ปฏิรูประบบราชการ ประตูสู่‘รัฐบาล 4.0’

21 เม.ย. 2560 | 02:00 น.
หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20ของประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลของ “พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา” จะขับเคลื่อนนับต่อจากนี้คือ “การปฏิรูปประเทศ” และการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ”

“ระบบราชการ” เป็นกลไกที่มีการเรียกร้องมานานให้มีการปฏิรูป เพื่อยกระดับให้การติดต่อราชการมีความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเงินมากขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังว่าการปฏิรูปจะทำให้ข้าราชการเข้าใจในความเดือดร้อนของประชาชนมากขึ้นด้วย

“ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร.เปิดเผยกับทีมข่าวเฉพาะกิจสปริงนิวส์ ถึงโมเดลในการปฏิรูประบบราชการเพื่อนำ ไปสู่การแก้ปญั หาอย่างทันท่วงทีว่า ตอนนี้สำนักงานก.พ.ร. เตรียมแนวทางในการปฏิรูปไว้พร้อมแล้วและบางส่วนได้ดำเนินการล่วงหน้าและมีความคืบหน้าอย่างมาก

เลขาธิการ ก.พ.ร. บอกว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภารกิจของก.พ.ร.ในการปฏิรูประบบราชการอยู่ในหมวดว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 (ข) มี 3 เรื่องที่ต้องปฏิรูป คือ 1.ให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 2. การเชื่อมโยงข้อมูลทางราชการ Government Data และ 3.ปรับตัวข้าราชการให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้นเป็นหัวใจที่ต้องทำในระยะเร่งด่วน

“เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญทจี่ ะมกี ารปฏริ ปู ระบบราชการใหมี้การเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศซ่งึ ก.พ.ร.เริ่มไปแล้วโดยมีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 21/2560 ข้อที่ 17 ที่ส่วนราชการต้องปลดล็อกการเชื่อมโยงข้อมูลกันในการประกอบธุรกิจที่ทำล่วงหน้าไปแล้ว”

ดร.ทศพร อธิบายถึงคำสั่งหัวหน้าคสช.ข้อ 17 เพิ่มเติมว่า เดิมทีประชาชนไปติดต่อราชการจะถูกขอเอกสารจำนวนมาก จึงมีการแก้ปัญหาด้วยการให้กระทรวงมหาดไทยนำ“สมาร์ทบ็อกซ์” ไปวางไว้ ที่หน่วยงานราชการ จากนี้ไปติดต่อหน่วยงานไม่ต้องนำสำเนาเอกสารไปอีก ก็เพียงมีบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดใบเดียว เสียบเข้าไปในสมาร์ทบ็อกซ์ ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานราชการ

และที่ไปไกลกว่านั้น เวลาทำธุรกิจที่จดทะเบียนธุรกิจเสร็จอยากจะทำบีโอไอ อีไอเอ หรือเครื่องหมายทางการค้าเพิ่มเติมไปถึงหน่วยงานก็จะขอข้อมูลซํ้าเดิมๆเพิ่มอีก ทั้งที่ความจริงข้อมูลเหล่านี้อยู่ในส่วนราชการอยู่แล้วคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนี้จึงสั่งให้เชื่อมฐานข้อมูลกัน ดังนั้นจากนี้ห้ามขอสำเนาเอกสารอีก นอกจากเป็นข้อมูลใหม่ ไม่เช่นนั้นกจะเป็นภาระประชาชนในการขอเอกสาราชการซํ้าๆ ต้องมาสำเนาอะไรต่างๆ เพราะเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล

สิ่งที่เป็นข้อมูลของทางราชการก็ไม่ต้องขอประชาชนแล้วเราจะไปขอกับส่วนราชการเองก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่เป็นดิจิตอลโกเวิร์นเมนต์ดาต้า นี่คือการเข้าไปสู่การเป็น Government 4.0 หรือรัฐบาล 4.0 นี่คือหัวใจ การจะไปสู่ตรงนั้นได้ ข้อมูลต่างๆ ก็ต้องไหลเชื่อมโยงหากันได้ ต่อไปนี้ระบบราชการทำไมต้องขอข้อมูลจากประชาชนเยอะแยะมากมายทั้งที่ข้อมูลอยู่ในภาคราชการหมดแล้ว เมื่อเราจัดระบบรัฐบาล 4.0 เสร็จแล้ว ข้อมูลก็จะอยู่ในฐานข้อมูลภาครัฐทั้งหมด

“พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เป็นต้นทางของการปฏิรูประบบราชการเป็นต้นทางในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และที่สำคัญเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่พูดอย่างนี้เพราะว่าชาวต่างชาติมาดูว่าประเทศไทยน่าลงทุนน่ามาค้าขายหรือไม่ ถ้ามาเจอขั้นตอนยุ่งยากเขาก็ไม่อยากมา ถ้าเราปรับระบบของเราให้สะดวกง่ายๆไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมาก ก็จะทำให้เกิดความน่าสนใจในการประกอบธุรกิจได้ จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศดีขึ้นด้วย”

ส่วนงานด้านการปรับแนวความคิดและวิธีการทำงานของข้าราชการ ที่ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรหนึ่งของคณะกรรมการป.ย.ป. จะมีการปรับระบบข้าราชการให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ที่จะนำ Government Lab คือสิ่งที่ใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯสิงคโปร์ เป็นห้องปฏิบัติการ ที่ภาคประชาชนและรัฐจะต้องมาคิดร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาอะไรก็ให้ข้าราชการส่วนที่เกี่ยวข้องมาเรียนรู้ความรู้สึกของประชาชนว่าถ้าเราเป็นประชาชนดูบ้าง เราจะรู้สึกยังไงแล้วเราก็หาทางแก้ไขปัญหาเป็นการเปลี่ยนวิธีคิด (Mind set) ของข้าราชการให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ที่นำศาสตร์พระราชามาใช้ เพื่อเข้าถึงความเดือดร้อนของประชาชน

“อย่างเช่น มีปัญหาเรื่องแท็กซี่กับอูเบอร์ ก็ให้ข้าราชการลองไปยืนโบกแท็กซี่ดูบ้าง หรือบางหน่วยงานทำไมประชาชนต้องเอารองเท้า สิ่งของไปวางจองคิวตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งถ้าเป็นตัวของข้าราชการไปสัมผัสบ้างจะได้รู้ความรู้สึกของประชาชนแล้วก็นำข้าราชการและประชาชนมาอยู่ในห้องเดียวกัน ฟังความทุกข์ของประชาชน แล้วก็จะได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหา”

เลขาฯ ก.พ.ร. ทิ้งท้ายว่าเป็นอานิสงส์ที่ต่อเนื่องกันมาทั้งการปฏิรูประบบราชการและในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ จะทำให้การประเมินที่ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ จัดอันดับประเทศไทยอยู่อันดับที่ 46 อาจจะดีขึ้นมาเล็กน้อย อย่างไรก็ตามยังไม่พอใจเพราะเราคิดว่ายังมีโอกาสที่จะปรับตัวอีกเยอะ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,254 วันที่ 20 - 22 เมษายน พ.ศ. 2560