จีน+ไทย INFRASTRUCTURE CONNECTIVITY

16 เม.ย. 2560 | 06:00 น.
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสฟังท่านอุปทูตจีน พูดถึงการพัฒนาต่อเชื่อมจีนกับไทยโดยขบวนการยกระดับเศรษฐกิจของจีนผ่านอภิโครงการ “One Belt One Road” คือเส้นทาง“สายไหมเก่า” สมัยก่อนคริสตศักราช ที่จีนค้าขายกับเอเชียและยุโรปผ่านเส้นทางสายนี้ เก่าไปกว่านั้น สมัยพระถังซัมจั๋ง ก็ใช้เส้นทางแสวงบุญผ่านเส้นทางนี้

ในปี 2556 ท่านประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ก็ประกาศให้มีอภิโครงการ “One Belt OneRoad” เป็นกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของจีน (Regional Development)ระยะทางทั้งสิ้น 4,000 ไมล์ทางบกจะใช้เงิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ เน้นการพัฒนา 3 แผนงาน คือ 1. Infrastructure 2.จัดสรรเงินทุน และ 3. ความสำคัญระหว่างประเทศเน้นการเชื่อมต่อ 5 ส่วน คือ 1. โครงสร้างพื้นฐาน 2. การค้า 3. นโยบาย 4.การเงินและ 5. ประชาชน
One Belt One Road นี้ความมุ่งจะให้มีการเชื่อมต่อกันถึง 64 ประเทศในแถบเอเชียแอฟริกา และยุโรป ทั้งทางบกสื่อทางสายไหมเดิม และทางสายไหมใหม่ทางทะเล ประชากร4,000 ล้านคน 50% ของโลกและGDP ประมาณ 40% ของโลกเช่นกัน

เป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่จริงในศตวรรษนี้ โดยจะเน้นการสร้าง “เส้นเลือดหลักของโครงการสาธารณูปโภค” ทางบก4,000 ไมล์ ทางทะเลอีก 5,000ไมล์ในทศวรรษนี้ และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน Node ที่เป็น Hubจะช่วยต่อเชื่อม “โครงการอภินี้”เข้ากับ AEC NETWORK จีนเองหลังจากที่ได้ฟังท่านผู้รู้ทางจีนจากทั้งราชการและเอกชน ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “จีน-ไทยไม่ใช่อื่นไกล เป็นญาติมิตรสนิทเชื้อ” กันร่วม 100 ปีมาแล้ว สนิทชิดเชื้อกันมากกว่า “มหามิตร-อเมริกา” ที่อเมริกายกย่องไทยตั้งแต่สงครามเกาหลี สงครามเวียดนามที่อเมริกาจูงไทยเข้าร่วม

ถ้าเรามองให้กว้างไกลออกไปรอบด้าน แล้วหันกลับมามองประเทศไทย (ซึ่งเล็กนิดเดียวเพียง 67 ล้านคน เท่ากับ 1 มณฑลของจีนเล็กเท่ากับยูนนานมณฑลจีนที่ติดไทยมากที่สุด) แต่“Location” ของไทยนั้นดีจริงๆเป็นตัวเชื่อม AEC ทางบกทั้งหมดเป็นตัวเชื่อม EAST-WEST จากอินเดีย เมียนมา ไทย ลาวเวียดนาม ซึ่งมีโครงการอยู่แล้วเรากำลังจะเชื่อม AEC ได้จากทวายของเมียนมาลงมาที่ ESBและอาจจะเชื่อมออกลงทะเลที่กัมพูชา (ท่าเรือใหญ่สุดภาคใต้อยู่
สุดท้ายของ AEC ที่กำแพงโสม) ส่วนด้านเหนือลงใต้ ในระดับภูมิภาคยังเลื่อนลอยอยู่ทั้งๆที่กระทรวงคมนาคมพยายามจะเปิดพื้นที่การพัฒนาด้วยทางบกรถไฟไทย (150 ปีตั้งแต่ร.5) มีการเสนอ Link ทางรถไฟ จากจีนเข้ามาทางลาว-หนองคายทะลุอิสานเหนือ-อีิสานใต้ มาต่อที่ทะเล Easter-Sea-Board ของเรา ลาวเปิดประตู และพื้นที่ให้แล้ว แต่ไทยเรายังสงวนท่าทีอยู่อ้างอิงผลประโยชน์ของไทยได้ไม่เท่าจีน เหนือลงใต้ อีกเส้นเลือดหนึ่งคือ จากภูมิภาคสี่แยกเศรษฐกิจลงใต้ผ่านสี่แยกเศรษฐกิจพิษณุโลกและสี่แยกเศรษฐกิจขอนแก่น ถ้ากำลังเดินหน้าอยู่

[caption id="attachment_140701" align="aligncenter" width="503"] จีน+ไทย INFRASTRUCTURE CONNECTIVITY จีน+ไทย INFRASTRUCTURE CONNECTIVITY[/caption]

แต่การเชื่อมต่อระดับภูมิภาคนี้ยังมิได้หยิบยกขึ้นมาเป็นโครงการระดับมหภาคที่ชัดเจนเหมือนกับ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งจะเป็นระเบียงเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจใน 10 ปีนี้ ทางเชื่อมต่อ N-S Connectivity กำลังถูกหยิบยกขึ้นมาจากกระทรวงคมนาคม โดยจะมีจีนเป็นพี่ใหญ่ที่นอกจากจะเชื่อม ASIA ยุโรป 4,000 ไมล์แล้ว จีนยังอยากจะเชื่อมเส้นเลือดใหญ่ ชี้ลงมาใต้ โดยมีไทยเราเป็นอนุภาคหรือ SUB-REGION ที่จะให้จีนได้มีหลายช่องทางลงทะเล และเชื่อมกับ AEC ที่มีประชากรรวม 600 ล้านคน กับจีนอีก 1,300 คน

ไทยเรายังขาดการเชื่อมต่อกับสี่แยกเศรษฐกิจ 4 ประเทศอย่างจริงจัง และยังขาดการเชื่อมสร้าง Net Work ภาคเหนือตอนบนที่ชัดเจน เมืองหลัก 3 เมืองคือ เชียงใหม่ เชียงรายและลำปางยังไม่เชื่อมกัน โดยเฉพาะเชียงรายที่จะต่อเข้าจีน ไม่เคยมีทางรถไฟมีโครงการจากลำปาง-เด่นชัยเชื่อมเชียงราย แต่ก็ขาดการเชื่อมรถไฟ เชียงใหม่-เชียงราย ระบบถนนดีขึ้นมาก แต่ขาดการเชื่อมที่ชัดเจนออกจากชายแดน (ไม่เหมือนอีิสานมีถึง 5 สะพาน เชื่อมแค่ 2 ประเทศลงทะเลที่เวียดนาม

Northern Connectivity ยังไม่จบกระทรวงคมนาคม โดยท่านรัฐมนตรี อาคม เติมพิทยาไพสิฐ กำลังเร่งสร้างกลยุทธ์ ที่ชัดเจนต่อเชื่อมกับระบบอนุภาคทางเหนือที่ยังขาดอยู่ จะมีการสัมมนาที่จังหวัดเชียงราย กับท้องถิ่นและประเทศจีนในวันที่ 21 เมษายนนี้ที่เชียงราย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,252 วันที่ 13 - 15 เมษายน พ.ศ. 2560