สูตรเกมรุกอสังหาฯ‘เจ้าสัวเจริญ’ขนาดทำเล & การรอคอย

23 เม.ย. 2560 | 02:00 น.
การประกาศเปิดตัวโครงการ วัน แบงก์ ค็อก มูลค่า 1 . 2 แสนล้านบาท ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกลุ่ม ที.ซี.ซี เมื่อ วันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ไม่เพียงทำให้เจ้าสัว มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของเมืองไทย (ทรัพย์สินรวมมากกว่า 5.2 แสนล้านบาท ณ มีนาคม 2560 จัดโดยฟอร์บส์) ตกเป็นเป้าสายตาโลกธุรกิจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะโครงการนี้ไม่เพียง เป็นโครงการลงทุนมูลค่า เกินแสนล้านลำดับที่สาม ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาของเจ้าสัว เจริญ( ปี 2555 เจริญซื้อกิจการ เฟเซอร์แอนด์นีฟ มูลค่า 3 แสนล้านบาท ปี 2558 เข้าซื้อหุ้น ใหญ่ บิ๊กซี 97.94% มูลค่า 2 แสนล้านบาท) หากการประกาศเปิดตัว โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย พร้อมกับชูแนวคิด “วัน แบงก์ค็อก”แลนด์มาร์คระดับโลก ยังมีนัยถึง หมุดหมายสำคัญของการรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าสัวเจริญนับแต่เขาเริ่มต้นสะสมที่ดินเมื่อ 30 ปี ที่แล้วอีกด้วย

[caption id="attachment_142564" align="aligncenter" width="503"] เจริญ สิริวัฒนภักดี เจริญ สิริวัฒนภักดี[/caption]

เจ้าสัวเจริญนับหนึ่งในธุรกิจอสังหาฯอย่างไม่ตั้งใจเมื่อเข้าซื้อ โรงแรมอิมพีเรียล (ปัจจุบัน โรงแรมพลาซ่าแอทธินี) ในปี 2537 ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันนั้นเจ้าสัวเจริญซื้อที่ดินและอสังหาฯเหมือนของสะสม กระทั่งปี 2546 ธุรกิจอสังหาฯของเจริญ เริ่มมีทิศทางชัดเจนขึ้น ไม่ได้ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าเช่นในอดีตเมื่อเขาตัดสินใจเข้าร่วมทุนกับ บริษัท แคปิตอล แลนด์ ยักษ์ใหญ่อสังหาฯจากสิงคโปร์ในปี 2546 ก่อนเจริญตัดสินใจแยกทางกับ บริษัท แคปติลแลนด์ ในอีก 8 ปีต่อมา สถานการณ์ตอนนั้นผลักดันให้ธุรกิจอสังหาฯของเจ้าสัวเจริญมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อมีการจัดตั้ง บริษัท ทีซีซีแลนด์ แอสเสท จำกัด บริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ บริษัท ทีซีซี แอสเสท และบริษัท แอเสทเวิรด์ ขึ้นมาขับเคลื่อน ธุรกิจอสังหาฯของกลุ่ม พร้อมประกาศว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ 1 ใน 5 เสาหลักของ ที.ซี.ซี กรุ๊ป

ทั้งนี้บริษัท ทีซีซีแลนด์ แอสเสท ดูแลโดย วัลลภา ( ลูกสาวคนที่สองของเจ้าสัวเจริญ) กับ โสมพัฒน์ ไตรโสรัส (สามี) มี บริษัท ที.ซี.ซี โฮเทลส์ เป็นเรือธงคู่ ส่วน และ บริษัท ทีซีซี แอสเสท มี บมจ.ยูนิเวนเจอร์ เป็นหัวหอก เป็นต้น กิจการส่วนนี้ นี้ ปณต ลูกชายคนเล็กของเจ้าสัวเจริญ เป็นผู้รับผิดชอบ แม้ 2 สายมีเป้าธุรกิจคล้ายคลึงกัน คือมุ่งพัฒนาอสังหาฯเพื่อเช่า ครอบคลุมทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม และเน้นพัฒนาโครงการระดับแลนด์มาร์คแต่เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียด ธุรกิจอสังหาฯ 2 สายของเจริญยังมีมุมกิจที่แตกต่างกันอย่างน้อย 2 ประการ

ประการแรก แนวทางการพัฒนาที่ดิน บริษัท ทีซีซีแอสเสทฯ เน้นพัฒนาสร้างมูลค่าที่ดินที่ เจ้าสัวเจริญ-คุณหญิงวรรณา สะสมตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

