รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

13 พ.ค. 2560 | 13:00 น.
“หลักการสำคัญว่าต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้

”พระราชดำรัส พระราชทานเมื่อ 17 มีนาคม 2539 ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน

[caption id="attachment_148935" align="aligncenter" width="503"] รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน[/caption]

ด้วยความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจัดการน้ำทั้งในแง่การดูแล รักษา บำบัด ตลอดจนการผันมาใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ อาทิ การใช้เพาะปลูก ดำรงชีวิต ยกระดับสภาพอากาศ ภูมิทัศน์ ให้ดูงดงาม น่าอยู่อาศัย อันนำมาสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ไอคอนสยาม ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนา และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเปิดโครงการ “รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน”เพื่อสืบสานและน้อมนำศาสตร์พระราชาด้านแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย มุ่งเน้นการให้ความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่ได้ร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืนตลอดไป

[caption id="attachment_148936" align="aligncenter" width="503"] รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน[/caption]

คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า นโยบายของไอคอนสยาม มุ่งให้ความสำคัญในการร่วมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและอยู่คู่เคียงแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสมศักดิ์ศรีสืบไป จึงได้ดำเนินพันธกิจต่อสังคม 3 เรื่องหลักอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบ, มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและส่งเสริมต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนอย่างยั่งยืน และ การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามที่อยู่คู่กับวิถีคนริมน้ำเจ้าพระยามาช้านาน จึงได้ตกผลึกแนวคิดเชิงบูรณาการร่วมมือกับมูลนิธิชัยพัฒนา และองค์กรพันธมิตรต่างๆ เปิดตัวโครงการ “รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรอบ ในพื้นที่คลองเป้าหมายจำนวนคลอง 7 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน และเขตบางกอกน้อย
ศาสตราจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชัยพัฒนา และผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า มูลนิธิชัยพัฒนาได้นำองค์ความรู้ในด้านการบำบัดน้ำเสียโดยยึดตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า

“ ให้ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และมีวัสดุหาได้ในท้องที่ ”

มาดำเนินการในโครงการนี้ ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เรียบง่ายและใช้ธรรมชาตินี้ แบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่ วิธีการพึ่งพาธรรมชาติโดยใช้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และ ระบบที่สองคือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย โดยใช้พืชและหญ้าที่มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ

[caption id="attachment_148937" align="aligncenter" width="503"] รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมกันพัฒนาและจัดการน้ำอย่างยั่งยืน[/caption]

สำหรับองค์กรพันธมิตรต่างๆ เป็นส่วนสนับสนุนที่ดีในการพัฒนาและดำเนินการโครงการดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ได้จัดเตรียมกำลังพล ยุทโธปกรณ์ จำพวก เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ RX-5C ในการเข้าพื้นที่เป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำร่วมกับชุมชน ด้านมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เตรียมน้ำดีเพื่อปรับสภาพน้ำเสีย สำหรับมิติของการท่องเที่ยว ททท. เตรียมตั้งหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามคลองต่างๆ เพื่อกระจายรายได้และเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ดังกล่าวมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และสุดท้ายกับภาพรวมของสมาคมการค้าธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยาและประชาชนในชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในทุกด้าน เพื่อพัฒนาคลองแต่ละคลองของกรุงเทพฯให้กลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป

อย่างไรก็ดีการดำเนินโครงการรักษ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฯ ได้เริ่มดำเนินการในเบื้องต้นไปแล้วในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยได้ลงพื้นที่สำรวจ คลองวัดทองเพลง และคลองสมเด็จเจ้าพระยา และมีคลองเป้าหมายอีก 5 แห่ง อาทิ คลองวัดสุวรรณ, คลองสาน, คลองวัดทอง, คลองลัดมะยม และคลองมหาสวัสดิ์ โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกพื้นที่ ภายในปี 2560 เพื่อทำให้คุณภาพน้ำในคลองเหล่านี้มีความสะอาด ช่วยทำให้สมดุลทางธรรมชาติกลับสู่ภาวะปกติดังเดิม และจะเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาในพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่องในอนาคต เพราะน้ำคือชีวิต

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,261 วันที่ 14 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560