‘ไอซ์แลนด์’ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนภูเขาไฟ

13 พ.ค. 2560 | 08:00 น.
โรงผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศไอซ์แลนด์ มีชื่อว่าโรงไฟฟ้า“ธอร์” ซึ่งมาจากชื่อเทพเจ้าธอร์ (Thor)ตามตำนานเทพแห่งนอร์ดิก ที่นี่ใช้ขุมพลังงานจากธรรมชาติมาเป็นต้นกำเนิดของพลังงานไฟฟ้าที่จะใช้หล่อเลี้ยงความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชากรในเขตเมืองหลวงเรคยาวิก ที่มีประชากรราว 212,000 คน

การนำความร้อนใต้ดินมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า (geothermal energy)ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่ไอซ์แลนด์ มีการยกระดับเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพไปอีกระดับหนึ่ง โดยมีการขุดเจาะบริเวณภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ (ที่เรียกว่า livevolcano) ลึกลงไปอีกเกือบๆ 3 ไมล์เพื่อให้ถึงชั้นหินหนืด หรือ หินแม็กมา(magma) ที่เป็นสารเหลวร้อนระอุอยู่ไปใต้ภูเขาไฟนี้น่าจะเป็นบ่อที่มีอุณหภูมิสูงหรือร้อนที่สุดในโลกแล้ว โดยแม็กมาจากบ่อน่าจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 800 องศาฟาเรนไฮท์

[caption id="attachment_147690" align="aligncenter" width="503"] ‘ไอซ์แลนด์’ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนภูเขาไฟ ‘ไอซ์แลนด์’ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนภูเขาไฟ[/caption]

การขุดเจาะสำเร็จลุล่วงไปแล้วในเดือนมกราคาที่ผ่านมา และการผลิตกระแสไฟฟ้าก็เริ่มขึ้นในเดือนนี้ หากการผลิตสามารถดำเนินไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โรงไฟฟ้าธอร์ก็จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดจากใต้ดินที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่านํ้ามันและก๊าซธรรมชาติถึง 10 เท่า (โดยเปรียบเทียบบ่อแม็กมากับบ่อก๊าซและนํ้ามัน) โดยโรงไฟฟ้าจะนำแม็กมาที่ร้อนระอุมาก่อให้เกิดไอนํ้าร้อนสำหรับหมุนกังหันต้นกำเนิดไฟฟ้า

ข่าวระบุว่า โรงไฟฟ้าธอร์จะต้องขุดเจาะบ่อแม็กมาจำนวน 3-5 บ่อเพื่อให้มีพลังงานความร้อนมากพอสำหรับผลิตไฟฟ้าหล่อเลี้ยงครัวเรือนในเมืองหลวง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,260 วันที่ 11 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560