ยว มาเป็นกองทัพดูว่าน่าจะไปได้ดี

แต่สิ่งที่ประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ขอให้คิดเพิ่มเติมคือ “ด้านสังคม” และ “ด้านสิ่งแวดล้อม” และคนในพื้นที่ จะได้อะไร? หรือทุกอย่างจะมาจากภายนอก มาจาก TOP DOWN มองไม่เห็นคนในพื้นที่ จากการลงพื้นที่ที่ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นครั้งแรกผลสนับสนุนมีมาก แต่ก็มีข้อสังเกตที่ EEC จะไปติดต่อ คือ "ภาคสังคม" เพราะขณะนี้เน้นด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด (เหมือนสภาพัฒน์สมัยก่อนชื่อเดิม คือสภาพัฒนาเศรษฐกิจ ก็มาเพิ่มเป็นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) คราวนี้มาทำได้ดีกว่า

หันมองดู "คน" เป็นเป้าตัวเลข "GDP" แม้จะเป็นเป้าหมายแค่ "GHP" (Gross Happiness Product) น่าจะเป็นอุดมการณ์ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ควรจะเข้ามาประเมินด้วย มีโครงการชัดเจนร่วมกับ Mega Infra และพื้นฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรม แม้ด้าน Infra ก็อย่าลืม "น้ำ" น้ำคือชีวิต และการพัฒนา "พื้นที่และคน"
ขอให้ EEC ประสบความสำเร็จ อย่าลืมอุปสรรค ทุกอย่างจะต้องมี และจุดอ่อนรีบปิดเสียเนิ่นๆ ก็จะดี และอย่าลืมอนุภาคอื่นๆ เช่น NEC (ประตูสู่จีน) ประเทศ ภาคใต้ และตะวันตก เขาน้อยใจว่า เงินหมดแล้วจะเอาใจแต่ EEC คงลำเอียงน่าดู

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,265 วันที่ 28 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560