อพท.ผนึกก.วัฒนธรรมสู่ไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาสินค้าที่ระลึกช่วยชุมชนเพิ่มรายได้

28 เม.ย. 2560 | 09:30 น.
อพท. ขานรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จับมือกระทรวงวัฒนธรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก ประเดิม 8 ชิ้นใน 4 พื้นที่พิเศษ เน้นสอนชุมชนตั้งแต่เริ่ มกระบวนการถึงการจัดจำหน่าย การทำบัญชีและสต็อกสินค้า ก่อนปล่อยมือให้ชุมชนดำเนินการด้วยตัวเอง ตั้งเป้าโครงการนี้ช่วยเพิ่ มรายได้เข้ากระเป๋าชุมชนอีกไม่ น้อยกว่า 10-20% จากการจำหน่าย

พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า  เพื่อตอบรับนโยบายรัฐบาลเรื่ องไทยแลนด์ 4.0  อพท. จึงมีแนวคิดนำนวัตกรรมมาร่วมผลิ ตสินค้าที่ระลึกจากชุมชนในพื้ นที่พิเศษ เบื้องต้นได้จัดทำโครงการพั ฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ ยวแบบบูรณาการ โดยได้ประสานความร่วมมือจากศู นย์บันดาลไทย กระทรวงวัฒนธรรม นำรูปแบบสินค้าของที่ระลึ กภายใต้ชื่อ “ฝากไทย” ที่ศูนย์บันดาลไทยออกแบบไว้แล้ วนำไปใส่กับผลิตภัณฑ์  เช่น เสื้อ ถุงผ้า ขวดน้ำ เคสโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น  นำเสนอขายผ่านชมรมส่งเสริมการท่ องเที่ยวของแต่ละพื้นที่พิเศษ

ทั้งนี้ อพท. จะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงพั ฒนาแบบครบวงจรใน 2 ส่วนสำคัญ คือ คน และ ผลิตภัณฑ์  ตั้งแต่สอบถามความต้องการของชุ มชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ สอนการทำตลาด การขายและการดูแลสินค้าคงคลัง (สต็อก) นอกจากนั้น อพท. จะประสานกับบริษัทผู้ผลิตให้แก่ ชุมชนด้วย โดยสินค้าชุดแรก อพท. จะผลิตเป็นต้นแบบและเป็นสินค้ าทุนประเดิม โดยมีเงื่อนไขว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ ต้องขายและเก็บรายได้ในนามชมรม ไม่ใช่เป็นของใครคนหนึ่ง และนำเงินที่ได้จากการจำหน่ ายไปบริหารจัดการในการผลิตและจั ดจำหน่ายต่อไป สำหรับการผลิตเพิ่มนั้น หากชุมชนสามารถหาผู้ผลิตได้ต้ นทุนที่ต่ำกว่าบริษัทที่ อพท. ประสานให้ ก็สามารถเลือกได้ แต่สินค้าที่ผลิตต้องได้คุณสมบั ติและมาตรฐานตามที่ อพท. กำหนดไว้ในต้นแบบ

1 ผ้าคลุมไหล่ตราด-01

ดร.พรสุข จงประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขี ดความสามารถการท่องเที่ยว อพท. กล่าวว่า อพท.จะลงรายละเอียดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การสอบถามความต้องการของชุมชน วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เพื่อกำหนดส่ วนแบ่งตลาดและความต้องการตลาด เป้าหมายตำแหน่งผลิตภัณฑ์ วิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปสู่มื อลูกค้า จัดทำรายละเอียดแผนการตลาด นำผู้เชี่ยวชาญมาสอนให้ความรู้ ด้านการจัดทำบัญชีและการทำตลาด เริ่มทดสอบตลาด และการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

“ที่ต้องสอนให้รู้ ครบวงจรเพราะเมื่อจบภารกิจโครงการ ชุมชนต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนิ นการบริหารจัดการและการขายเองทั้ งหมด   สำหรับรูปแบบสินค้าที่พัฒนาขึ้ นมานั้นต้องมีรูปแบบน่าสนใจ มีความหลากหลาย เป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าเพิ่ มทางเศรษฐกิจและสังคม รูปแบบสินค้าดีไซน์สวยงามทันสมั ย ราคาขายอยู่ระดับกลางถึงบน เบื้องต้นเลือกและเตรียมผลิตแล้ วรวม 8 ชิ้น อยู่ในกลุ่มของใช้ ได้แก่ กระบอกน้ำ ถุงผ้า เสื้อยืด หมวก ผ้าคลุมไหล่ ร่ม เสื้อคอโปโล เคสโทรศัพท์”

9 แก้ว TUMBLER

เป้าหมายโครงการนี้เพื่อให้ ของที่ระลึกของพื้นที่พิเศษเป็ นที่รู้จัก เพิ่มช่องทางจัดจำหน่ ายและการทำกิจกรรมส่งเสริ มการขาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภั ณฑ์ของที่ระลึก และเพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่ มขึ้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยวอี ก 10-20%  ประเดิมผลิตให้แก่ 4 พื้นที่พิเศษ ได้แก่ พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้ นที่เชื่อมโยง จำหน่ายโดยชมรมส่งเสริมการท่ องเที่ยวโดยชุมชนตำบลน้ำเชี่ยว พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติ ศาสตร์ สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย– กำแพงเพชร จำหน่ายโดยชมรมส่งเสริมการท่ องเที่ยวโดยชุมชนตำบลท่าชัย ศรีสัชนาลัย พื้นที่พิเศษเลย จำหน่ายโดยชมรมการท่องเที่ยวเชิ งอนุรักษ์ภูป่าเปาะ (องค์กรสวัสดิการชุมชน) และพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน จำหน่ายโดยชมรมส่งเสริมการท่ องเที่ยวโดยชุมชนตำบลในเวียง ทั้งนี้ อพท. จะทยอยนำสินค้าที่ผลิ ตออกวางจำหน่ายก่อน 5 ชิ้นจาก 2ชมรมใน 2 พื้นที่ คือ  ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุ มชนตำบลท่าชัย ศรีสัชนาลัย และ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุ มชนตำบลในเวียง   ในงานมหกรรมพาลูกเที่ยว ระหว่างวันที่ 16 – 18 มิถุนายน 2560 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์

3 เสื้อยืดตราด-01

อย่างไรก็ตาม รายได้จากการจำหน่ายสินค้าจะแบ่ งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ร้อยละ 70 นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตั้ งต้นให้ชุมชนไว้ใช้บริหารจั ดการในการผลิต ขนส่ง และการจัดการสินค้าคงคลัง ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30  เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจั ดการช่องทางการจัดจำหน่ายดั้ งเดิม โดยโครงการนี้ริเริ่มและต่ อยอดจากโครงการในปีก่อนที่ อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาและเพิ่มมูลค่ าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุ มชน  แต่ปีนี้เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางเลื อกให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายเพิ่ มขึ้นนอกจากสินค้าชุมชน  เพราะในการทำงานทำให้พบว่ามีนั กท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ไม่ซื้ อสินค้าชุมชน แต่ต้องการสินค้าที่ร่วมสมัยขึ้น อพท. จึงต้องการปิดช่องว่างและเห็ นโอกาสทางการตลาดที่จะพัฒนาสิ นค้าใหม่ๆ ให้แก่ชุมชน เพื่อตอบความต้องการนักท่องเที่ ยวและยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ ชุมชนได้เช่นกัน

6 หมวกแก๊ปภูหอ จ.เลย

**********************