ยุบรวม‘อบต.’ในมิติสปท. เพิ่มศักยภาพ-เซฟเงินหลวง-ลดเหลื่อมล้ำ

27 มี.ค. 2560 | 04:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

การเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...และร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งประเด็นหนึ่งจะนำไปสู่การยุบควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขนาดเล็ก ยกแป็นเทศบาล ยังมีกระแสต่อต้านอย่างต่อเนื่อง โดย 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งสมาคม อบต. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) และสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวล่ารายชื่อประชาชน 1 ล้านรายชื่อ เตรียมยื่นต่อรัฐบาลเร็ว ๆ นี้

ควบรวมอบต.ลดเหลื่อมล้ำ
นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” การันตีว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและไม่กระทบการกระจายอำนาจแต่อย่างใด

การควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) ในส่วนของสปท.ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น เชื่อมั่นว่าองค์กรที่สร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศได้ และลดความเลื่อมล้ำเรื่องงบประมาณน่าจะเป็นหน้าที่ อปท. เราต้องการให้ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน แต่โครงสร้างไม่เอื้ออำนวยในการหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ

ในเรื่องการควบรวมตัวเลขเมื่อปี 2557 อปท.ที่อยู่ในเกณฑ์ควบรวมประมาณ 4,500 กว่าแห่ง จำนวนนี้เป็น อปท.ที่มีขนาดเล็กทั้งหมด มีรายได้น้อย ใน 4,500 แห่ง ครอบคลุมประชากรในเขตพื้นที่ประมาณ 20 กว่าล้านคน ใน 20 กว่าล้านคนเป็นประชาชนใน อปท.ที่มีงบประมาณน้อย เมื่องบน้อยโครงสร้างก็ย่อมเหลื่อมล้ำ

นอกจากเหลื่อมล้ำเรื่องงบประมาณ ยังมีความเหลื่อมล้ำของประชากรอีกด้วย เพราะเงินรายได้เขาจะไปดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้งความเหลื่อมล้ำของบุคลากร จะเห็นว่า อบต.เล็กๆ มีข้าราชการแค่ 4-5 คน มีปลัด กองคลัง กองช่าง การศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาดูแลตั้งแต่เด็กปฐมวัย จนถึงวัยชรา ต่อไปอีก 4-5 ปี ประชากรไทยจะเข้าสู่ภาวะสูงวัยเยอะ เรื่องนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของ อปท. ถ้าไม่มีประสิทธิภาพก็จะมีปัญหาเรื่องการให้บริการ นี่ก็เป็นเหตุใหญ่ของการควบรวม

  รัฐให้เงิน 5 ล้าน 5 ปี
ในร่างพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายอปท.ยังระบุอีกว่า อปท.ที่ควบรวม รัฐจะให้เงินจูงใจกว่า 4,000 แห่งๆ ละ 5 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี และจะเป็น 3 ล้านบาทใน 3 ปี คำนวณแล้วอยู่ที่ประมาณปีละ 2.5 หมื่นล้านบาท ถ้าป็น 8 ปีจะใช้เงินประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ในตัวร่างกฎหมายเขียนไว้ว่าเงินจำนนวนนี้ให้นำไปดูแลเรื่องทุกข์สุขประชาชน ห้ามนำไปใช้เรื่องบุคลากรเป็นอันขาด เพื่อให้ในอีก 8 ปีข้างหน้า การพัฒนาท้องถิ่นให้มีโครงสร้างขององค์กร ให้สามารถรองรับงานนี้ให้ได้ก่อน

“มีเสียงติงว่า อบต.ที่อยู่ไกล ประชาชนจะเดือดร้อนเพราะเข้าไม่ถึงบริการ เรื่องนี้ในกฎหมายเขียนไว้ว่า อบต.ใดที่เคยให้บริการประชาชนเรื่องใด ยังเป็นสถานที่ให้บริการเหมือนเดิม บางเรื่องที่ทำไม่ได้ เช่น ก่อสร้างสะพาน ให้มาติดต่อที่เดิมให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานนั้นที่จะนำเสนอไปยัง อปท.ใหญ่ต่อไป ”

ประเด็นที่กังวลว่าการควบรวมจะไปกระทบ อปท. นายวัลลภ อธิบายว่า เนื่องจากฎหมายฉบับนี้ยกฐานะ อตบ.ทั่วประเทศเป็นเทศบาล ที่ต้องยกฐานะเพราะอำนาจหน้าที่ของ อบต. และเทศบาลตำบล มันไม่ต่างกัน แต่ต่างกันตรงสมาชิก โดยสมาชิกของ อบต.มาจากหมู่บ้าน แต่เทศบาลมาจากการแบ่งเขต เมื่อยกฐานะอบต.ทั่วประเทศเป็นเทศบาล เท่ากับว่า หมู่บ้านละ 2 คนต้องมาแบ่งเขตกันใหม่

