อนาคตเศรษฐกิจไทยใต้ร่มเงารัฐธรรมนูญใหม่

18 เม.ย. 2560 | 03:00 น.
เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อธิบายการทำงานของกลไกตลาดโดยไม่มีการแทรกแซงและทุกฝ่ายในตลาดมีฐานะเท่าเทียมกัน

ในโลกแห่งความเป็นจริงสภาพตลาดแบบนั้นไม่มี เพราะกติกาสังคม/การเมือง ซึ่งเปลีย่ นแปลงได้ตามยคุ ตามสมยัเป็นตัวกำกับการทำงานของตลาดดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง(Political Economics) จึงอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจได้ดีกว่า

ในกรณีของไทยใน 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการบริหารประเทศที่จะเกิดจากกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560หรือรูปแบบของภาครัฐ จะเป็นตัวสำคัญที่สุด ที่จะชี้ทิศทางเศรษฐกิจไทย

ภาครัฐ คือใคร ใครเป็นผู้บริหารประเทศ

ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่จะใช้เป็นกติกา 5 ปี ไทยจะมี ส.ว. ที่มาจากการเลือกของ คสช. 200 คนและอีก 50 คน เลือกจากตัวเลือก200 คนที่กลุ่มบุคคลคัดสรรมารวมเป็น ส.ว. 250 คน พูดได้ว่าจัดโดย คสช. ซึ่งก็คงจะเป็นข้าราชการทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นส่วนมาก ทั้งทหาร ตำรวจและพลเรือน

ในส่วนของ ส.ส. 500 คน350 คนจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 150 คน มาจากบัญชีรายชื่อ ซึ่งพรรคไหนจะได้มากน้อย ขึ้นอยู่กับคะแนนรวมทั้งหมดของ ส.ส.เลือกตรงที่พรรคได้ หารด้วยคะแนนออกเสียงเฉลี่ยของทั้งประเทศจากจำนวนส.ส. 500 คน จะได้เป็นจำนวนส.ส.ที่พรรคนั้นควรจะได้ คือถ้าพรรคไหนได้มากจนเกือบเท่าหรือเท่ากับจำนวน ส.ส.ที่ควรได้ ก็จะได้ ส.ส.จากบัญชีรายชื่อน้อยคนเข้าใจว่าเป็นวิธีจัดให้มีการเลือกตั้ง ที่จะมี ส.ส.กระจายไปหลายพรรค และพรรคที่จะใหญ่มากจะต้องมี ส.ส.จากการเลือกโดยตรงมากที่สุด โดยจะมี ส.ส.ได้ไม่เกิน 350 คน

ทีนี้มาถึงการจัดตั้งรัฐบาลคือการเลือกนายกรัฐมนตรี (นรม.)รัฐธรรมนูญนี้ให้ ส.ส.เลือก Candidateจากรายชื่อที่พรรคเสนอไว้ล่วงหน้าก่อน ซึ่งทุกคนก็คงจะสมัครเป็น ส.ส. แล้วมาลงคะแนนร่วมกับ ส.ว. ถ้าไม่สำเร็จ ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. มีสิทธิเสนอชื่อ ซึ่งคนนั้นจะไม่ใช่ ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3ของ ส.ส.+ส.ว. และเมื่อลงคะแนนเลือก นรม. ก็เป็นเสียงข้างมากของทั้ง 2 สภารวมกัน

เพราะฉะนั้น นรม. ก็อาจจะไม่ได้เป็นส.ส. ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง หรือที่เขาเรียกกันว่า เป็นคนนอกนั่นแหละครับ

สรุปก็คือ นรม.และรัฐบาลคือ ครม.+ทีมงาน คงเป็นสายการเมืองน้อย สายราชการมากส.ว.เป็นสายราชการมาก ส.ส.เป็นสายการเมือง แต่อำนาจจำกัดด้วยจำนวนที่จะรวมตัวเป็นเสียงเดียวกัน คือจะมีอำนาจไม่มากพอ โครงสร้าง/รูปแบบอำนาจนี้คล้ายกันมากกับรูปแบบเมื่อปี2522 ที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนรม. โดยท่านเป็น ส.ส.จากพรรคที่มีจำนวน ส.ส.นิดเดียว แล้วต่อมา พล.อ.เปรม เป็น นรม. ในปี2523 โดยท่านไม่ได้เป็น ส.ส.แต่ท่านทำงานการเมืองได้เพราะท่านมี ส.ว.สนับสนุนท่านอยู่ จนจำนวน ส.ว.ที่มีอำนาจตามบทเฉพาะกาลเริ่มหายไป จนถึงปี 2531 สอดคล้องกับเวลาที่ท่านบอกว่า “ผมพอแล้ว ”

จากข้อสรุปนี้ ท่านผู้อ่านคงจะเห็นชัดว่า การบริหารเศรษฐกิจของประเทศ จะมีรูปแบบคล้ายกับเมื่อช่วงปี 2523 -2531 นโยบาย แผน และโครงการทางเศรษฐกิจ จะสนองระยะยาวมากกว่าระยะสั้น การแทรกแซงกลไกตลาดจะน้อยกว่าการส่งเสริมกลไกตลาดให้ทำงาน

เศรษฐศาสตร์การเมืองรูปแบบนี้ ในอังกฤษจะเป็นแนวของพรรค Conservative ไม่ใช่Labor หรือในสหรฐั ฯ จะเปน็ แนวRepublican ไม่ใช่ Democratส่วนของไทยถ้าเป็นการเมืองจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด ก็จะสนองความจำเป็นระยะสั้นของประชาชนมากกว่าและจะมีนโยบายประชานิยมเหมือนกันหมด เพียงแต่โครงการอาจต่างกัน เพราะที่ผ่านมา หลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ของพรรคการเมืองไทย ไม่ได้แบ่งขั้วเหมือนพรรคการเมืองในชาติตะวันตก เมื่อเป็นการเมืองแต่งตั้ง+เลือกตั้ง จึงได้ออกมาแนวนี้

รัฐธรรมนูญ 2560 ให้สิทธิท่านเลือก พรรค และ ส.ส.ที่ท่านชอบ แต่พรรคการเมือง และส.ส.จะมีบทบาทตามอำนาจที่รูปแบบการเมืองนี้ให้ไว้ จะมีบทบาทเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ต้องเป็นหลังบทเฉพาะกาลหมดอายุแล้ว คือ 5 ปี หลังจากการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้าครับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,253 วันที่ 16 - 19 เมษายน พ.ศ. 2560