การเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ

25 พ.ค. 2560 | 03:30 น.
โครงการขนส่งมวลชนทางรางถูกจัดให้เป็นเรื่องเร่งด่วนในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อเชื่อมโยง 3 สนามบินอย่างไร้รอยต่อ โดยมี 3 โครงการหลักดังนี้1.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง 2.โครงการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนปัจจุบันและส่วนต่อขยายช่วง พญาไท-ดอนเมือง3.โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมากและส่วนต่อขยายหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา

แนวคิดในการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออก กับสนามบินนี้ยังพบว่ามีปัญหาอุปสรรคสำคัญของโครงการ 1 และ 2 อยู่คือทั้ง 2 โครงการไม่ได้ต่อเชื่อมกันโดยตรง อีกทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงยังไม่มีเส้นทางเข้าสู่สนามบินอู่ตะเภาโดยตรง หากไม่สามารถแกป้ ญั หานี้ได้จะทำให้โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่เป็นที่นิยมของประชาชนในที่สุด

จากปัญหานี้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือEEC ได้กำหนดแนวทางสำคัญในการแก้ไขเพื่อให้โครงการขนส่งทางรางเป็นระบบหลักสำหรับพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ 1.เรื่องปรับปรุงโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนปัจจุบันและส่วนต่อขยายและส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมืองให้สามารถรองรับการเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูง 2.เรื่องรวมโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยองเป็นโครงการเดียวกัน ผู้เดินรถรายเดียวกัน (Single Project Single Operation)

3.เรื่องพัฒนาสถานีมักกะสันให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับการพัฒนาอีอีซี (EEC Gateway) เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยง 3 สนามบินด้วยรถไฟความเร็วสูงอย่างสมบูรณ์ 4.เร่งรัดการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวหมากและส่วนต่อขยายถึงฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมืองทดแทนแอร์พอร์ต เรลลิงก์ในปัจจุบัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,264 วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560