“ตรงนี้เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาก ซึ่งเราก็ต้องยอมรับว่าเรามีคณะผู้บริหารสมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศเยอะมาก ทั้ง อบต . อบจ.ทั้งหมดประมาณ 1.5 แสนคน ขณะเดียวกันเรามีข้าราชการทั้งหมด 1.7 แสนคน ใน 7,000 กว่าแห่ง จำนวนผู้บริหารสมาชิก จำนวนข้าราชการใกล้เคียงกันมาก แทบจะ 1 ต่อ 1 นอกจากข้าราชการยังมีลูกจ้างอีก 1 แสนกว่าคน และมีพนักงานจ้างประมาณ 2 แสนคน”

  ควบรวมเพื่อการคคุ้มทุน
ในภาพรวมเราต้องทำอย่างไร ประการแรก ในหลักการของผมถ้าต้องเสียงบประมาณในการจ้างบุคลากรเพิ่ม เพื่อให้โครงสร้างเขาสามารถปฎิบัติงานได้ เพราะการควบรวมทำได้หลายอย่าง อาทิ 1.จัดโครงสร้างใหม่ คือเอามาเกลี่ยกันใหม่ แล้วพัฒนาเขาให้สามารถรองรับงานได้ 2.เมื่อควบรวมแล้วจะทำให้เกิดการคุ้มทุน เพื่อประสิทธิภาพของคนในท้องถิ่น

“ที่บอกว่ามีการรวบอำนาจนั้นไม่จริง เพราะทุกพื้นที่ของประเทศไทยยังเป็นอปท.เหมือนเดิม ผมจึงบอกว่าเราใส่เงินแสนเงินล้านลงในไป 8 ปีข้างหน้า เราหวังว่า อปท.ต้องเป็นกลไกสำคัญในการแก้ความเหลื่อมล้ำ”

ส่วนเรื่องกองทุนตอนนี้มีกองทุนท้องถิ่นอยู่แล้ว เหมือนกับสหกรณ์ แต่ละท้องถิ่นจะเอาเงินเขา 1 % มาทำเป็นกองทุน แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ จึงเขียนกฎหมายให้มารองรับกองทุน มีกองทุนเทศบาล กองทุนอบจ. มันมีอยู่แล้ว บริหารโดยอปท.เอง เราออกกฎหมายโดยให้มีฐานกฎหมายรองรับ เช่น กองทุนเทศบาลก็จะมีตัวประธานคือปลัดกระทรวง มีฝ่ายเลขาเป็นอธิบดีกรม มีกระทรวงกคลัง มีกฤษฎีกามานั่ง แล้วมีตัวแทนของผู้บริหาร ตัวแทนท้องถิ่นมาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหาร

เรื่องคนมีปัญหาว่า เมื่อเอา 2-3 องค์กรมารวมกัน แน่นอนเมื่อโครงสร้างใหญ่คนต้องมีปัญหา แต่มีในระยะ2-3 ปีแรก ตำแหน่งอาจจะมีปัญหา แต่ข้าราชการที่จะเข้ามาควบรวมจะไม่เสียสิทธิใดๆทั้งสิ้น แต่ระยะหนึ่งโครงสร้างมันจะขยาย สายทางความก้าวหน้ารับรองว่าดีแน่

ส่วนที่เสนอให้ทำโมเดลนำร่องก่อนนั้นมันทำไม่ได้ เพราะมีนัยยะในการปรับโครงสร้าง ที่บอกว่าต่อนี้ไป สมาชิก อบต.ไม่มี แต่ให้เป็นรูปแบบเทศบาลแทนนั้น ชี้แจงว่ารูปแบบเทศบาลทางสมาชิกจะไม่มีตัวแทนของคนที่อยู่ในหมู่บ้านไกลๆ แต่กฎหมายจะแก้ไว้ให้ว่า กฎหมายของสมาชิกสภาเทศบาล สภาตำบลเขามีกำหนดให้มีสมาชิก 12 คน เขามี 2 เขต

แต่กฎหมายฉบับใหม่พอเราควบรวมอบต.เข้ามาแล้ว ต่อไปสมาชิกสภาตำบลจะปรับใหม่ เนื่องจากเราใช้เกณฑ์ควบรวม 7,000 เราให้มีสมาชิกก่อน 12 คน แต่เขตจะปรับใหม่ ไม่มี 2 เขต เราให้มีเขตละ3 คน ปรับใหม่ให้มีเขตละ 3 คนจะไปช่วยประชาชนที่อยู่ไกลให้มีตัวแทนเข้ามาได้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,247 วันที่ 26 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2560