MQDC สร้างบ้านยั่งยืน โดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

22 เม.ย. 2560 | 10:00 น.
ในยุคที่โลกต้องการการดูแลจากมนุษย์ องค์กรใหญ่อย่างกลุ่ม ดีทีจีโอ คอร์เปเรชั่น ลิมิเต็ด โดย บริษัท แมกโนเลีย ควลลิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ MQDC ดำเนินงานด้วยแนวคิดที่รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการพยายามสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับที่อยู่ศัยแบบรักโลกอย่างยั่งยืน (Sustainnovation) มาตลอดกว่า 10 ปี และล่าสุด ยังได้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC: Research and Innovation for Sustainability Centre) ขึ้นมาพัฒนาและวิจัยงานที่เป็นประโยชน์อย่างจริงจัง

[caption id="attachment_141777" align="aligncenter" width="503"] รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต[/caption]

"รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต" ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้ายวิจัยและนวัตกรรม ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน บริษัท แมกโนเลีย ควลลิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ เล่าว่า การทำงานด้านงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อสิ่งก่อสร้าง เป็นสิ่งที่ MQDC ดำเนินการมาแล้วกว่า 10 ปี โดยตั้งเป็นแผนกงานวิจัยขึ้นมาในองค์กร พร้อมด้วยการวางแผนงานระยะยาวอย่างมีขั้นมีตอน และนำงาานวิจัยที่ได้ มาพัฒนาใช้กับโครงการต่างๆ ของ MQDC ซึ่งในปีนี้ จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของงานวิจัย ที่ขยายผลออกมาตั้งเป็นศูนย์วิจัยฯ เพื่อพัฒนางานให้มีขอบข่ายกว้างขึ้น ไม่เพียงแค่การนำงานวิจัยมาใช้กับโครงการของบริษัทฯ เท่านั้น แต่ยังตั้งเป็นศูนย์ที่เปิดให้คนภายนอก หรือองค์กรอื่นๆ ได้นำองค์ความรู้ต่างๆ ไปใช้งานได้อีกด้วย

จากประสบการณ์ของ "รศ.ดร.สิงห์" พบว่า งานวิจัยหลายๆ งานที่มีประโยชน์ ไม่ได้ถูกนำออกมาใช้จริงกับงานก่อสร้าง เพราะติดปัญหา 4 เรื่อง คือ 1.เทคนิค 2. การเงิน 3. คน 4. กฎหมาย ดังนั้น ศูนย์วิจัยฯ นี้จึงพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ ด้วยการเชื่อมต่อกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้กรอบกฎหมายที่บังคับใช้ ดดยยึดหลักการทำงานที่เป็น "ความยั่งยืนและนวัตกรรม" หรือ Sustainnovationส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพ (Well-being) ซึ่งประกอบไปด้วย สุขภาพ การประหยัดพลังงาน การเงิน และอีกหลายๆ เรื่องที่ทำให้ความเป็นอยู่ของคนเราดีขึ้น

MP30-3254-2 MQDC ใช้งบประมาณด้านการวิจัย จากเงินสมทบที่หักจากรายได้ของบริษัทในเครือ 2% ทุกๆ ปีมาสร้างให้เกิดประโยชน์กับงานวิจัยและงานด้านสังคม งานวิจัยและนวัตกรรมที่นำมาใช้แล้ว เช่น ระบบระบายอากาศ (ERV : Energy recovery Ventilator) ที่นำมาใช้ทั้งหน้าต่างและประตู เพื่อทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศภายในที่พัก โดยไม่มีเสียงรบกวน นอกจากนี้ ยังมีระบบการเดินที่สะสมพลังงาน แล้วนำพลังงานนั้นมาใช้หมุนเวียนภายในโครงการ
เป้าหมายของการคิดนวัตกรรมแต่ละครั้ง MQDC ต้องการให้งานวิจัยหรือนวัตกรรมนั้นๆ สามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 30 ปี เพราะฉะนั้น การคิดต้องคิดแบบแบบองค์รวม (total holistic) 3 ด้าน คือ 1. สิ่งแวดล้อม 2. เศรษฐกิจต้องเติบโต และ 3. คน ต้องอยู่สบาย ทำให้นวัตกรรมนั้นๆ อยู่กับเราได้แบบยั่งยืนจริงๆ ไม่ใช่ว่าซื้อบ้านไปแล้วตอนอายุ 30-40 ปี พออายุ 60-70 ปี ต้องย้ายหรือหาบ้านใหม่

MP30-3254-4 ศูนย์วิจัยฯ แห่งนี้จะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2560 โดยโจทย์ที่ "รศ.ดร.สิงห์" มีอยู่ในใจ คือ Total Well-being เริ่มจากอาคารยั่งยืน ประหยัดพลังงาน ดีต่อสภาพแวดล้อม ต่อจากนั้น ก็จะมีการทำงานร่วมกันกับฝ่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน หรืองานด้านสุขภาพอื่นๆ ต้องเชื่อมต่อให้เกิดเน็ตเวิร์คที่สร้างให้คนเรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ ซึ่งขณะนี้ ศูนย์ได้เชื่อมโยงการทำงานกับหลายๆ หน่วยงาน เช่น จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และยังวางแผนการทำงานร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์(MIT)

MP30-3254-6 "ปีแรก เราจะเน้นเรื่องวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่แงแวดล้อม ต่อจากนั้น จะพัฒนาต่อเรื่องพลังงานสะอาด และสุขภาพ รวมไปถึงเรื่องของไฟแนนซ์รีเสิร์ซ ทุกอย่างต้องซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน เพื่อให้ผลท้ายสุดคือ ความเป็นอยู่ที่ดี... การทำบ้านให้ยั่งยืน คือ บ้านนั้นเราต้องสามารถอยู่จนเราตายได้"

MP30-3254-7 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,254 วันที่ 20 - 22 เมษายน พ.ศ. 2560