ไทม์ไลน์ 20 ปี เหตุบึ้มทั่วโลก ตะลึง! ไทยอยู่กลุ่มเสี่ยงอันดับ 2

23 พ.ค. 2560 | 11:00 น.
วันที่ 23 พ.ค. 60 -- ในรอบสัปดาห์นี้ ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยในประเทศไทยนั้น เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (22 พ.ค.) ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 3 ปี รัฐบาล คสช. ทีมข่าว “สปริง โซเชียล รีพอร์ต” จึงได้รวบรวมข้อมูลการก่อเหตุในช่วง 3 ปี ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล คสช.

17 ส.ค. 2558 - เกิดเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ (ท้าวมหาพรหม) มีผู้เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง โดยตำรวจสามารถจับกุม นายอาเดม คาราดัก,นายเมียไรลี ยูซูฟู ผู้ต้องสงสัยไว้ได้ และมีการโยงไปยังกรณีไทยส่งตัวชาวมุสลิมอุยกูร์อพยพกลับไปให้จีน

10-12 ส.ค. 2559 - เกิดเหตุระเบิดหลายจุดในจังหวัดภาคใต้ คือ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์, จ.สุราษฎร์ธานี, จ.ภูเก็ต,จ.ตรัง และ จ.พังงา โดยมีการวิเคราะห์เชื่อมโยงว่า เกี่ยวข้องกับเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

5 เม.ย. 2560 - เกิดเหตุระเบิดที่สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล ถ.ราชดำเนิน **
10 พ.ค. 2560 - เกิดเหตุคาร์บอมบ์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี จ.ปัตตานี
15 พ.ค. 2560 - เกิดเหตุระเบิดที่โรงละครแห่งชาติ **
22 พ.ค. 2560 - เกิดระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า **

** ตำรวจสันนิษฐานว่า คนร้ายเป็นกลุ่มเดียวกัน (ใช้ไปป์บอมบ์) โดยใช้วัตถุ-วิธีการประกอบระเบิดเดียวกัน-เชื่อมโยงกลุ่มก่อความไม่สงบภาคใต้และกลุ่มป่วน กทม. ปี 2550-53

ขณะเดียวกันในวันนี้ (23 พ.ค.) เมื่อเวลา 05.00 น. (ตามเวลาไทย) ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้ง ภายในแมนเชสเตอร์ อารีน่า ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟวิตอเรีย ในเมืองแมนเชสเตอร์ ของอังกฤษ โดยมีผู้เสียชีวิต 22 ราย และบาดเจ็บ 50 คน ซึ่งคาดการณ์ว่า เหตุดังกล่าวเป็นการก่อการร้าย

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การก่อการร้ายขยายวงกว้างไปทั่วโลก ทางนักวิจัยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและทีมวิจัยจาก Igarapé Institute ได้เปิดจัดทำไทม์ไลน์สเหตุการณ์ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจุดสีแดงที่มีวงกว้างแสดงถึงเมืองที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ปี 2539 ช่วงเดือน ธ.ค. เกิดเหตุโจมตีใจกลางเมืองของสหรัฐอเมริกาและเอเชียใต้ และเกิดเหตุระเบิดรถไฟในอินเดีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย

 

1996

ปี 2540 เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในอิสราเอล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายและบาดเจ็บมากกว่า 150 คน นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุระเบิดในอีกหลายประเทศ อาทิ ศรีลังกาและอียิปต์ รวมถึงเหตุกราดยิงในอินเดีย ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 23 ราย และบาดเจ็บ 31 คน

 

1997

ปี 2541 เกิดเหตุการณ์สูญเสียครั้งใหญ่จากน้ำมือของสมาชิกกลุ่มอัล-กออิดะห์ ที่ลอบวางระเบิดสถานทูตสหรัฐอเมริกาในเคนยาและแทนซาเนีย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 4,000 คน

 

1998

ปี 2542 เกิดเหตุทางตะวันตกเฉียงใต้ของดาเกสถาน ในรัสเซีย โดยเหตุระเบิดอพาร์ทเมนต์ที่อยู่ทางตะวันตกของคาซัคสถาน ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 300 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน

 

1999

ต่อมา เพียงแค่ 2 วันก่อนจะเข้าสู่ปี 2543 ก็ได้เกิดเหตุระเบิดที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 22 ราย และบาดเจ็บประมาณ 100 คน

