ปรับพอร์ตรับไตรมาส2

12 เม.ย. 2560 | 09:00 น.
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.75-1.00% ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ Fed กล่าวถึงเชิงนัยว่าหากเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างภาวะปัจจุบัน โอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 2-3 ครั้งในปีนี้ก็มีโอกาสสูง ส่วนการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงรุกไว้ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% และคงมาตรการ QE ซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ระดับ 4.35 แสนล้านปอนด์และซื้อหุ้นกู้ในภาคเอกชนที่ระดับ 1 หมื่นล้านปอนด์ส่งสัญญาณอัดฉีดสภาพคล่องต่อเนื่องเตรียมรับ Brexit
ดังนั้นแล้วจึงเกิดสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่แตกต่างกัน ประเทศหนึ่งขึ้นดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นขณะที่อีกกลุ่มประเทศคงดอกเบี้ยให้ตํ่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แสดงให้เห็น Dispacity หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบต่างกันซึ่งโดยรวมจะส่งผลต่อการลงทุน 2 ด้าน

MP19-3251-A ทั้งนี้ในภาวะที่ดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลง,เศรษฐกิจมีความผันผวน การเมืองทั่วโลกไม่แน่นอน ในไตรมาสที่ 2 อยากให้จับตาดูปัจจัยหลักๆ คือ

1.เรื่องกำไรต่อหุ้น (Earning)ของหุ้น ที่คิดว่าจะมีกำไรที่ราคาหุ้นยังเดินหน้าไปได้ต่อโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แต่ตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่น่าจะเคลื่อนอยู่ในกรอบที่ทรงตัว

2. เรื่องการเลือกตั้งยุโรปที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นยุโรปและการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนทั่วโลก(Fund Flow) ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนมีความไม่มั่นใจและระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น

3. การลดกำลังการผลิตนํ้ามันของกลุ่มโอเปก ที่ต้องจับตาว่ากลุ่มโอเปกจะดำเนินมาตรการไปในทิศทางเดียวกันทั้งกลุ่มหรือไม่และจะมีผลอย่างไรต่อราคานํ้ามัน, ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานรวมถึงค่าเงินสกุลต่างๆ
เมื่อถามว่าอะไรเป็นปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการลงทุนและต้องจับตามากที่สุดในไตรมาส 2

แต่หากจะให้นํ้าหนักลงทุนในหุ้นมากช่วงนี้อาจจะต้องระวังพอร์ตลงทุนระยะนี้ต้องหลีกเลี่ยงตัวที่จะมีผลกระทบจากความไม่แน่นอน และเลือกสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีและความเสี่ยงตํ่าเป็นคำแนะนำที่ KTBST Wealth Management ให้คำปรึกษาการลงทุนอยู่ตลอด ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็ผ่านมา 3 เดือนแล้ว อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะในการพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุนบ้าง

ในมุมมองของ KTBST แล้วหุ้นไทยยังน่าสนใจลงทุนในปีนี้รวมถึงเศรษฐกิจที่ยังเติบโตต่อไปได้ สอดคล้องกับ IMF ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นถึงปานกลางน่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นยังปัจจัยหลักในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เป็นตัวช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานแต่ยังตํ่ากว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2.5% ต่อไปอีกหลายปี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,251วันที่ 9 - 12 เมษายน พ.ศ. 2560