จับตาอาฟเตอร์ช็อกสหกรณ์ ความเสี่ยงในการลงทุนลาม

24 พ.ค. 2560 | 03:00 น.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นกู้ และหุ้นทุน หลังฟองสบู่สหกรณ์แตก และเศรษฐกิจอยู่ในภาวะซึมเซาต่อเนื่องมาหลายปีของสหกรณ์ออมทรัพย์ เริ่มถูกจับตาอย่างใกล้ชิดและกังวลว่าจะเป็นความเสี่ยงที่ตามในลำดับต่อไป

ผู้บริหารใน กรมส่งเสริมสหกรณ์ให้ข้อมูลว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ใหญ่แห่งหนึ่งลงทุนในหุ้นมากกว่า 40% ของเงินฝาก “ตอนซื้อเรตติ้ง (อันดับความน่าเชื่อถือ)เอ-ตามข้อบังคับ แต่เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนไป เรตติ้งและมูลค่าหุ้นก็ลดตาม ประมาณว่ามีเงินลงทุนจากสหกรณ์ไปอยู่ตรงนั้น (ลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้) ไม่ตํ่ากว่าแสนล้านบาท โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ใหญ่ๆ” เขาระบุกับความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดทุนที่เพิ่มขึ้น ในเกณฑ์ลงทุนใหม่ จะเสนอให้ ลงทุนในหุ้น หรือหุ้นกู้ ไม่เกิน 10% ของทุนเรือนหุ้นบวกทุนสำรองของสหกรณ์นั้นๆ

ประเด็นความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นถูกกล่าวถึงใน งานศึกษา“ความเสี่ยงขอระบบสหกรณ์ออมทรัพย์กับแนวทางปฏิรูปการกำกับดูแล” โดย ศิริวรรณ อัศวงศ์เสถียร,กันตภณ ศรีชาติ และรัฐศาสตร์ หนูดำจากแบงก์ชาติกล่าวไว้ตอนหนึ่งโดยสรุปว่า นับจากปี 2557 สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่มีสภาพคล่องล้นลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นซึ่งสะท้อนว่าการแสวงหาผลตอบแทนของสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง พร้อมเสนอแนะว่าผู้บริหารและกรรมการสหกรณ์ จะต้องมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์การเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

มุมมองอีกด้านหนึ่ง พิทยาทิพยโสตถิ ประธานกรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน บริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) หนึ่งในสหกรณ์ออมทรัพย์ใหญ่ของประเทศ มีทรัพย์สินรวมราว 5.6 หมื่นล้านบาท ยอมรับกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สหกรณ์การบินไทย ให้นํ้าหนักกับการลงทุนใน ตราสารหนี้ และตราสารทุน เพิ่มขึ้น แต่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนในหุ้นรวม 1.6 หมื่นล้านบาทโดยประมาณ ส่วนเงินฝากมีอยู่ราว 3.2 หมื่นล้านบาท

เขายืนยันว่าการลงทุนตราสารหนี้ หรือหุ้น ไม่มีความเสี่ยง ต่อสหกรณ์การบินไทย เพราะเป็น การลงทุนตามกฎหมายกำหนดและตราสารเหล่านั้นได้รับการคัดกรองจากคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาแล้วชั้นหนึ่ง “การลงทุนในตรา สารหนี้หรือตราสารทุน เพิ่มช่องทางในการหาผลตอบแทนให้สหกรณ์และมีการติดตามสถานการณ์ในตลาดต่อเนื่อง”

ส่วนสาเหตุที่สหกรณ์หลายแห่งมีปัญหาต่อเนื่องในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาเขามองว่าต้นตอมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องอัตราดอกเบี้ยในระบบไม่สมดุลดอกเบี้ยแบงก์ตํ่า เงินจึงไหลเข้าสู่ระบบสหกรณ์ เมื่อมีสภาพคล่องมากผู้บริหารต้องแสวงหาแหล่งลงทุนที่เหมาะสมเพื่อหาผลตอบ แทนให้สมาชิก ความชำนาญของผู้บริหารและการทุจริต

อย่างไรก็ดี พิทยา ยอมรับว่า เริ่มมีปัญหาจากเงินกู้จากสมาชิก500-600 คน วงเงินราว 200-300 ล้านบาท (จากเงินให้สมาชิกกู้ยืม3.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งมีสาเหตุหลัก2 ประการคือ 1. สภาวะเศรษฐกิจและ 2. การบินไทย ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมาหลายปีแล้ว อีกทั้งตัดโอทีและไม่มีโบนัส เพื่อแก้ปัญหาสถานะบริษัท และ 3. พฤติกรรมส่วนตัวของผู้กู้ “เวลานี้ทางกรรมการสหกรณ์กำลังหาทางช่วยเหลือสมาชิกที่คํ้าประกันลูกหนี้เหล่านั้นอยู่”เขากล่าว

กับร่างกฎหมายสหกรณ์ใหม่ที่อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์ว่าส่วนตัวเองอยากเห็น สหกรณ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ แบงก์ชาติส่วนเกณฑ์การลงทุนใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ตนไม่เห็นด้วยเพราะถ้ายึดตามนั้นเพดานการลงทุน (ในหุ้นและตราสารหนี้)ของสหกรณ์จะลดลงอย่างมาก เขากล่าวทิ้งท้ายว่าหากกฎหมายใหม่คุมไม่ให้สหกรณ์โต บรรดาผู้ฝากรายย่อยที่เป็นสมาชิกสหกรณ์จะไม่มีทางเลือก

อย่างไรก็ดีแม้ผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์อย่าง พิทยาและอีกหลายแห่งมองว่า การเปิดทางให้สหกรณ์ออมทรัพย์ลงทุนใน หุ้นกู้และหุ้นเพิ่มความคล่องตัวในการแสงหาผลตอบแทนให้กับสมาชิกซึ่งปัจจุบันเสนอผลตอบแทนให้สมาชิกถึง 6% โดยเฉลี่ย แต่กรมส่งเสริมสหกรณ์ หรือ แบงก์ชาติ มองว่าเป็นความเสี่ยงและร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างประชาพิจารณ์นอกจากเสนอให้ลดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอัตราการจ่ายผลตอบแทนแก่สมาชิกของสหกรณ์ลงแล้ว ยัง จะกำหนดเพดานการลงทุนในหุ้นอีกด้วย แต่กว่ากฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้ต้องรอถึงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า

ในช่วงเวลานั้นผลจากปัญหาขาดสภาพคล่องไม่สามารถให้สมาชิกถอนเงินได้และการขาด ทุนจากการลงทุนในหุ้นอาจแสดงตัวให้เห็นเป็นระยะๆ และหากเกณฑ์ลงทุนใหม่บงั คบั ใช้ สหกรณ์ ใหญต่ อ้ งลดพอรต์ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ลงมากกว่า 80% เช่นปัจจุบันลงทุนในหุ้น1.6 หมื่นล้านบาทต้องลดเหลือไม่เกิน 2 พันล้านบาท ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงๆที่จะนำไปสู่อาฟเตอร์ช็อกต่อภาคสหกรณ์ ได้ทั้งสิ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,263 วันที่ 21 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560