 

2000

ปี 2544 นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “11 ก.ย.” เหตุโจมตีอาคารทวิน ทาวเวอร์ส ในมหานครนิวยอร์ก ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,700 ราย

 

2001

ปี 2545 เกิดเหตุลอบยิงในสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตกว่า 17 ราย และบาดเจ็บ 10 คน

 

2002
ปี 2546 เกิดเหตุโจมตีในรัสเซีย, โมรอคโค, อิสราเอล และในปีนี้สงครามอิรักก็ได้เริ่มต้นขึ้น มีการก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้นแทบทุกวัน

 

2003

ปี 2547 ช่วงเดือน มี.ค. เกิดเหตุระเบิดรถไฟที่มาดริด มีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 2,000 คน ขณะที่เหตุโจมตีในอิรักและปากีสถานก็เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มตอลิบานและอัล-กออิดะห์ได้ออกมาอ้างเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุที่เกิดขึ้นในแถบยุโรปและตะวันออกกลาง

 

2004

ปี 2548 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในอิรัก ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 127 ราย และบาดเจ็บมากกว่าร้อยคน ต่อมาในเดือน ก.ค. เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย 4 ครั้งต่อเนื่อง ในลอนดอน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ราย และบาดเจ็บ 700 คน

 

2005

ปี 2550 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ในอิรัก มีผู้เสียชีวิตมากถึง 800 ราย และบาดเจ็บ 1,500 คน

 

2007
ปี 2551 ช่วงเดือน พ.ย. เกิดเหตุกราดยิงในมุมไบ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่าร้อย ขณะเดียวกันก็เกิดเหตุระเบิดอีก 8 แห่งทั่วเมือง

 

2008

ปี 2552 ในช่วงครึ่งปีแรกได้เกิดเหตุก่อการร้ายเล็ก ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่พอเข้าช่วงครึ่งปีหลัง ก็เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายและกราดยิงในอิรักและอินเดีย ต่อมาในเดือน ต.ค. ก็เกิดเหตุคาร์บอมบ์ทั้งในอิรักและปากีสถาน มีผู้เสียชีวิตร่วมร้อย

 

2009

ปี 2553 เกิดเหตุในปากีสถาน จากระเบิดฆ่าตัวตายส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 500 คน

 

2010
ปี 2554 การก่อการร้ายในปากีสถานและอินเดียมีเพิ่มมากขึ้น

 

2011
ปี 2555 จากสงครามอิรักก็ก้าวเข้าสู่ซีเรีย ดามัสกัสและอเลปโปเกิดเหตุก่อการร้ายในหลายพื้นที่

 

2012

ปี 2556 ช่วงเดือน ก.พ. เกิดเหตุคาร์บอมบ์ในดามัสกัส มีผู้เสียชีวิตกว่า 80 ราย และบาดเจ็บ 250 คน ขณะท่ีช่วงเดือน เม.ย. เกิดเหตุระเบิดในงานมาราธอนบอสตัน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 200 คน

 

2013

ปี 2557 ช่วงเดือน มี.ค. กลุ่มโบโกฮารามเข้าโจมตีไนจีเรีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน แต่ไม่ทราบจำนวนผู้บาดเจ็บ ขณะเดียวกันกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอซิส) ก็เริ่มสร้างความเสียให้กับซีเรียและอิรัก

 

2014

ปี 2558 ไนจีเรียและแคเมอรูนมีผู้เสียชีวิตนับพันจากการโจมตีของกลุ่มโบโกฮาราม ต่อมาได้เกิดเหตุระเบิดในตุรกีและเยเมน มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย และช่วงเดือน ธ.ค. เกิดเหตุกราดยิงที่ซาน เบอร์ นาร์ดิโน ทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอซิส) ได้ออกมาอ้างตัวเป็นผู้ก่อเหตุ

 

2015

ทั้งนี้ ในปี 2558 ประเทศไทยถูกจัดอันดับประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ระดับ 1-2 ซึ่งเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์ (ท้าวมหาพรหม) กรุงเทพมหานคร ถือเป็นเหตุก่อการร้ายที่ถูกจัดอันดับความเสี่ยงมากที่สุดในประเทศ คือ ระดับ 2 มีผู้เสียชีวิต 20 ราย ขณะที่ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาอยู่ในระดับ 3 แต่กลับไม่มีผู้เสียในเหตุก่อการร้าย