เทคโนโลยี Cardiolnsight รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะระดับโลก

21 พ.ค. 2560 | 10:00 น.
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) เป็นอาการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ทำ ให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยง ต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด เป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหาและมักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพหรือป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์ หรือในผู้ป่วยบางคน อาจมีอาการให้สังเกตได้ เช่น วิงเวียนหน้ามืด ตาลาย ใจสั่นบริเวณหน้าอก หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลม หมดสติ ซึ่งแพทย์จะรักษาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ะรายไปเช่นการใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้น ของหัวใจ การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำ ไฟฟ้าผิดปกติและการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

น.พ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแปซิฟิก ริม ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ข้อมูลว่า โดยปกติในการวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดปกติจะใช้วิธีการ2-3 วิธีเบื้องต้นคือจับชีพจรของคนไข้แล้วนับว่าเต้นเร็วเต้นช้า เท่าไหร่เต้นปกติหรือไม่ปกติวิธีการนี้จะสามารถรู้ได้ว่าคนไข้มี อาการหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ แต่ก็บอกไม่ได้ว่าเป็นการเต้นผิดปกติแบบชนิดใดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ขณะนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องมือชนิดหนึ่งเรียกว่า CardioInsight เข้ามาช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติซึ่งเครื่องมือชนิดนี้สามารถตรวจจบบรเวณของกล้ามเนื้อหวใจที่เกิดความผิดปกติไดเแม่นยำ และเฉพาะเจาะจงมากขึ้น CardioInsight หรอที่เรียกเต็มๆ ว่า CardioInsight Mapping Solution ถูกพัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ Yorum Rudy ซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อกั๊กที่ฝังอิเล็กโทรดตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจจำนวน 252 ตำ แหน่งบนเสื้อ ครอบคลุมทั่วพื้นที่ผนังทรวงอกทั้งด้านหน้า และด้านหลังเมื่อได้ข้อมูลจากอิเล็กโทรดและประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ก็จะช่วยให้สามารถตรวจจับทิศทางสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจได้ทั่วทั้งดวง หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เซลล์ทุกเซลล์ของหัวใจเหมือนแบตเตอรี่ และการทำงานของหัวใจจะมี 2 องค์ประกอบคือกล้ามเนื้อสำหรับการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และ มีคลื่นไฟฟ้าเพื่อส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานเป็นจังหวะที่เหมาะสม

mp30-3263-a การเต้นของหัวใจผิดจังหวะมักจะพบว่ามีความบกพร่องในแบตเตอรี่คือต้นกำ เนิดไฟฟ้าหัวใจหรือเส้นทางของกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเมือนสายไฟที่ส่งไฟฟ้าไป ทั่วบ้าน เพราะฉะนั้นเมื่อมีการลัดวงจรหรือทำ ให้หัวใจเต้นผิดปกติตัวอิเล็กโทรดที่ครอบคลุมทั่วทรวงอกจะสามารถตรวจจับได้ว่ามาจากตรงไหน นอกจากนี้ ความอัจฉริยะของอุปกรณ์นี้ ยังสามารถนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจจับได้ ไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลกายวิภาคของหัวใจที่ได้จากเครื่อง CT Scan แพทย์ก็จะสามารถเห็นภาพที่ชัดเจน ทั้งจังหวะการเต้นของหัวใจทุกๆ จังหวะเห็นภาพเส้นทางการเดินทางของกระแสไฟฟ้าทั่วหัวใจทั้งดวงว่าออกจากจุดไหนไปยังจุดไหน และเกิดความผิดปกติในจุดไหน

เครื่องมือ CardioInsight ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่อยู่ในช่วงริเริ่มซึ่งปัจจุบันมีใช้ในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในโลก คือที่โรงพยาบาลในเมืองบอร์โดซ์ ประเทศฝรั่งเศส และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทยที่ใช้งานเครื่องมือนี้อย่างจริงจังในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะส่วนในอเมริกาซึ่ง เป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยีนี้ ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก แม้ว่าองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริก า (FDA) จะอนญาตให้ใช้เครอื่งมือนี้ก็ตาม มีเพียงโรงพยาบาล Mount Sinai ที่มีใช้งานและเริ่มใช้หลังจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,263 วันที่ 21 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560