‘Startup’ รัฐหลงทาง

15 มี.ค. 2560 | 14:00 น.
“Startup”ในมุมมองตรวจแนวรบดิจิตอล...คำว่า Startup เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำนี้กันหนาหูมากขึ้น Startup มีความคล้ายกับ SMEsแทบจะแยกไม่ออกคือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ และมีเงินทุน การเกิดขึ้นได้ของธุรกิจ SMEs จะต้องมีความพร้อม เงินทุนพร้อมและมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนมุ่งหาผลกำไรเป็นซึ่งสวนทางกับแนวคิดของ Startupอย่างสิ้นเชิง เพราะกุญแจสำคัญของ Start คือ “แค่มีไอเดีย ก็รวยได้ ล้มได้...ต้องลุกให้เร็ว” ไม่มีหลักสูตรตายตัว กลยุทธ์ทุกย่างในการทำธุรกิจแบบ Startup คือ การทดลอง ถ้าดีก็ลุยต่อ ผิดก็ทำใหม่ ขอเพียงแค่มีไอเดียกับความกล้าที่เอาชนะความกลัวที่จะล้มเหลวในการประกอบธุรกิจ พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาปรับใช้กับธุรกิจให้เติบโตได้เร็วในต้นทุนที่ต่ำ และอีกหนึ่งเป้าหมายหลักคือ เงินทุน จาก นายทุน (Venture Capital)หรือ VC เพื่อต่อยอดธุรกิจและนวัตกรรมของตัวเอง

tp05-3244-a รัฐบาลชุดหนี้ดูเหมือนให้ความสำคัญมากกับ “Startup” และให้คำนิยาม “Startup” ว่าไปไกลกว่า tech startupอย่างแน่นอนครอบคลุมไปถึงธุรกิจเกิดใหม่ ด้านอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรหรือภาคบริการก็ตาม ตัวอย่าง Startupที่เห็นได้ชัดใช้เทคโนโลยีอื่นที่ไม่ใช่ไอที อย่างเช่นเช่น Startupด้านการแพทย์ หรือStartupด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรม

 ความล้มเหลว?“Startup”

เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา เราคงเห็นภาพกิจกรรมการโปรโมทและการสร้างความเข้าใจของรัฐบาลที่จะส่งต่อสร้างความรับรู้ว่า “รัฐ”กำลังผลักดันให้เกิดธุรกิจ “Startup” จากคนรุ่นใหม่ยุค New Gen ด้วยกันจัดเวทีเสวนาให้ความรู้ในจังหวัดต่าง ๆ แต่ใครล่ะ? การันตีได้ว่า การที่รัฐบาลทำแบบนี้แล้วจะสามารถสร้างความเข้าให้ได้จริงหรือ?

แผนการPR โครงการ “Startup Thailand” บนสื่อออนไลน์พบว่า ใช้ 5 แพลตฟอร์ม Website, Facebook, Instagram, Twitter, YouTubeในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเลือกใช้สื่อออนไลน์แทบครบทุกแพลตฟอร์มที่คนไทยนิยม แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดธุรกิจ “Startup” คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า “Startup” คืออะไร แล้วรัฐสนับสนุนส่วนใดบ้าง ทำแล้วจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แล้วมีใครบ้างที่เริ่มทำโมเดลธุรกิจแบบ “Startup” แล้วประสบความสำเร็จ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจดีอย่างไรและกฎหมายต่างรัฐแก้ไขให้สอดรับแล้วหรือยัง? ขนาดเรื่อง Uber และ GrabTaxiยังเป็นปัญหาคาราคาซังอยู่

ปัญหาที่พบ คือ ทั้ง 5 แพลตฟอร์ม Website, Facebook, Instagram, Twitter, YouTube ใช้เพียงแค่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มาจากการจัดเวทีเสวนาว่า Startup Thailand จัดขึ้นที่ใดบ้าง วิทยากรเป็นใคร บรรยากาศการอบรมหรือเสวนาเป็นอย่างไรเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีความน่าสนใจ จริงอยู่ การ PR ว่า Startup เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยโดยรัฐบาลมีส่วนผลักดันให้การสนับสนุน โดยจัดขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ นั้นสามารถสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนได้ได้ แต่ไม่สามารถที่ตะผลักดันให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดีย ริเริ่มทำธุรกิจโมเดลใหม่อย่าง “Startup” ได้ เพราะไม่มีแรงจูงใจ ไม่เห็นตัวอย่างการประสบความสำเร็จ และยังไม่สามารถว่าจะเริ่มต้นจากจุดใด

ดูว่าการผลักดันจะเป็นเหมือนนโยบายทางการเหมือน ผมไม่เห็นว่าการผลักดัน“Startup”ครั้งนี้ จะเป็นการโปรยเงินเพื่อหวังผลทางการเมืองเหมือนทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา เพื่อลองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ ซึ่งผมหวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,244 วันที่ 16 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2560