ส่วนบริษัท ทีซีซี แอสเสท ภายใต้การนำของ ปณต ลูกคนเล็ก นอกจากเน้นอสังหาฯเพื่อเช่าแล้วยัง เปิดพื้นที่สำหรับธุรกิจอสังหาฯเพื่อขายผ่าน บมจ. ยูนิเวน เจอร์ บมจ.แผ่นดินทอง และ บริษัท แกรนด์ยู พร็อพเพอร์ตี้ เป็นต้น

ประการที่ 2 ทิศทางของ 2 บริษัท กำลังจะหันไปคนละทาง โดย บริษัท ทีซีซีแลนด์ แอสเสท แม้มีเป้าหมายรุกธุรกิจศูนย์การค้า ต่อเนื่อง อาทิ มีแผนขยาย เอเชียติกฯ เฟสสามและหัวเมืองสำคัญ เปิดตัวโครงการพันธ์ทิพย์ (ประตูน้ำ)โฉมใหม่เมื่อปีที่ผ่านมา หากชัดเจนว่า เรือธงลำนี้กำลังมุ่งไปที่ธุรกิจโรงแรม ผ่าน บริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ ที่ วัลลภา เป็นผู้ดูแลหลัก เมื่อเร็วๆนี้ วัลลภา เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ปัจจุบัน(บริษัท ทีซีซี โอเทลส์) มีเชนโรงแรมระดับโลกที่ร่วมบริหารโรงแรมให้บริษัท 7 เชน และใน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2564) และรายได้จากโรงแรมจะเพิ่มจาก 40 % ของรายได้รวมของกลุ่ม เป็น 70 % โดยปีที่ผ่านมา บริษัท ที.ซี.ซี โฮเทลส์ ได้เปิด โรงแรม แบงก์ค็อก แมริออท ควีนส์ ปาร์ค สุขุมวิท (อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์คเดิม)

[caption id="attachment_142565" align="aligncenter" width="503"] ปณต สิริวัฒนภักดี ปณต สิริวัฒนภักดี[/caption]

ส่วนทิศทางของ บริษัท ทีซีซี แอสเสท ชัดเจนว่ามุ่งสร้างจุดแข็งจากโครงการขนาดใหญ่ ดังสะท้อนจากการเคลื่อนตัวในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา บริษัท ทีซีซี แอสเสท เป็นผู้บริหารโครงการ เอฟวายไอ (หัวมุมถนนพระรามฯ4-รัชดา) ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา เป็นผู้บริหารโครงการ สามย่านมิตรทาวน์ (หัวมุมถนนสามย่าน ) และล่าสุดคือ โครงการบางกอกวัน อภิมหาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการนี้ไม่เพียงมีนัยการบรรลุเป้าหมายในธุรกิจอสังหาฯของเจริญตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น หากการที่ เจ้าสัวเจริญ มอบบทบาทให้ ปณต บุตรชายคนเล็ก เป็นผู้รับผิดชอบหลักอภิมหาโครงการนี้ ยังเป็นการวางบทบาททายาทธุรกิจที่ชัดเจนขึ้น และที่สำคัญโครงการ วัน แบงค็อก ยังเปรียบ เป็น ของขวัญ ๆในวาระอายุครบ 73 ปี ของเจ้าสัวเจริญที่จะมาถึงในวันที่ 2พฤษภาคม นี้อีกด้วย กระนั้นก็ตาม แม้เรือธงอสังหาฯของเจริญกำลังเบนหัวไปคนละทิศ แต่สุดท้ายมีเป้าหมายเดียวกัน “รวมกันโต”

หากขมวดแนวรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าสัวเจริญ ในเชิงยุทธศาสตร์ชัดเจนว่าเน้น ขนาด และทำเล เป็นสำคัญ ส่วน กลยุทธ์การ เจ้าสัวเจริญมองว่าการขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์วันนี้เท่ากับขาดทุนวันหน้า เพราะเขาเชื่อว่าอนาคตราคามีแต่จะขึ้น การอดทนรอคอยย่อมคุ้มค่ากว่า หลักคิดทั้ง 3 นั่นเอง คือสูตรสำเร็จในเกมรุก อสังหาฯของ “เจ้าสัวเจริญ”

[caption id="attachment_142563" align="aligncenter" width="380"] สูตรเกมรุกอสังหาฯ‘เจ้าสัวเจริญ’ขนาดทำเล & การรอคอย สูตรเกมรุกอสังหาฯ‘เจ้าสัวเจริญ’ขนาดทำเล & การรอคอย[/caption]

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,255 วันที่ 23 - 26 เมษายน พ.ศ. 2560