"ตรวจแนวรบดิจิตอล" รู้ก่อน ไม่ตายแน่!

16 ก.พ. 2560 | 14:51 น.
อนุสรณ์

 

 

โดย อนุสรณ์ ฉิมบ้านไร่

"ตรวจแนวรบดิจิตอล" รู้ก่อน ไม่ตายแน่!

สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เขียนเล่าเรื่องราวเปิดทัศนคติและมุมมองต่าง ๆ ในโลกของดิจิทัล ผม “อนุสรณ์ ฉิมบ้านไร่” บรรณาธิการข่าวออนไลน์หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จะพาคุณส่องโลกสแกนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อปรับตัวและต่อยอดธุรกิจให้ทันเทรนด์สุดล้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยประสบการณ์บนเส้นทาง “New Media” ตั้งแต่เรียนจนถึงชีวิตการทำงาน มั่นใจได้ว่า ผมจะนำพาคุณก้าวทันเทคโนโลยีอย่างแน่นอน

“ตรวจแนวรบดิจิทัล” เชื่อว่าหลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปี 2017 นั้น เป็นปีแห่งความท้าทาย การต่อสู้ระหว่างคนกับเทคโนโลยีหรือแม้แต่เทคโนโลยีกับเทคโนโลยีด้วยกันเอง หลังจาก โดนัล ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และประกาศชัดว่านับจากนี้ไปอเมริกาต้องมาก่อน ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนระอุ หากมองในมุมเทคโนโลยีหลังจากนี้ที่จะเกิดขึ้น บอกได้เลยว่า น่ากลัวมาก เพราะอเมริกาจะพลักดันพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยกว่าเดิมหลายเท่า ทุกสิ่งอย่างจะต้องเชื่อมโยงกันหมด และสนับสนุนให้ Robot ทำงานแทนมนุษย์ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีความทันสมัยมาก ที่สำคัญมันฉลาด มีกระบวนการคิดที่คล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์

 

ตรวจแนวรบดิจิตอล

 

นี่คือสิ่งที่เราต้องจับตาให้ก้าวทันเทคโนโลยีใน ปี 2017  ซึ่งมี 3 หัวข้อใหญ่ หัวข้อแรกคงหนีไม่พ้น “AI และ Machine Learning” คือ จุดเปลี่ยนสำคัญ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้เครื่องจักรมีความชาญฉลาด รู้จักการเรียนรู้ด้วยตัวเอง สามารถคาดการณ์อนาคตได้เทียบกับมนุษย์ สมาร์ทโฟน รถยนต์ หรือแม้แต่โดรน เส้นแบ่งกั้นระหว่างโลกดิจิทัลกับโลกจริงเริ่มบางลงเรื่อย ๆ

หัวข้อที่ 2 ตามมาแบบติดจรวด “Digital” อาจสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจขึ้นได้ เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) สร้างภาพเสมือนจริง สร้างภาพดิจิตอลให้ปรากฏอยู่ในโลกจริง และยังมี Blockchain เครื่องมือที่ช่วยในการทำธุรกรรมแบบดิจิตอล หรือที่เราคุ้นหูกับคำว่า FinTech บ้านเราพูดถึงมากในปี 2016 ปีนี้เจะเห็นภาพชัดขึ้นจากบรรดาสถาบันเงิน

สุดท้าย ก็คงเป็นเรื่องของ “Device Mesh” เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี Internet Of Think (IOT) อุปการณ์ทุกอย่างที่ใช้ไฟฟ้าและสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ หรือแม้แต่รถยนต์ จะสามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ และสามารถสื่อสารกันเองระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ได้เช่นกัน เพราะ Device Mesh คือตัวการที่ทำให้ IOT สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โอยอาศัยอินเตอร์เน็ต

 

ผมเห็นด้วยกับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาและกำลังจะกลายเป็นจริง มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้นและเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยี แต่คำถามใหญ่ก็คือว่า เมื่อเทคโนโลยีในอนาคตล้ำหน้าจนสามารถคุยกันเองได้ โลกจะเกิดอะไรขึ้น? แล้วพบกัน…ในฉบับหน้าครับ

 

คอลัมน์ : ตรวจแนวรบดิจิตอล / หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3236 ระหว่างวันที่ 16-18 ก.พ.2560