ปชช.ร้อยละ 83 เห็นว่าหากเอ็มโอยูสร้างความปรองดองทำได้จริงจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมาก

21 ม.ค. 2560 | 13:24 น.
จากที่จะมีการเปิดเวทีเจรจากับทุกกลุ่มการเมืองและให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการร่วมสร้างความปรองดองยุติความขัดแย้งก่อนการเลือกตั้ง โดยแต่ละฝ่ายให้ข้อเสนอแนะแนวทางสร้างความปรองดองที่สำคัญ เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,272 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2560 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? หากจะมีการทำข้อตกลง (MOU) ในการสร้างความปรองดองร่วมกัน

อันดับ 1  เป็นแนวคิดที่ดี หากทำได้จริงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบ้านเมือง 82.31%

อันดับ 2  ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้บ้านเมืองสงบสุข เดินหน้าต่อไปได้ 79.25%

อันดับ 3  แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของรัฐบาล พยายามผลักดันให้เกิดการปรองดอง 61.32%

อันดับ 4  ต้องไม่บังคับ ให้อิสระ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละฝ่าย 57.55%

อันดับ 5  ความขัดแย้งเป็นปัญหาที่สะสมมานาน น่าจะแก้ได้ยาก 50.47%

 

2.ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปรองดองครั้งนี้สำเร็จได้ คือ

อันดับ  1 ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจ มีความสามัคคี จริงใจในการแก้ปัญหา 76.89%

อันดับ 2  ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน ลดอคติ 75.47%

อันดับ 3  เห็นแก่ชาติบ้านเมือง นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ 73.58%

อันดับ 4  รัฐบาลต้องมีความเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย 62.50%

อันดับ 5  เนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นที่น่าพอใจ   60.38%

 

3. ปัญหา-อุปสรรคที่จะทำให้การปรองดองยากที่จะสำเร็จ  คือ

อันดับ 1  ความเห็นแก่ตัว มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ 80.66%

อันดับ 2  ถือทิฐิ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน   72.41%

อันดับ 3  การยั่วยุ ปลุกปั่น โจมตี สร้างกระแส ปล่อยข่าว  66.98%

อันดับ 4  ขาดจิตสำนึก คุณธรรมจริยธรรม 63.68%

อันดับ 5  ทำไม่ต่อเนื่อง ไม่จริงจังในการสร้างความปรองดอง 53.77%

 

4. ความคาดหวังของประชาชนต่อความสำเร็จในการสร้างความปรองดองที่จะเกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงนี้

อันดับ 1  ค่อนข้างคาดหวังว่าน่าจะสำเร็จ 39.47% เพราะ  รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา ทุกฝ่ายให้ความสำคัญและร่วมมือ เป็นเรื่องที่สังคมสนใจและอยากให้สำเร็จ ฯลฯ

อันดับ 2  ไม่ค่อยคาดหวังว่าจะสำเร็จ  34.59% เพราะ  เป็นเรื่องที่มีกระแสมานาน แต่ยังไม่เห็นผล ขาดความจริงจังในการแก้ปัญหา ต่างฝ่ายต่างถือประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ

อันดับ 3  ไม่คาดหวังว่าจะสำเร็จ 15.33% เพราะ  ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นปัญหาสะสมฝังรากลึกมานาน แก้ไขได้ยาก แนวทางการปรองดองยังไม่ชัดเจน ฯลฯ

อันดับ 4  คาดหวังมากว่าจะสำเร็จ 10.61% เพราะ  นายกฯให้ความสำคัญ มีการจัดตั้งคณะทำงาน อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง  ฯลฯ