10เหตุผลกรณีOTTเมื่อไลฟ์สไตล์เปลี่ยนหลีกเลี่ยงไม่ได้

26 พ.ค. 2560 | 05:00 น.
ถึงตอนนี้ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)กำลังหามาตรการคุมเข้ม OTT(Over The Top) แต่ปรากฏว่า CCW Media ผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ เปิดตัว “Viu” (วิว)ศูนย์รวมความบันเทิงแบบ Over The Top (OTT) ในประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้

ขณะที่ทาง พ.อ.ดร.นทีศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์หรือ กสท. ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องนี้ ได้เขียนข้อความผ่านทวิตเตอร์@Dr.Natee Sukonrat ถึง 10เหตุผลเรื่อง OTT ซึ่งบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นตรงกันว่าการกำกับดูแล OTT มีความจำเป็น

พฤติกรรมคนดูเปลี่ยน
พ.อ.ดร.นทีบอกว่ากรณีของ OTT ที่ กสท.กำลังบริหารจัดการนั้นเพื่อความเท่าเทียมและดูแลผลกระทบต่อสาธารณะ โดยข้อที่ 1 เพื่อให้บริการดำเนินการเรื่องการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอื่นที่นอกเหนือจากโครงข่ายกระจายเสียง/โทรทัศน์ (หรือOTT) มีความรอบคอบและเป็นสากล, 2.ผมได้เข้าร่วมประชุมConnected TV World Summitที่กรุงลอนดอน เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบกิจการและผู้ผลิตเนื้อหารายการโทรทัศน์ของยุโรป, 3.ความเห็นโดยรวมเห็นพ้องว่า พฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ของประชาชนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป มีความนิยมรับชมเนื้อหาตามความต้องการของตนเองเพิ่มขึ้น

[caption id="attachment_153373" align="aligncenter" width="503"] 10เหตุผลกรณีOTTเมื่อไลฟ์สไตล์เปลี่ยนหลีกเลี่ยงไม่ได้ 10เหตุผลกรณีOTTเมื่อไลฟ์สไตล์เปลี่ยนหลีกเลี่ยงไม่ได้[/caption]

มือถือ/แท็บเลตจุดเปลี่ยน
สำหรับข้อที่ 4 นั้น พ.อ.ดร.นที บอกว่า การรับชมโทรทัศน์ของผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มรับชมผ่านอุปกรณ์อื่นที่มิใช่เครื่องรับโทรทัศน์แบบดั้งเดิม เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ และแท็บเลตพฤติกรรมเหล่านี้มุ่งไปสู่ข้อที่ 5คือ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์แบบเดิมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ OTT รายใหม่ๆอย่างเช่น Netflix (เน็ตฟลิกซ์),Hulu Plus (ฮูลู พลัส)

 ถูกเบียดรายได้ลด
การมาของบรรดาผู้ประกอบการ OTT ทำให้นำไปสู่ข้อที่6 คือ รายได้ของผู้ประกอบการโทรทัศน์รายเดิมมีแนวโน้มลดลงส่วนทางผู้ประกอบการ OTT ที่สูงขึ้น ปัจจุบันมีรายได้ประมาณ 5 พันล้านยูโรในสหภาพยุโรป

mp22-3264-c  เอบีซี-สกาย เริ่มปรับตัว
ข้อที่ 7 ผู้ประกอบการโทรทัศน์เดิมในภูมิภาคยุโรปเริ่มปรับตัว โดยมีการปรับกลยุทธ์เริ่มให้บริการ OTT ที่แตกต่างกัน เช่นบีบีซี มีการให้บริการ iPlayer และ8. Sky (บริษัท สกาย บรอดคาส-ติ้งฯ : ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกในอังกฤษ) ได้ขยายไปในบริการ OTT ทุกรูปแบบเช่น แบบรายการสดที่ดูได้เฉพาะในบริการ OTT เท่านั้น และ 9.ในขณะที่ เอบีซี (ฟรีทีวีในประเทศสหรัฐอเมริกา) ร่วมมือกับ ฮูลูพลัส ในการให้บริการแบบดูย้อนหลังและเรียกเก็บค่าสมาชิกจากผู้ที่ต้องการรับชมเนื้อหาเฉพาะ

 หลีกเลี่ยงไม่ได้
บทสรุปข้อสุดท้ายนั้นพ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ บอกว่าการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกภาคส่วนต้องปรับกลยุทธ์เพื่อแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่

และทั้งหมดคือ 10 เหตุผลทปี่ ระธานกสท.อธิบายการมาของOTT เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนตามเทคโนโลยี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,264 วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560